สัตว์
สัตว์ (อังกฤษ: animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ที่ประกอบกันขึ้นเป็นอาณาจักรสัตว์ (Animalia) สัตว์เกือบทั้งหมดบริโภคอินทรียวัตถุ หายใจด้วยออกซิเจน สามารถเคลื่อนไหวได้เอง สามารถสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศได้ และเติบโตจากเซลล์ทรงกลมกลวงในช่วงการเกิดเอ็มบริโอ มีสปีชีส์สัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่มากกว่า 1.5 ล้านสปีชีส์ที่ได้รับการบรรยายลักษณะแล้ว ประมาณ 1 ล้านในจำนวนนี้เป็นแมลง แต่ก็มีการประมาณจำนวนสปีชีส์ของสัตว์ทั้งหมดที่ 7 ล้านสปีชีส์ สัตว์มีขนาดได้ตั้งแต่ 8.5 ไมโครเมตรไปจนถึง 33.6 เมตร (110 ฟุต) สัตว์มีปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนต่อสัตว์อื่นและสภาพแวดล้อม ทำให้เกิดเป็นสายใยอาหารที่สลับซับซ้อนได้ อาณาจักร Animalia รวมมนุษย์ไปด้วย แต่คำว่า "สัตว์" โดยทั่วไปนั้นมักหมายถึงสัตว์อื่นที่ไม่ใช่มนุษย์ การศึกษาสัตว์ที่ไม่ใช่มนุษย์นั้นเรียกว่าสัตววิทยา
สัตว์ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: กลางยุคไครโอเจเนียน–ปัจจุบัน, 665–0Ma | |||
---|---|---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |||
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota | ||
เคลด: | อะมอร์เฟีย Amorphea | ||
เคลด: | โอบาซัว Obazoa | ||
ไม่ได้จัดลำดับ: | โอพิสโธคอนตา Opisthokonta | ||
ไม่ได้จัดลำดับ: | โฮโลซัว Holozoa | ||
ไม่ได้จัดลำดับ: | ไฟโลซัว Filozoa | ||
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia Linnaeus, 1758 | ||
ไฟลัม | |||
| |||
ชื่อพ้อง | |||
|
สปีชีส์สัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่ส่วนมากอยู่ในกลุ่มไบลาทีเรีย ซึ่งเป็นเคลดที่แผนกายของสมาชิกมีสมมาตรด้านข้าง ไบลาทีเรียประกอบด้วยสัตว์จำพวกโพรโทสโทเมีย อันประกอบด้วยสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายกลุ่ม เช่น นีมาโทดา สัตว์ขาปล้อง หนอนตัวแบน มอลลัสกา เป็นต้น และสัตว์จำพวกดิวเทอโรสโทเมีย อันประกอบไปด้วยอิคีเนอเดอร์เมอเทอและสัตว์มีแกนสันหลังที่รวมสัตว์มีกระดูกสันหลังด้วย สิ่งมีชีวิตที่จัดว่าเป็นสัตว์ยุคแรกนั้นปรากฏขึ้นครั้งแรกในกลุ่มสิ่งมีชีวิตยุคอีดีแครัน (Edicaran biota) แห่งพรีแคมเบรียนตอนปลาย ไฟลัมของสัตว์ยุคปัจจุบันจำนวนมากมีซากดึกดำบรรพ์ระบุว่าเคยเป็นสปีชีส์น้ำมาก่อนในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน เริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณ 542 ล้านปีก่อน มีการพบกลุ่มยีนจำนวน 6,331 กลุ่มที่ปรากฏร่วมกันในสัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งหมด ลักษณะดังกล่าวอาจเกิดขึ้นจากบรรพบุรุษร่วมกันของสัตว์ที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 650 ล้านปีก่อน
ในอดีต อริสโตเติลจำแนกสัตว์ออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่มีเลือดและไม่มีเลือด คาร์ล ลินเนียสสร้างการจำแนกสิ่งมีชีวิตอย่างเป็นลำดับเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2301 ด้วยผลงาน Systema Naturae ของเขา ซึ่งต่อมาฌ็อง-บาติส ลามาร์กขยายเพิ่มเป็น 14 ไฟลัมในปี พ.ศ. 2352 ในปี พ.ศ. 2417 แอ็นสท์ แฮเคิลแบ่งอาณาจักรสัตว์ออกเป็นเมทาซัวหลายเซลล์ (พ้องกับ Animalia) และโพรโทซัว อันเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่ไม่ได้รับการพิจารณาว่าเป็นสัตว์อีกต่อไป ในยุคปัจจุบัน การจำแนกประเภทของสัตว์ขึ้นอยู่กับวิธีการขั้นสูง เช่น วิวัฒนาการชาติพันธุ์เชิงโมเลกุล (Molecular phylogenetics) ซึ่งสามารถแสดงความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการระหว่างสัตว์แต่ละชนิดได้อย่างดี
มนุษย์นำสัตว์มาใช้ประโยชน์ในหลากหลายด้าน เช่น นำมาบริโภคเป็นอาหาร (รวมทั้งเนื้อสัตว์ นม และไข่) นำมาใช้เป็นวัสดุ (เช่น หนังสัตว์ ขนสัตว์ เป็นต้น) และนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับขนส่งหรือใช้แรงงาน เป็นต้น มนุษย์นำสุนัขมาใช้ในการล่าสัตว์ขณะที่มีสัตว์บกและสัตว์น้ำจำนวนมากถูกล่าเป็นกีฬา สัตว์ที่ไม่ใช่มนุษย์ปรากฏในงานศิลปะตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของมนุษย์ และยังปรากฏในปรัมปราวิทยาและศาสนาด้วย
รากศัพท์
แก้คำว่า "สัตว์" มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤตว่า सत्त्व (สตฺตฺว) แปลว่าความเป็น[1]
คำว่า "animal" ในภาษาอังกฤษมีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า animalis แปลว่ามีลมหายใจ มีวิญญาณ หรือสิ่งมีชีวิต[2] ส่วนนิยามในทางชีววิทยานั้นหมายถึงทุกสมาชิกในอาณาจักร Animalia[3] แต่เมื่อใช้โดยทั่วไป คำว่า "สัตว์" บางครั้งหมายถึงแค่สัตว์อื่นที่ไม่ใช่มนุษย์ อันเป็นผลมาจากแนวคิดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง[4][5][6][7]
ลักษณะ
แก้สัตว์มีลักษณะหลายประการที่จำแนกชัดเจนจากสิ่งมีชีวิตอื่น สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตและหลายเซลล์[8][9] ต่างจากแบคทีเรียที่เป็นโพรแคริโอต ต่างจากโพรทิสตาที่เป็นยูแคริโอตแต่เป็นเซลล์เดียว และต่างจากพืชและสาหร่ายที่สามารถสร้างอาหารได้เอง[10] แต่สัตว์นั้นเป็นเฮเทโรทรอพ[9][11] กล่าวคือต้องรับอาหารจากแหล่งอื่นมาย่อยสลายภายใน[12] สัตว์เกือบทั้งหมดหายใจด้วยออกซิเจน[13] สัตว์ทั้งหมดเคลื่อนไหวได้เอง[14] (สามารถขยับร่างกายได้โดยธรรมชาติ) อย่างน้อยในช่วงหนึ่งของวัฎจักรชีวิต แต่ในสัตว์บางชนิด ได้แก่ ฟองน้ำ ปะการัง หอยแมลงภู่ และเพรียง มักจะเกาะอยู่กับที่ในช่วงหลังของชีวิต บลาสตูลาเป็นระยะหนึ่งในช่วงการเกิดเอ็มบริโอที่เป็นเอกลักษณ์ของสัตว์ส่วนใหญ่[15] อันเป็นกระบวนการที่ทำให้เซลล์สามารถเปลี่ยนสภาพไปเป็นเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ได้
โครงสร้าง
แก้สัตว์ทั้งหมดประกอบขึ้นจากเซลล์ที่ล้อมไปด้วยสารเคลือบเซลล์ต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นจากคอลลาเจนและไกลโคโปรตีนที่ยืดหยุ่น[16] ระหว่างการเจริญเติบโต สารเคลือบเซลล์ของสัตว์ก่อตัวเป็นโครงร่างที่ค่อนข้างยืดหยุ่น เซลล์สามารถขยับและจัดเรียงตัวเองใหม่ได้ ทำให้โครงสร้างที่ซับซ้อนสามารถก่อตัวขึ้นได้ โครงร่างนี้สามารถแข็งตัวขึ้นและกลายเป็นโครงร่างเปลือก กระดูก หรือ ขวาก[17] ในทางกลับกัน เซลล์ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์อื่น (สาหร่าย พืช และเห็ดราเป็นหลัก) จะยึดอยู่กับที่ด้วยผนังเซลล์ และพัฒนาขึ้นระหว่างการเจริญเติบโตเรื่อย ๆ[18] เซลล์สัตว์มีรอยต่อระหว่างเซลล์ที่เป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ ไทต์ จังก์ชัน แกบจังก์ชัน และเดสโมโซม[19]
ร่างกายของสัตว์ส่วนมาก ยกเว้นฟองน้ำและพลาโคซัว แยกออกเป็นเนื้อเยื่อต่าง ๆ [20] รวมถึงกล้ามเนื้อที่ทำให้เคลื่อนไหวได้ และเนื้อเยื่อประสาทที่ถ่ายทอดสัญญาณและควบคุมร่างกาย โดยปกตินั้นจะมีห้องย่อยอาหารภายใน ไม่ว่าจะมีทางเข้าเดียว (อย่างในทีโนโฟรา ไนดาเรีย และหนอนตัวแบน) หรือสองทางเข้า (อย่างในไบลาทีเรียส่วนใหญ่)[21]
การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต
แก้สัตว์เกือบทั้งหมดสืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ[22] สัตว์เหล่านี้จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์แฮพล็อยด์สองชนิดจากไมโอซิส อันได้แก่สเพอร์แมโทซูน เซลล์สืบพันธุ์ขนาดเล็กที่เคลื่อนไหวเองได้ และเซลล์ไข่ที่มีขนาดใหญ่กว่าและเคลื่อนไหวเองไม่ได้[23] สองเซลล์นี้จะรวมตัวกันเป็นไซโกต[24] ที่เจริญเติบโตขึ้นด้วยไมโอซิสอยู่ภายในทรงกลมกลวง เรียกว่า บลาสตูลา ในฟองน้ำ ตัวอ่อนบลาสตูลาจะว่ายน้ำไปสู่ตำแหน่งใหม่ ยึดติดกับก้นทะเล และเจริญเติบโตกลายเป็นฟองน้ำตัวใหม่[25] ในสัตว์กลุ่มอื่น ๆ ส่วนใหญ่ บลาสตูลาจะเข้าสู่การจัดเรียงใหม่ที่ซับซ้อนมากขึ้น[26] เริ่มแรกมันจะบุ๋มลงไป เกิดเป็นแกสตรูลาที่มีห้องย่อยอาหารและเนื้อเยื่อคัพภะสองชั้น ได้แก่ เอ็กโทเดิร์มอยู่ด้านนอก และเอนโดเดิร์มอยู่ด้านใน[27] ในกรณีส่วนใหญ่นั้น ชั้นที่สามที่เรียกว่า เมโซเดิร์ม จะเจริญขึ้นระหว่างสองชั้นนั้น[28] เนื้อเยื่อคัพภะเหล่านี้ภายหลังจะเปลี่ยนสภาพไปเป็นเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ[29]
กรณีซ้ำ ๆ ของการผสมพันธุ์โดยอาศัยเพศระหว่างสายเลือดเดียวกันโดยปกติจะนำไปสู่ความเสื่อมโทรมทางสายเลือดภายในกลุ่มประชากร เนื่องจากความชุกที่เพิ่มขึ้นของลักษณะด้อยอันตราย[30][31] สัตว์ได้วิวัฒนาการกลไกจำนวนมากเพื่อหลีกเลี่ยงการผสมพันธุ์ระหว่างสายเลือดที่ใกล้ชิดกัน[32] ในบางสปีชีส์ เช่น Malurus splendens ตัวเมียจะผสมพันธุ์กับตัวผู้หลายตัว ทำให้เกิดรุ่นลูกที่มีคุณภาพทางพันธุกรรมมากขึ้น[33]
สัตว์บางชนิดสามารถสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ ซึ่งมักก่อให้เกิดการโคลนของพันธุกรรมรุ่นพ่อแม่ การสืบพันธุ์ในลักษณะนี้อาจเกิดได้จากการขาดออกเป็นท่อน การแตกหน่อดังเช่นในไฮดราและไนดาเรียอื่น ๆ หรือไม่ผสมพันธุ์เลยโดยไข่ซึ่งเจริญพันธุ์แล้วไม่ได้ผ่านการผสมพันธุ์ดังเช่นในเพลี้ยอ่อน[34][35]
สายวิวัฒนาการ
แก้สัตว์เป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียว กล่าวคือสัตว์ทุกชนิดมีบรรพบุรุษร่วมกัน สัตว์เป็น "พี่น้อง" กับโคอาโนแฟลกเจลลาตา ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นโคอาโนซัว[36] สัตว์แรกเริ่มที่สุดนั้น ได้แก่ ฟองน้ำ ทีโนฟอรา ไนดาเรีย และพลาโคซัว มีแผนกายที่ขาดสมมาตรด้านข้าง ความสัมพันธ์ระหว่างสัตว์เหล่านี้ยังเป็นที่กังขา กลุ่มพี่น้องของสัตว์อื่นทั้งหมดอาจเป็นฟองน้ำหรือทีโนฟอรา โดยที่ทั้งคู่นั้นขาดยีนฮอกซ์ ซึ่งสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของแผนกาย[37]
ยีนเหล่านี้พบได้ในพลาโคซัว[38][39] และสัตว์ชั้นสูงกว่าอย่างไบลาทีเรีย[40][41] กลุ่มยีนทั้งหมด 6,331 กลุ่มมีร่วมกันในสัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่ทุกชนิดที่ได้รับการระบุสายพันธุ์แล้ว นี่อาจเกิดขึ้นจากบรรพบุรุษร่วมตัวเดียวกันที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 650 ล้านปีก่อนในยุคพรีแคมเบรียน 25 กลุ่มจากกลุ่มยีนเหล่านี้เป็นกลุ่มยืนแกนกลางซึ่งพบได้เฉพาะในสัตว์ 8 ใน 25 กลุ่มนี้เป็นส่วนประกอบจำเป็นของทางส่งสัญญาณแบบดับเบิลยูเอ็นทีและทีจีเอฟ-เบตา ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่ทำให้สัตว์กลายเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์โดยให้แบบแผนแก่ระบบแกนของร่างกาย (ในสามมิติ) และอีก 7 กลุ่มเป็นแฟกเตอร์ของการถอดรหัส รวมถึงโปรตีนโฮเมโอโดเมนที่มีส่วนในการควบคุมการเจริญเติบโต[42][43]
สายวิวัฒนาการ (เฉพาะของสายหลัก) นี้ระบุจำนวนล้านปีโดยประมาณที่สายวิวัฒนาการนั้นแยกจากกัน[44][45][46][47][48]
Choanozoa |
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
950 mya |
สัตว์พวกไม่ใช่ไบลาทีเรีย
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สัตว์พวกไบลาทีเรีย
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
โพรโทสโทเมียและดิวเทอโรสโทเมีย
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เอคดีโซซัว
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สไปราเลีย
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "สัตว์ (๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓)". สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-10. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Cresswell, Julia (2010). The Oxford Dictionary of Word Origins (2nd ed.). New York: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-954793-7.
'having the breath of life', from anima 'air, breath, life'.
- ↑ "Animal". The American Heritage Dictionary (4th ed.). Houghton Mifflin Company. 2006.
- ↑ "animal". English Oxford Living Dictionaries. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 July 2018. สืบค้นเมื่อ 26 July 2018.
- ↑ Boly, Melanie; Seth, Anil K.; Wilke, Melanie; Ingmundson, Paul; Baars, Bernard; Laureys, Steven; Edelman, David; Tsuchiya, Naotsugu (2013). "Consciousness in humans and non-human animals: recent advances and future directions". Frontiers in Psychology. 4: 625. doi:10.3389/fpsyg.2013.00625. ISSN 1664-1078. PMC 3814086. PMID 24198791.
- ↑ "The use of non-human animals in research". Royal Society. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2018. สืบค้นเมื่อ 7 June 2018.
- ↑ "Nonhuman definition and meaning |". Collins English Dictionary. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2018. สืบค้นเมื่อ 7 June 2018.
- ↑ Avila, Vernon L. (1995). Biology: Investigating Life on Earth. Jones & Bartlett Learning. pp. 767–. ISBN 978-0-86720-942-6.
- ↑ 9.0 9.1 "Palaeos:Metazoa". Palaeos. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 February 2018. สืบค้นเมื่อ 25 February 2018.
- ↑ Davidson, Michael W. "Animal Cell Structure". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2007. สืบค้นเมื่อ 20 September 2007.
- ↑ Bergman, Jennifer. "Heterotrophs". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 August 2007. สืบค้นเมื่อ 30 September 2007.
- ↑ Douglas, Angela E.; Raven, John A. (January 2003). "Genomes at the interface between bacteria and organelles". Philosophical Transactions of the Royal Society B. 358 (1429): 5–17. doi:10.1098/rstb.2002.1188. PMC 1693093. PMID 12594915.
- ↑ Mentel, Marek; Martin, William (2010). "Anaerobic animals from an ancient, anoxic ecological niche". BMC Biology. 8: 32. doi:10.1186/1741-7007-8-32. PMC 2859860. PMID 20370917.
- ↑ Saupe, S.G. "Concepts of Biology". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 November 2007. สืบค้นเมื่อ 30 September 2007.
- ↑ Minkoff, Eli C. (2008). Barron's EZ-101 Study Keys Series: Biology (2nd, revised ed.). Barron's Educational Series. p. 48. ISBN 978-0-7641-3920-8.
- ↑ Alberts, Bruce; Johnson, Alexander; Lewis, Julian; Raff, Martin; Roberts, Keith; Walter, Peter (2002). Molecular Biology of the Cell (4th ed.). Garland Science. ISBN 978-0-8153-3218-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 December 2016. สืบค้นเมื่อ 29 August 2017.
- ↑ Sangwal, Keshra (2007). Additives and crystallization processes: from fundamentals to applications. John Wiley and Sons. p. 212. ISBN 978-0-470-06153-4.
- ↑ Becker, Wayne M. (1991). The world of the cell. Benjamin/Cummings. ISBN 978-0-8053-0870-9.
- ↑ Magloire, Kim (2004). Cracking the AP Biology Exam, 2004–2005 Edition. The Princeton Review. p. 45. ISBN 978-0-375-76393-9.
- ↑ Starr, Cecie (2007-09-25). Biology: Concepts and Applications without Physiology. Cengage Learning. pp. 362, 365. ISBN 978-0-495-38150-1.
- ↑ Hillmer, Gero; Lehmann, Ulrich (1983). Fossil Invertebrates. Translated by J. Lettau. CUP Archive. p. 54. ISBN 978-0-521-27028-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 May 2016. สืบค้นเมื่อ 8 January 2016.
- ↑ Knobil, Ernst (1998). Encyclopedia of reproduction, Volume 1. Academic Press. p. 315. ISBN 978-0-12-227020-8.
- ↑ Schwartz, Jill (2010). Master the GED 2011. Peterson's. p. 371. ISBN 978-0-7689-2885-3.
- ↑ Hamilton, Matthew B. (2009). Population genetics. Wiley-Blackwell. p. 55. ISBN 978-1-4051-3277-0.
- ↑ Ville, Claude Alvin; Walker, Warren Franklin; Barnes, Robert D. (1984). General zoology. Saunders College Pub. p. 467. ISBN 978-0-03-062451-3.
- ↑ Hamilton, William James; Boyd, James Dixon; Mossman, Harland Winfield (1945). Human embryology: (prenatal development of form and function). Williams & Wilkins. p. 330.
- ↑ Philips, Joy B. (1975). Development of vertebrate anatomy. Mosby. p. 176. ISBN 978-0-8016-3927-2.
- ↑ The Encyclopedia Americana: a library of universal knowledge, Volume 10. Encyclopedia Americana Corp. 1918. p. 281.
- ↑ Romoser, William S.; Stoffolano, J.G. (1998). The science of entomology. WCB McGraw-Hill. p. 156. ISBN 978-0-697-22848-2.
- ↑ Charlesworth, D.; Willis, J.H. (2009). "The genetics of inbreeding depression". Nat. Rev. Genet. 10 (11): 783–796. doi:10.1038/nrg2664. PMID 19834483.
- ↑ Bernstein, H.; Hopf, F.A.; Michod, R.E. (1987). The molecular basis of the evolution of sex. Adv. Genet. Advances in Genetics. Vol. 24. pp. 323–370. doi:10.1016/s0065-2660(08)60012-7. ISBN 978-0-12-017624-3. PMID 3324702.
- ↑ Pusey, Anne; Wolf, Marisa (1996). "Inbreeding avoidance in animals". Trends Ecol. Evol. 11 (5): 201–206. doi:10.1016/0169-5347(96)10028-8. PMID 21237809.
- ↑ Petrie, M.; Kempenaers, B. (1998). "Extra-pair paternity in birds: Explaining variation between species and populations". Trends in Ecology and Evolution. 13 (2): 52–57. doi:10.1016/s0169-5347(97)01232-9. PMID 21238200.
- ↑ Adiyodi, K.G.; Hughes, Roger N.; Adiyodi, Rita G. (July 2002). Reproductive Biology of Invertebrates, Volume 11, Progress in Asexual Reproduction. Wiley. p. 116. ISBN 978-0-471-48968-9.
- ↑ Schatz, Phil. "Concepts of Biology | How Animals Reproduce". OpenStax College. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2018. สืบค้นเมื่อ 5 March 2018.
- ↑ Budd, Graham E; Jensen, Sören (2017). "The origin of the animals and a 'Savannah' hypothesis for early bilaterian evolution". Biological Reviews. 92 (1): 446–473. doi:10.1111/brv.12239. PMID 26588818.
- ↑ Giribet, Gonzalo (27 September 2016). "Genomics and the animal tree of life: conflicts and future prospects". Zoologica Scripta. 45: 14–21. doi:10.1111/zsc.12215.
- ↑ "Evolution and Development" (PDF). Carnegie Institution for Science Department of Embryology. 1 May 2012. p. 38. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 March 2014. สืบค้นเมื่อ 4 March 2018.
- ↑ Dellaporta, Stephen; Holland, Peter; Schierwater, Bernd; Jakob, Wolfgang; Sagasser, Sven; Kuhn, Kerstin (April 2004). "The Trox-2 Hox/ParaHox gene of Trichoplax (Placozoa) marks an epithelial boundary". Development Genes and Evolution. 214 (4): 170–175. doi:10.1007/s00427-004-0390-8. PMID 14997392.
- ↑ Peterson, Kevin J.; Eernisse, Douglas J (2001). "Animal phylogeny and the ancestry of bilaterians: Inferences from morphology and 18S rDNA gene sequences". Evolution and Development. 3 (3): 170–205. CiteSeerX 10.1.1.121.1228. doi:10.1046/j.1525-142x.2001.003003170.x. PMID 11440251.
- ↑ Kraemer-Eis, Andrea; Ferretti, Luca; Schiffer, Philipp; Heger, Peter; Wiehe, Thomas (2016). "A catalogue of Bilaterian-specific genes – their function and expression profiles in early development" (PDF). bioRxiv. doi:10.1101/041806. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2018.
- ↑ Zimmer, Carl (4 May 2018). "The Very First Animal Appeared Amid an Explosion of DNA". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2018. สืบค้นเมื่อ 4 May 2018.
- ↑ Paps, Jordi; Holland, Peter W.H. (30 April 2018). "Reconstruction of the ancestral metazoan genome reveals an increase in genomic novelty". Nature Communications. 9 (1730 (2018)): 1730. Bibcode:2018NatCo...9.1730P. doi:10.1038/s41467-018-04136-5. PMC 5928047. PMID 29712911.
- ↑ Peterson, Kevin J.; Cotton, James A.; Gehling, James G.; Pisani, Davide (27 April 2008). "The Ediacaran emergence of bilaterians: congruence between the genetic and the geological fossil records". Philosophical Transactions of the Royal Society of London B: Biological Sciences. 363 (1496): 1435–1443. doi:10.1098/rstb.2007.2233. PMC 2614224. PMID 18192191.
- ↑ Parfrey, Laura Wegener; Lahr, Daniel J.G.; Knoll, Andrew H.; Katz, Laura A. (16 August 2011). "Estimating the timing of early eukaryotic diversification with multigene molecular clocks". Proceedings of the National Academy of Sciences. 108 (33): 13624–13629. Bibcode:2011PNAS..10813624P. doi:10.1073/pnas.1110633108. PMC 3158185. PMID 21810989.
- ↑ "Raising the Standard in Fossil Calibration". Fossil Calibration Database. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2018. สืบค้นเมื่อ 3 March 2018.
- ↑ Laumer, Christopher E.; Gruber-Vodicka, Harald; Hadfield, Michael G.; Pearse, Vicki B.; Riesgo, Ana; Marioni, John C.; Giribet, Gonzalo (2018). "Support for a clade of Placozoa and Cnidaria in genes with minimal compositional bias". eLife. 2018, 7: e36278. doi:10.7554/eLife.36278. PMC 6277202. PMID 30373720.
- ↑ Adl, Sina M.; Bass, David; Lane, Christopher E.; Lukeš, Julius; Schoch, Conrad L.; Smirnov, Alexey; Agatha, Sabine; Berney, Cedric; Brown, Matthew W. (2018). "Revisions to the Classification, Nomenclature, and Diversity of Eukaryotes". Journal of Eukaryotic Microbiology. 66 (1): 4–119. doi:10.1111/jeu.12691. PMC 6492006. PMID 30257078.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Animalia ที่วิกิสปีชีส์
- แม่แบบ:Eol
- Tree of Life Project