2 กรกฎาคม
วันที่สร้างสรรค์
วันที่ 2 กรกฎาคม เป็นวันที่ 183 ของปี (วันที่ 184 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 182 วันในปีนั้น
<< | กรกฎาคม | >> | |||||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส | |||
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | ||||
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | |||
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | |||
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | |||
28 | 29 | 30 | 31 | ||||||
พ.ศ. 2567 |
เหตุการณ์
แก้ศตวรรษที่ 7
แก้- พ.ศ. 1169 (ค.ศ. 626) – หลี่ซื่อหมิน หรือจักรพรรดิถังไท่จงในอนาคต ลวงและสังหารเจ้าชายหลี่หยวนจี๋ พระอนุชา และเจ้าชายหลี่ เจี้ยนเฉิง พระเชษฐาซึ่งเป็นรัชทายาทในเหตุการณ์ประตูเสฺวียนอู่[1]
ศตวรรษที่ 19
แก้- พ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853) - สงครามไครเมีย : กองทัพจักรวรรดิรัสเซียบุกโจมตีตุรกี
ศตวรรษที่ 20
แก้- พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) - เรือเหาะเที่ยวบินแรก ขึ้นบินเหนือทะเลสาบคอนสแตนส์ ในประเทศเยอรมนี
- พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1936) - ศาลาเฉลิมกรุงเปิดฉายภาพยนตร์เป็นปฐมฤกษ์
- พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) - อเมเลีย เอียร์ฮาร์ต กับนักบินนำทาง เฟร็ด นูแนน หายสาบสูญไปเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก ขณะพยายามบินรอบโลกตามแนวเส้นศูนย์สูตร
- พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) - วัตถุที่เชื่อว่าเป็นยูเอฟโอตกลงในบริเวณรอสเวลล์ รัฐนิวเม็กซิโก กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาอ้างว่าเป็นเพียงบัลลูน
- พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) - ลินดอน บี. จอห์นสัน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ลงนามในกฎหมายสิทธิพลเมืองอเมริกัน ค.ศ. 1964 ห้ามการแบ่งแยกเชื้อชาติในที่สาธารณะ
- พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ ผนวกกันเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
- พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - งานประมงน้อมเกล้าฯ จัดขึ้นเป็นครั้งแรกที่สวนอัมพร
- พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในประวัติศาสตร์ชาติไทย
- พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอนุสรณ์สถานแห่งชาติ
- พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - ประเทศไทยมีการเลือกตั้งทั่วไป ผลการเลือกตั้ง พรรคชาติไทยได้ ส.ส. มากที่สุด ทำให้นายบรรหาร ศิลปอาชา ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของไทย
- พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - หลังจากถูกโจมตีค่าเงินบาทอย่างหนัก และใช้ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศในการปกป้องเป็นจำนวนมหาศาล รัฐบาลไทยประกาศปรับเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยน จากระบบตะกร้าเงินมาเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบกึ่งจัดการ ทำให้ค่าเงินบาทลดลงอย่างมาก และเป็นชนวนนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจเอเชีย
ศตวรรษที่ 21
แก้- พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) - คอนเสิร์ตไลฟ์เอทเริ่มขึ้น มีเป้าหมายให้กลุ่มประเทศผู้นำลงมืออย่างจริงจังเพื่อขจัดความยากจนให้หมดไป โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกา
วันเกิด
แก้- พ.ศ. 2257 (ค.ศ. 1714) - คริสโตฟ วิลลิบาล์ด กลุค คีตกวีชาวเยอรมัน (ถึงแก่กรรม 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2330)
- พ.ศ. 2418 (ค.ศ. 1875) - พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร นักการทูต (สิ้นพระชนม์ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471)
- พ.ศ. 2420 (ค.ศ. 1877) - แฮร์มันน์ เฮสเซอ กวี นักประพันธ์ และจิตรกรชาวเยอรมัน-สวิส (ถึงแก่กรรม 9 สิงหาคม พ.ศ. 2505)
- พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) - สมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 แห่งนอร์เวย์ (สวรรคต 17 มกราคม พ.ศ. 2534)
- พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) - ฮันส์ เบเทอ นักฟิสิกส์นิวเคลียร์ชาวเยอรมัน (ถึงแก่กรรม 6 มีนาคม พ.ศ. 2548)
- พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) - การ์โลส เมเนม ประธานาธิบดีอาร์เจนตินาคนที่ 44 (ถึงแก่อสัญกรรม 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564)
- พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) - ท่านหญิงจันทรจรัสศรี ไพบูลย์เลิศ (สิ้นชีพิตักษัย 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548)
- พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) - มยุรา เศวตศิลา นักแสดงและพิธีกรชาวไทย
- พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) - ร็อคกี้ เกรย์ มือกลองและนักกีตาร์ชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) - รีเบกกา เมเดอร์ นักแสดงชาวอังกฤษ
- พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - ซูรับ ซเวียเดารี นักยูโดชาวจอร์เจีย
- พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984)
- ดียุฟ บีรัม นักฟุตบอลชาวโกตดิวัวร์
- โรซิมาร์ อามันซีโอ นักฟุตบอลอาชีพชาวบราซิล
- พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985)
- พัก นัม-ช็อล (นักฟุตบอลเกิด พ.ศ. 2528) นักฟุตบอล ทีมชาติเกาหลีเหนือ
- แอชลีย์ ทิสเดล นักแสดงและนักร้องชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986)
- ธัชชา พุ่มอ่อน นักแสดงและนางแบบชาวไทย
- ลินด์ซีย์ โลเอิน นักแสดงชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987)
- อาจายี จีเบงกา ซามูเอล นักฟุตบอลชาวไนจีเรีย
- เอสเตบัน กราเนโร นักฟุตบอลตำแหน่งกองกลาง
- พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - รัชพล แย้มแสง นักร้องชาวไทย
- พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - แดนนี โรส (นักฟุตบอลเกิดปี พ.ศ. 2533) นักฟุตบอลชาวอังกฤษ
- พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991)
- คิม โก-อึน นักแสดงชาวเกาหลีใต้
- จอร์แดน บาวเวอรี นักฟุตบอลชาวอังกฤษ
- นิลนารา นิลนาถณรงค์ นักแสดงชาวไทย
- พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - ธนาภา ภูมิดิษฐ์ นักแสดงชาวไทย
- พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - อับราฮัม อัตตาฮ์ นักแสดงชาวกานา
- พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) - วงศธร สมศรี นักร้องลูกทุ่งชายชาวไทย
วันถึงแก่กรรม
แก้- พ.ศ. 2099 (ค.ศ. 1556) - นอสตราดามุส แพทย์และโหรชาวฝรั่งเศส (เกิด 14 ธันวาคม พ.ศ. 2046)
- พ.ศ. 2321 (ค.ศ. 1778) - ฌ็อง-ฌัก รูโซ นักปรัชญาชาวสวิส (เกิด 28 มิถุนายน พ.ศ. 2255)
- พ.ศ. 2393 (ค.ศ. 1850) - เซอร์ โรเบิร์ต พีล นักการเมืองชาวอังกฤษ (เกิด 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2330)
- พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1914) - โจเซฟ แชมเบอร์เลน นักการเมืองชาวอังกฤษ (เกิด 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2379)
- พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) - อะมีเลีย แอร์ฮาร์ต นักบินชาวอเมริกัน (หายสาบสูญ) (เกิด 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2440)
- พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) - รุริโกะ อะซะโอะกะ นักแสดงหญิงชาวญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) - เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ นักประพันธ์ชาวอเมริกัน (เกิด 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2442)
- พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) - วลาดีมีร์ นาโบคอฟ นักประพันธ์ชาวรัสเซีย (เกิด 22 เมษายน ค.ศ. 1899)
- พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) - ขุนวิจิตรมาตรา ผู้กำกับภาพยนตร์ นักประพันธ์ และนักประพันธ์เพลง (เกิด 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2440)
- พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ พระสงฆ์ (เกิด 16 มกราคม พ.ศ. 2430)
- พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - ทองใบ เรืองนนท์ ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ละครชาตรี)
- พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - มาริโอ พูโซ นักประพันธ์ชาวอเมริกัน (เกิด 15 ตุลาคม พ.ศ. 2463)
- พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004)
- เจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่ เจ้านายฝ่ายเหนือ ราชสกุลผู้ครองนครล้านนาในอดีต
- มอชตาร์ ลูบิส นักเรียกร้องเสรีภาพคนสำคัญของอินโดนีเซีย (เกิด 7 มีนาคม พ.ศ. 2465)
- พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) - ดี๋ ดอกมะดัน นักแสดงตลก (เกิด พ.ศ. 2494)
- พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) - เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์ (ประสูติ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464)
- พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016)
- แพทริก แมนนิง นายกรัฐมนตรีคนที่ 4 และ 6 แห่งสาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโก (เกิด 17 สิงหาคม พ.ศ. 2489)
- ดอน จมูกบาน นักแสดงตลก
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- BBC: On This Day (อังกฤษ)
- The New York Times: On This Day (อังกฤษ)
- ↑ Chen, Jack Wei (2010). The Poetics of Sovereignty: On Emperor Taizong of the Tang Dynasty. Cambridge, Mass.: Harvard University Press. pp. 23–25. ISBN 9780674056084.