โรนัลด์ แมคโดนัลด์
โรนัลด์ แมคโดนัลด์ (อังกฤษ: Ronald McDonald) เป็นตัวตลกซึ่งถูกใช้เป็นมาสคอตหลักของแมคโดนัลด์ ในโฆษณาโทรทัศน์ ตัวตลกตัวนี้จะอาศัยอยู่ในโลกจินตนาการที่ชื่อว่าแมคโดนัลด์แลนด์ และมักจะออกผจญภัยกับเพื่อนของเขา เมเยอร์ แมคชีส, แฮมเบอร์กลาร์, ไกรเมซ, เบอร์ดี้ เดอะ เออร์ลี เบิร์ด และ เดอะ ฟราย คิดส์ หลังจากที่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา รายการโทรทัศน์ที่เกี่ยวกับแมคโดนัลด์แลนด์ได้หยุดผลิตลง โรนัลด์ก็หันมามีปฏิกิริยากับเด็ก ๆ ในชีวิตประจำวันของเขาแทน
โรนัลด์ แมคโดนัลด์ | |
---|---|
ภาพของรูปปั้นโรนัลด์ แมคโดนัลด์ ในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2548 ซึ่งต้อนรับลูกค้าในลักษณะไหว้ เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของไทย | |
ปรากฏครั้งแรก | พ.ศ. 2506 |
แสดงโดย | วิลลาร์ด สกอตต์ (พ.ศ. 2506-2508) เบฟ เบอร์เจอรอน (พ.ศ. 2509–2511) วิฟ วีคส์ (พ.ศ. 2511–2513) จอร์จ เวอร์ฮิส (พ.ศ. 2511–2512) บ็อบ แบรนดอน (พ.ศ. 2513–2518) คิง มูดี้ (พ.ศ. 2518–2527) สไควร์ ไฟรเดลล์ (พ.ศ. 2527–2534) แจ็ค ดีออปกี (พ.ศ. 2533–2538) โจ แมกการ์ด (พ.ศ. 2538–2550) แบรด เลนนอน (พ.ศ. 2550–ปัจจุบัน) บ็อบ สเตเฟนสัน (โลโกรามาเท่านั้น) |
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง | |
เพศ | ชาย |
อาชีพ | มาสคอตของแมคโดนัลด์ |
ประวัติ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
นักแสดง
แก้มีนักแสดงนับร้อยที่แสดงเป็นโรนัลด์ แมคโดนัลด์ตามร้านอาหารและงานต่าง ๆ แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทใช้นักแสดงเพียงหนึ่งคนเท่านั้นในการเล่นบทบาทของโรนัลด์ในโฆษณาโทรทัศน์ โดยนักแสดงที่แสดงเป็นโรนัลด์ แมคโดนัลด์ มีดังต่อไปนี้
- วิลลาร์ด สกอตต์ (วอชิงตัน ดี. ซี. พ.ศ. 2506-2508)
- เบฟ เบอร์เจอรอน (แคลิฟอร์เนียใต้ พ.ศ. 2509-2511)
- จอร์จ เวอร์ฮิส (แคลิฟอร์เนียใต้ พ.ศ. 2511-2531)
- เรย์ เรย์เนอร์ (พ.ศ. 2511-2512)
- คิง มูดี้ (พ.ศ. 2518–2527)
- สไควร์ ไฟรเดลล์ (พ.ศ. 2527–2534)
- แจ็ค ดีออปกี (พ.ศ. 2533–2538)
- โจ แมกการ์ด (พ.ศ. 2538–2550)
- แบรด เลนนอน (พ.ศ. 2550–ปัจจุบัน)[1]
ชื่อ "โรนัลด์ แมคโดนัลด์" ในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงชุด หน้าตาตัวตลก อุปนิสัยต่าง ๆ ของโรนัลด์ แมคโดนัลด์ทั้งหมด เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของแมคโดนัลด์
การนำตัวละครไปใช้ในงานอื่น ๆ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การทำให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของชาติอื่น ๆ
แก้ในประเทศไทย โรนัลด์ แมคโดนัลด์จะต้อนรับลูกค้าในลักษณะไหว้ เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของไทย โดยมาสคอตในลักษณะไหว้นี้ ถูกกำหนดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2545 โดยแฟรนไชส์ของแมคโดนัลด์ในประเทศไทยที่ชื่อว่า แมคไทย[2]
สำหรับในประเทศจีนนั้น เพื่อเป็นการเคารพโรนัลด์ แมคโดนัลด์ในฐานะผู้ใหญ่ เด็ก ๆ จึงเรียกเขาว่า 麦当劳叔叔 (ลุงแมค)
ในประเทศญี่ปุ่น โรนัลด์ แมคโดนัลด์ถูกเรียกว่าโดนัลด์ แมคโดนัลด์ เนื่องจากว่าเสียง "r" ที่ชัดเจนในภาษาอังกฤษไม่มีในภาษาญี่ปุ่น[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ Province, Ben (October 19, 2011). "MBU Runs for Ronald". Malibu Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-15. สืบค้นเมื่อ April 25, 2012.
- ↑ Rungfapaisarn, Kwanchai. "Ronald's 'wai' to hit the States." The Nation (Thailand), September 18, 2002
- ↑ "Ronald and Donald McDonald keep their cultural identities". Seattle Post-Intelligencer, December 17, 1996
อ่านเพิ่ม
แก้- Schlosser, E. (2006) Chew on this: everything you don’t want to know about fast food. Boston, MA: Houghton Mifflin Co.