เหรียญราชการชายแดน

เหรียญราชการชายแดน (อังกฤษ: The Border Service Medal) ใช้อักษรย่อว่า ช.ด. เป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์ที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น สำหรับพระราชทานแก่ผู้ที่ได้ปฏิบัติราชการชายแดนเป็นพิเศษ ตามพระราชบัญญัติเหรียญราชการชายแดน พ.ศ. 2497 เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2497[1]

เหรียญราชการชายแดน
มอบโดย พระมหากษัตริย์ไทย
อักษรย่อช.ด.
ประเภทเหรียญบำเหน็จความชอบในราชการ
วันสถาปนา22 กันยายน พ.ศ. 2497
ประเทศไทย ราชอาณาจักรไทย
ภาษิตเราปฏิบัติหน้าที่เพื่อเกียรติศักดิ์ไทย
จำนวนสำรับไม่จำกัดจำนวน
แพรแถบ
ผู้สมควรได้รับผู้ที่ได้ปฏิบัติราชการชายแดนเป็นพิเศษ
สถานะยังพระราชทานอยู่
ผู้สถาปนาพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ประธานพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
สถิติการมอบ
รายแรกอรรถสิทธิ์ สิทธิสุนทร
20 พฤษภาคม พ.ศ. 2498
รายล่าสุด17 ธันวาคม พ.ศ. 2566
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าเหรียญช่วยราชการเขตภายใน
รองมาเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก เหรียญทองช้างเผือก
หมายเหตุพระราชทานเป็นกรรมสิทธิ์

ลักษณะของเหรียญ

แก้
 
เหรียญราชการชายแดน ด้านหน้า

เหรียญราชการชายแดน มีลักษณะเป็นเหรียญรูปกลม ทำด้วยโลหะสีทอง ด้านหน้า มีพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กำลังทรงทำยุทธหัตถีกับราชศัตรู ด้านหลัง มีอักษรจารึกว่า "เราปฏิบัติหน้าที่เพื่อเกียรติศักดิ์ไทย" ตัวเหรียญห้อยกับแพรแถบสีม่วงมีริ้วสีขาวสองข้าง เบื้องบนมีเข็มโลหะรูปคฑาจอมพลสีทองจารึกอักษรว่า "ราชการชายแดน" ใช้ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย

สิทธิของผู้ได้รับพระราชทาน

แก้
  1. ได้รับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลของรัฐบาล หรือองค์การของรัฐบาลทุกแห่ง ตลอดจนให้ได้รับยาบำบัดรักษาโรคโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
  2. ได้ลดค่าโดยสารยานพาหนะ คือ รถราง รถไฟ รถยนต์โดยสารประจำทาง เรือเดินทะเล ที่เป็นของรัฐบาลหรือองค์การ และบริษัทในความควบคุมของรัฐบาลลงกึ่งหนึ่งของอัตราธรรมดา

การพระราชทาน

แก้

พระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และผู้กระทำหน้าที่ซึ่งเจ้ากระทรวง หน่วยทหาร หรือตำรวจ สั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ ณ อำเภอชายแดน เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน ยกเว้นแต่มีเหตุสู้รบพิเศษ เกี่ยวกับการป้องกันราชอาณาจักรได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการสมความมุ่งหมายของทางราชการ และประพฤติตนอยู่ในระเบียบวินัยอันดี

ตัวอย่างพระนามาภิไธยและนามผู้ได้รับพระราชทาน

แก้

อ้างอิง

แก้