เวียนนา
เวียนนา[a] เป็นเมืองหลวง เมืองใหญ่สุด และเป็นหนึ่งในเก้ารัฐของประเทศออสเตรีย เวียนนาเป็นนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศ โดยมีผู้อาศัยทั้งสิ้น 1.9 ล้านคน[3] (2.6 ล้านคนถ้านับรวมปริมณฑล[2] คิดเป็นหนึ่งในสามของประชากรทั้งประเทศ) และยังเป็นศูนย์กลางทางด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมือง เวียนนาเป็นนครที่มีประชากรในเขตเมืองมากที่สุดเป็นอันดับที่ 6 ของสหภาพยุโรป
เวียนนา Wien (เยอรมันแบบออสเตรีย) | |
---|---|
จากบนสุด ซ้ายไปขวา: พิพิธภัณฑ์กุนทิสทอริเชส, ศาลาว่าการเวียนนา, อาสนวิหารนักบุญสตีเฟน, โอเปราแห่งรัฐเวียนนา และอาคารรัฐสภาออสเตรีย | |
พิกัด: 48°12′N 16°22′E / 48.200°N 16.367°E | |
ประเทศ | ออสเตรีย |
การปกครอง | |
• องค์กร | รัฐสภาของรัฐและเทศบาล |
• นายกเทศมนตรีและผู้ว่าการ | มิชาเอล ลุดวิก (SPÖ) |
• รองนายกเทศมนตรี | |
พื้นที่ | |
• เมืองหลวง, รัฐ และเทศบาล | 414.78 ตร.กม. (160.15 ตร.ไมล์) |
• พื้นดิน | 395.25 ตร.กม. (152.61 ตร.ไมล์) |
• พื้นน้ำ | 19.39 ตร.กม. (7.49 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 151 (Lobau) – 542 (Hermannskogel) เมตร (495–1,778 ฟุต) |
ประชากร | |
• เมืองหลวง, รัฐ และเทศบาล | 1,888,776 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 1 ในออสเตรีย (อันดับที่ 6 ในสหภาพยุโรป) |
• ความหนาแน่น | 4,326.1 คน/ตร.กม. (11,205 คน/ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 2,600,000 คน |
• ชาติพันธุ์[3][4] |
|
เดมะนิม | เยอรมัน: Wiener (ชาย), Wienerin (หญิง) อังกฤษ: Viennese |
เขตเวลา | UTC+1 (CET) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+2 (CEST) |
รหัสไปรษณีย์ |
|
รหัส ISO 3166 | AT-9 |
ทะเบียนพาหนะ | W |
HDI (2018) | 0.940[6] สูงมาก · อันดับที่ 1 |
จีดีพี | 94 พันล้านยูโร (2017)[7] |
จีดีพีต่อหัว | 50,000 ยูโร (2017)[7] |
ที่นั่งในสภาสหพันธ์ | 11 / 61
|
GeoTLD | .wien |
เว็บไซต์ | www |
ในช่วงก่อนเริ่มคริสต์ศตวรรษที่ 20 เวียนนาเป็นเมืองที่มีประชากรพูดภาษาเยอรมันมากที่สุดในโลก และในช่วงก่อนการแบ่งแยกของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี นครมีประชากรมากถึง 2 ล้านคน[10] ในปัจจุบัน เวียนนาเป็นเมืองที่มีประชากรพูดภาษาเยอรมันมากเป็นอันดับที่สองรองจากเบอร์ลิน[11][12] เวียนนาเป็นที่ตั้งขององค์การระหว่างประเทศหลายแห่ง อาทิ สหประชาชาติ โอเปก และโอเอสซีอี ตัวนครตั้งอยู่ในภาคตะวันออกของออสเตรีย และอยู่ใกล้กับพรมแดนเช็กเกีย สโลวาเกีย และฮังการี โดยกลุ่มประเทศนี้ดำเนินงานร่วมกันในภูมิภาคยุโรปกลาง เวียนนามีประชากรในเขตปริมณฑลทั้งสิ้น 3 ล้านคน ซึ่งใกล้เคียงกับบราติสลาวา ใน ค.ศ. 2001 ย่านใจกลางเมืองได้รับการประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลก แต่ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2017 ย่านใจกลางเมืองถูกนำใส่รายชื่อแหล่งมรดกโลกที่อยู่ในอันตราย[13] นอกจากนี้ เวียนนายังเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "นครแห่งดนตรี"[14] อันเนื่องจากมรดกทางดนตรีที่สำคัญ เวียนนายังถูกกล่าวขานว่าเป็น "นครแห่งความฝัน" เพราะเป็นบ้านเกิดของนักจิตวิเคราะห์คนแรกของโลกอย่างซีคมุนท์ ฟร็อยท์[15] บรรพบุรุษของชาวเวียนนาเป็นชาวเคลต์และชาวโรมัน ซึ่งได้อพยพมาในช่วงสมัยกลางและสมัยบารอก เวียนนาเป็นที่รู้จักในด้านแหล่งดนตรีแนวหน้าของยุโรป โดยมีดนตรีคลาสสิกแบบเวียนนามาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 พื้นที่ใจกลางทางประวัติศาสตร์ของเวียนนาเต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมที่งดงาม ซึ่งรวมไปถึงพระราชวังและสวนแบบบารอก และถนนวงแหวนเวียนนา ซึ่งสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 รายล้อมไปด้วยอาคารใหญ่ อนุสรณ์ และสวนสาธารณะ[16]
เวียนนามีคุณภาพชีวิตที่ดีมาก จากการสำรวจนครของโลก 127 แห่งใน ค.ศ. 2005 หน่วยอินเทลลิเจนซ์ของนักเศรษฐศาสตร์จัดอันดับให้เวียนนาเป็นนครที่น่าอยู่ที่สุดในโลก (ร่วมกับแวนคูเวอร์และซานฟรานซิสโก) ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 2011–2015 เวียนนาตกไปอยู่อันดับที่สอง โดยเป็นรองเพียงเมลเบิร์น[17][18][19][20][21] และใน ค.ศ. 2018 เวียนนากลับไปอยู่อันดับที่หนึ่งอีกครั้ง[22] ซึ่งต่อเนื่องมาจนถึง ค.ศ. 2019[23] ในช่วงเวลาสิบปี (2009–2019) บริษัทคุณภาพชีวิตอย่างเมอร์เซอร์จัดอันดับให้เวียนนาได้อันดับหนึ่งในด้าน "คุณภาพความเป็นอยู่" จากการสำรวจนครรอบโลกกว่า 100 แห่ง[24][25][26][27][28][29][30][31] โมโนเซิลจัดอันดับให้เวียนนาอยู่อันดับที่สองในด้านคุณภาพชีวิตประจำปี 2015 จากรายชื่อนครทั้ง 25 แห่งของโลก[32][33][34][35][36] ยูเอ็น-ฮาบิแท็ต ประกาศให้เวียนนาเป็นนครที่รุ่งเรืองที่สุดในโลกประจำปี 2012–2013[37] ตัวนครเป็นอันดับที่หนึ่งของโลกในด้านวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรมประจำปี 2007 และ 2008 และอยู่อันดับที่ 6 (จากนคร 256 แห่ง) จากดัชนีนครนวัตกรรมประจำปี 2014 ที่ใช้เกณฑ์ 162 ข้อจากสามประเด็น ได้แก่ วัฒนธรรม โครงสร้างพื้นฐาน และการค้า[38][39][40] เวียนนาเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมผังเมืองอยู่บ่อยครั้ง และผังเมืองเวียนนาก็ถูกใช้เป็นตัวอย่างของนักผังเมืองด้วยเช่นกัน[41] ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 2005–2010 เวียนนาเป็นจุดหมายปลายทางอันดับหนึ่งในด้านการประชุมระดับโลก[42] และมีนักท่องเที่ยว 6.8 ล้านต่อปี[43]
ประวัติศาสตร์
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การปกครอง
แก้กรุงเวียนนาแบ่งการปกครองออกเป็น 23 เขต
ระเบียงภาพ
แก้-
Fiaker
-
Pestsäule
-
Hofburg
-
Karlskirche
-
Minoritenkirche
-
Parliament
-
Palace of Schönbrunn
-
Central cemetery
-
Prater
-
Rathaus
-
Kunsthistorisches Museum
-
Gloriette
หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Statistik Austria – Bevölkerung zu Quartalsbeginn seit 2002 nach Bundesland". Statistik.at. 14 February 2013. สืบค้นเมื่อ 22 May 2013.
- ↑ 2.0 2.1 "VCÖ.at: VCÖ fordert Nahverkehrsoffensive gegen Verkehrskollaps in den Städten". vcoe.at. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2011. สืบค้นเมื่อ 5 August 2009.
- ↑ 3.0 3.1 STATISTIK AUSTRIA. "Bevölkerung zu Jahres-/Quartalsanfang". statistik.at. สืบค้นเมื่อ 12 February 2016.
- ↑ "Vienna in figures 2012, Vienna City Administration Municipal Department 23 Economic history, Labour and Statistics Responsible for the contents: Gustav Lebhart, page 6" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 18 October 2012. สืบค้นเมื่อ 21 September 2012.
- ↑ "Postlexikon". Post AG. 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2017. สืบค้นเมื่อ 2 June 2018.
- ↑ "Sub-national HDI – Area Database – Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org. สืบค้นเมื่อ 8 July 2019.
- ↑ 7.0 7.1 https://ec.europa.eu/eurostat/documents/2995521/9618249/1-26022019-AP-EN.pdf/f765d183-c3d2-4e2f-9256-cc6665909c80e[ลิงก์เสีย]
- ↑ Wells, John C. (2008), Longman Pronunciation Dictionary (3rd ed.), Longman, ISBN 978-1-4058-8118-0
- ↑ Roach, Peter (2011), Cambridge English Pronouncing Dictionary (18th ed.), Cambridge: Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-15253-2
- ↑ "Vienna after the war", The New York Times, 29 December 1918 (PDF)
- ↑ "Wien nun zweitgrößte deutschsprachige Stadt | touch.ots.at". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 July 2013. สืบค้นเมื่อ 21 July 2013.
- ↑ "Ergebnisse Zensus 2011" (ภาษาเยอรมัน). Statistische Ämter des Bundes und der Länder. 31 May 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-21. สืบค้นเมื่อ 31 May 2013.
- ↑ "Historic Centre of Vienna". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 12 July 2017.
- ↑ "Vienna – the City of Music – VIENNA – NOW OR NEVER". Wien.info. สืบค้นเมื่อ 19 May 2012.
- ↑ BBC Documentary – Vienna – The City of Dreams
- ↑ "Historic Centre of Vienna". UNESCO World Heritage Centre. สืบค้นเมื่อ 19 May 2012.
- ↑ "The world's most 'liveable' cities 2015". สืบค้นเมื่อ 20 August 2015.
- ↑ "The world's most 'liveable' cities 2014" (PDF). สืบค้นเมื่อ 20 August 2015.
- ↑ "The world's most liveable cities 2013". สืบค้นเมื่อ 20 August 2015.
- ↑ "The world's most 'liveable' cities 2012". สืบค้นเมื่อ 20 August 2015.
- ↑ "The world's most 'liveable' cities 2011". BBC News. 30 August 2011. สืบค้นเมื่อ 20 August 2015.
- ↑ "The world's most liveable city named". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 14 August 2018. สืบค้นเมื่อ 14 August 2018.
- ↑ Locke, Taylor (2019-09-04). "These are the world's most liveable cities in 2019". CNBC (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-09-09.
- ↑ "Quality of Living City Ranking – Mercer". mobilityexchange.mercer.com. สืบค้นเมื่อ 20 May 2019.
- ↑ "Redirecting..." www.imercer.com.
{{cite web}}
: Cite ใช้ชื่อทั่วไป (help) - ↑ "2014 Quality of Living survey". mercer.com.
- ↑ "Mercer press release: Quality of Living global city rankings—2009". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 January 2011. สืบค้นเมื่อ 2 December 2011.
- ↑ "Mercer Quality of LIfe Worldwide City Rankings, 2010 from resourceshelf.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2011. สืบค้นเมื่อ 2 December 2011.
- ↑ "Mercer's Survey 2011". Mercer. 29 November 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 May 2014.
- ↑ Inocencio, Ramy (4 December 2012). "What city has world's best quality of life?". CNN.
- ↑ "Mercer | Quality of Living Ranking 2016". www.mercer.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2016. สืบค้นเมื่อ 22 November 2016.
- ↑ Monocle. "Quality of Live Survey 2015". Monocle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-14. สืบค้นเมื่อ 24 June 2015.Monocle's 2012 "Quality of Life Survey" ranked Vienna fourth on a list of the top 25 cities in the world "to make a base within" (up from sixth in 2011 and eighth in 2010).
- ↑ "Quality of Life Survey 2012". Monocle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 August 2012. สืบค้นเมื่อ 1 August 2012.
- ↑ "Monocle's top 25 cities for 2011, on businessinsider.com". สืบค้นเมื่อ 2 December 2011.
- ↑ "Monocle's 2011 "Quality of LIfe" summary". สืบค้นเมื่อ 3 December 2011.
- ↑ "08 Vienna". Monocle.com. 15 June 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 May 2012. สืบค้นเมื่อ 19 May 2012.
- ↑ "State of the World's Cities 2012/2013". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2015. สืบค้นเมื่อ 25 August 2015.
- ↑ "2thinknow Innovation Cities Global 256 Index – worldwide innovation city rankings: Innovation Cities Program". Innovation-cities.com. 2007. สืบค้นเมื่อ 20 August 2015.
- ↑ "2thinknow Innovation Cities Global 256 Index – worldwide innovation city rankings: Innovation Cities Program". Innovation-cities.com. 2008. สืบค้นเมื่อ 20 August 2015.
- ↑ "2thinknow Innovation Cities Global 256 Index – worldwide innovation city rankings: Innovation Cities Program". Innovation-cities.com. 2014. สืบค้นเมื่อ 20 August 2015.
- ↑ "Vienna knows how". wieninternational.at. 15 April 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2010. สืบค้นเมื่อ 3 January 2011.
- ↑ "Vienna is the world's number one congress destination". wieninternational.at. 1 June 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 August 2011. สืบค้นเมื่อ 15 October 2011.
- ↑ "Vienna Tourist Board: Arrivals & bednights 2016". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-10. สืบค้นเมื่อ 9 April 2016.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
แก้- Wien.gv.at – Official site of the municipality, with interactive map.
- Wien.info – Official site of the tourism board: events, sightseeing, cultural information, etc.
- List of Embassies in Vienna
- Information about Vienna and Centrope countries
- Geschichtewiki.wien.gv.at – Vienna History Wiki operated by the city of Vienna
ประวัติศาสตร์เวียนนา
แก้- Hundreds of articles on historical buildings of Vienna: Churches, Palaces, Art, Culture and History of Vienna
- German flaktowers in Vienna
- History of the Coat of Arms of Vienna and all (former) districts and municipalities
ข้อมูลเพิ่มเติม
แก้- Vienna Information เก็บถาวร 2010-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Sorted by categories. Choose from 5 Languages
- Vienna insider travel guide
- Events in Vienna
- Events and useful information from Vienna
- WhenWhereWh.at
- English Guide to Events and Contemporary Culture in Vienna