เลาดาแอร์

อดีตสายการบินสัญชาติออสเตรีย

เลาดาแอร์ (อังกฤษ: Lauda Air) เป็นสายการบินสัญชาติออสเตรีย โดยมีสำนักงานใหญ่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติเวียนนา[1] โดย นิกิ เลาดา อดีตแชมป์โลกฟอร์มูลาร์วัน ได้ก่อตั้งสายการบินนี้ขึ้นในปี ค.ศ. 1979 ในช่วงเวลาต่อมา เลาดาแอร์ได้กลายเป็นสายการบินเช่าเหมาลำในเครือของออสเตรียนแอร์ไลน์ ต่อมาในวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 2013 กิจการของเลาดาแอร์ได้ถูกโอนย้ายไปยังออสเตรียนเอ็มฮอลิเดย์[2]

เลาดาแอร์
IATA ICAO รหัสเรียก
NG LDA LAUDA
ก่อตั้งค.ศ. 1979 (45 ปี)
เริ่มดำเนินงานค.ศ. 1985 (39 ปี)
เลิกดำเนินงานเมษายน ค.ศ. 2013 (ผนวกเข้ากับออสเตรียนแอร์ไลน์)
ฐานการบินเวียนนา
ท่าหลักกราทซ์
อินส์บรุค
ลินทซ์
สะสมไมล์เลาดาพอยท์
พันธมิตรการบินสตาร์อัลไลแอนซ์
บริษัทลูกเลาด้าแอร์อิตาลี
ขนาดฝูงบิน66
จุดหมาย38
บริษัทแม่ออสเตรียนแอร์ไลน์กรุ๊ป
สำนักงานใหญ่ออสเตรีย ชเวแชต, ออสเตรีย
บุคลากรหลักยาน อัลเบรชต์, CEO
คาร์สเตน เบนซ์, COO
นิกิ เลาดา (ผู้ก่อตั้ง)
เว็บไซต์http://www.laudaair.com

ประวัติ

แก้

เลาดาแอร์ก่อตั้งขึ้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 1979 โดยอดีตแชมป์แข่งรถฟอร์มูลาร์วัน นิกิ เลาดา และเริ่มดำเนินการในปีค.ศ. 1985 โดยเริ่มดำเนินการเป็นบริการเช่าเหมาลำ เครื่องบินเจ็ตประเภทแรกของเลาดาแอร์คือ บีเอซี 1-11 โดยเครื่องบินเหล่านี้เช่าจากทารอม เลาดาเปิดสำนักงานใหญ่ในชเวแชต ประเทศออสเตรีย[3]

เลาดาแอร์กลายเป็นบริษัทในเครือของออสเตรียนแอร์ไลน์ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2000 และมีพนักงาน 35 คนในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2007 ในปี 2005 เที่ยวบินของเลาดาแอร์ได้รวมเข้ากับสายการบินออสเตรียนแอร์ไลน์ และป้ายชื่อ "เลาดาแอร์" เป็นผู้ดำเนินการเที่ยวบินเช่าเหมาลำภายในกลุ่มสายการบินออสเตรียน

เลาดาแอร์ได้ผนวกเข้ากับออสเตรียนแอร์ไลน์อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2012[4] เครื่องบินทุกลำในฝูงบินของเลาดาแอร์นี้ถูกย้ายไปยังออสเตรียนแอร์ไลน์เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากโครงสร้างสายการบินออสเตรียน

เลาดาร์แอร์เริ่มยกเลิกเที่ยวบินฤดูร้อนในวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2013 ก่อนถูกแทนที่ด้วย "ออสเตรียนเอ็มฮอลิเดย์" [1][2]

จุดหมายปลายทาง

แก้

สายการบินออสเตรียนแอร์ไลน์ให้บริการเที่ยวบินไปยังจุดหมายปลายทาง 38 แห่งภายใต้ชื่อเลาดาแอร์เป็นประจำจนถึงเดือนมีนาคม ค.ศ. 2013[5]

ฝูงบิน

แก้

เลาดาแอร์เคยมีเครื่องบินในฝูงดังนี้:[6]

ฝูงบินของเลาดาแอร์
เครื่องบิน ประจำการ ปลดประจำการ หมายเหตุ
แอร์บัส เอ320-200 1999 2005
บีเอซี 1-11-500 1980s 1990s
โบอิง 737-200 1985 2013
โบอิง 737-300
โบอิง 737-400
โบอิง 737-600
โบอิง 737-700
โบอิง 737-800
โบอิง 767-300อีอาร์ 1990 1991 หนึ่งลำเกิดอุบัติเหตุในเที่ยวบินที่ 004
2007
โบอิง 777-200อีอาร์ 1997 2005
บอมบาร์ดิเอร์ ซีอาร์เจ-100 1994 2004 โอนย้ายไปยังออสเตรียนแอโรว์
ฟอกเกอร์ เอฟ-27 เฟรนด์ชิป 1985 1994

เลาดาเอ็กซ์คลูทีฟ

แก้

เลาดาแอร์ให้บริการฝูงบินซึ่งประกอบด้วยเครื่องบินเจ็ตขนาดเล็ก 3 ลำ ได้แก่ เซสนา ไซเทชั่นทู (9 ที่นั่ง), บอมบาร์ดิเอร์ เลียร์ 60 (7 ที่นั่ง) และ แดสซอล์ท ฟอลคอน 20 (12 ที่นั่ง) เครื่องบินทุกลำใช้สำหรับเที่ยวบินเช่าเหมาลำส่วนตัว[7]

อุบัติเหตุและอุบัติการณ์สำคัญ

แก้
  • เที่ยวบินที่ 004 ในวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 โบอิง 767-300อีอาร์ ได้ดำเนินเที่ยวบินจากฮ่องกงไปยังเวียนนา โดยมีจุดแวะพักที่กรุงเทพมหานคร หลังจากขึ้นบินจากท่าอากาศยานดอนเมืองได้ไม่นาน เครื่องบินได้ตกลงสู่อุทยานแห่งชาติพุเตย สาเหตุเกิดจากการตัวย้อนกลับแรงขับตัวใดตัวหนึ่งได้เกิดกางออกขณะบิน ทุกคนบนเที่ยวบินเสียชีวิต

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Lauda Air on ch-aviation". ch-aviation (ภาษาอังกฤษ).
  2. 2.0 2.1 Um 17:07, 10 01 2013 (2013-01-10). "AUA-Ferienmarke „myHoliday" ersetzt die Lauda Air". Die Presse (ภาษาเยอรมัน).{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  3. http://www.flightglobal.com/pdfarchive/view/1991/1991%20-%200781.html?search=%22Lauda%20Air%22
  4. "Austrian bids farewell to the 737", Airliner World, p. 6, June 2013
  5. http://www.laudaair.com/site/fileadmin/Bilder/Downloads/Lauda_Flugplan_So-11_v1_.pdf
  6. "Lauda Air Fleet Details and History". www.planespotters.net.
  7. Aomd88 (2014-08-08). "Airline memorabilia: Lauda Air (1997)". Airline memorabilia.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Lauda Air