เดอุสวุลต์
เดอุสวุลต์ (ละติน: Deus vult; 'พระเจ้าประสงค์สิ่งนั้น')[1] เป็นภาษิตภาษาละตินที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสงครามครูเสด โดยกล่าวครั้งแรกในช่วงสงครามครูเสดครั้งที่ 1 ใน ค.ศ. 1096
ในปัจจุบัน ภาษิตนี้มีความหมายขึ้นอยู่กับการใช้งาน เช่น ในอุปลักษณ์อิงถึง "น้ำพระทัยพระเจ้า",[2][3] ในภาษิตของคณะนักบวช เช่น คณะของพระคูหาศักดิ์สิทธิ์[4] หรือในปัจจุบันที่ใช้ในสโลแกนอาการกลัวอิสลามโดยพวกออลต์ไรต์บางส่วนและกลุ่มชาตินิยมผิวขาว[5][6][7][8]
ความหมายและความหลากหลาย
แก้ประโยคนี้เป็นการแปลในวัลเกตของ 2 ซามูเอล 14:14 จากคัมภีร์ไบเบิล: nec vult Deus perire animam ("พระเจ้าไม่ได้คิดที่จะทำลายชีวิตใคร")[9][10]
ความหลากหลายในภาษิตของพวกครูเสดมีทั้ง Deus lo vult, Deus le volt (ทั้งคู่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์), Deus id vult (ภาษาละตินคลาสสิก), Dieux el volt (ภาษาฝรั่งเศสเก่า) และ Deus hoc vult (ภาษาละตินคลาสสิก)[11][12] สองอันแรกที่ไม่ตรงตามไวยากรณ์ละตินคลาสสิก เป็นรูปที่ได้รับอิทธิพลด้วยกลุ่มภาษาโรมานซ์ รายงานจาก Heinrich Hagenmeyer คำกำกับนาม 'lo' หรือ 'le' อาจจะอยู่ในภาษิตดั้งเดิมที่อะมัลฟี เพราะนักเขียนทั้งสองในหนังสือ เกสตา ฟรันโกรุม (Gesta Francorum) และ ฮิสโตเรีย เบลลิ ซาคริ (Historia belli sacri) ได้รายงานถึงมัน[13] นักประวัติศาสตร์ Louis Bréhier บันทึกว่า เกสตา ฟรันโกรุม ถูกเขียนในหลายภาษาระหว่างภาษาละติน, ภาษาฝรั่งเศสเก่า และภาษาอิตาลีเก่า[14]
ดูเพิ่ม
แก้- เบซิยาดา ดิชมายา (Besiyata Dishmaya) "ด้วยความช่วยเหลือของสวรรค์"
- เดโอ โวเลนเต (Deo volente) "พระประสงค์ของพระเจ้า"
- อิน ฮอก ซิกโน วินเซส (In hoc signo vinces) "ในสัญญาณนี้ เจ้าจะครอบครอง"
- อินชาอัลลอฮ์ "ด้วยพระประสงค์ของพระเจ้า" และ มาชาอัลลอฮ์ "พระเจ้าประสงค์สิ่งนั้น"
- อัลลอฮุอักบัร "พระเจ้าผู้[ทรง]ยิ่งใหญ่"
- God works in mysterious ways
- การลงโทษของเทพเจ้า
- น้ำพระทัยพระเจ้า
- ใจศรีราม (Jai Shri Ram) นิพจน์ในศาสนาฮินดู หมายถึง "เกียรติศักดิ์แด่องค์ราม" (Glory to Lord Rama)
อ้างอิง
แก้- ↑ "Definition of Deus Vult". Merriam-Webster (ภาษาอังกฤษ).
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Agnew, John (2010). "Deus Vult: The Geopolitics of the Catholic Church". Geopolitics. 15 (1): 39–61. doi:10.1080/14650040903420388. ISSN 1465-0045. S2CID 144793259.
- ↑ Gomez, Adam (2012). "Deus Vult: John L. O'Sullivan, Manifest Destiny, and American Democratic Messianism". American Political Thought. 1 (2): 236–262. doi:10.1086/667616. ISSN 2161-1580.
- ↑ Luigi G. De Anna; Pauliina De Anna; Eero Kuparinen, บ.ก. (November 29, 1997). Tuitio Europae: Chivalric Orders on the Spiritual Paths of Europe : Proceedings of the Conference "The Spiritual Paths of Europe--Crusades, Pilgrimages, and Chivalric Orders". Turku: University of Turku. p. 65. ISBN 9789512913008.
- ↑ Kim, Dorothy. "The Alt-Right and Medieval Religions". Berkeley Center for Religion, Peace and World Affairs. Georgetown University. สืบค้นเมื่อ 25 July 2019.
- ↑ Staff (18 August 2017). "Deconstructing the symbols and slogans spotted in Charlottesville". The Washington Post.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Jones, Dan (10 October 2019). "What the Far Right Gets Wrong About the Crusades". Time (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-11-25.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Guardian agencies in Warsaw (13 November 2017). "Polish president condemns far-right scenes at Independence Day march". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2019-11-16.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Jacobs, Henry Eyster; Schmauk, Theodore Emanuel (1888). The Lutheran Church Review, Volumes 7–8 (ภาษาอังกฤษ). Alumni Association of the Lutheran Theological Seminary. p. 266.
- ↑ Vulgate, Regum II, 14:14
- ↑ Le Monde, histoire de tous les peuples ... (ภาษาฝรั่งเศส). Imprimerie de Béthune et Plon. 1844. p. 327 (see bottom right note).
- ↑ Mrs. William Busk, Mediaeval Popes, Emperors, Kings, and Crusaders, Or, Germany, Italy, and Palestine, from A.D. 1125 to A.D. 1268, Volume 1 (1854), 15, 396.
- ↑ Hagenmeyer, Heinrich (1890). Anonymi gesta Francorum et aliorum hierosolymitanorum (ภาษาละติน). C. Winter.
- ↑ Bréhier, Louis (1925). Histoire anonyme de la première croisade (ภาษาฝรั่งเศส). Les Belles Lettres.
บรรณานุกรม
แก้- B. Lacroix, "Deus le volt!: la théologie d'un cri", Études de civilisation médiévale (IXe-XIIe siècles). Mélanges offerts à Edmond-René Labande, Poitiers (1974), 461–470.