อามาบิเอะ (ญี่ปุ่น: アマビエโรมาจิAmabie) เป็นนางเงือกหรือนายเงือกในตำนานญี่ปุ่นที่มีปากคล้ายจะงอยปากนก และมีสามขา หรือหางครีบปลา ซึ่งโพล่จากทะเล ให้คำพยากรณ์ทั้งการเก็บเกี่ยวที่อุดมสมบูรณ์หรือโรคระบาดทั่ว และสอนผู้คนให้คัดลอกภาพของมันเพื่อป้องกันจากโรคภัย

อามาบิเอะ ภาพพิมพ์ไม้ ปลายสมัยเอโดะ ปีโคกะที่ 3 (ค.ศ. 1846)

ตำนาน

แก้

รายงานจากตำนาน อามาบิเอะ ปรากฎตัวที่จังหวัดฮิโงะ (จังหวัดคูมาโมโตะ) ประมาณช่วงกลางเดือนที่ 4 ปีโคกะที่ 3 (กลางเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1846) ในสมัยเอโดะ มีวัตถุเรืองแสงในทะเลเป็นประจำเกือบทุกคืน เจ้าหน้าที่เมืองได้ไปที่ชายฝั่งเพื่อสอบสวนและพบเห็น อามาบิเอะ จากภาพร่างของเจ้าหน้าที่ มันมีผมยาว ปากคล้ายจะงอยปากนก มีเกล็ดปกคลุมตั้งแต่คอลงมา และมีสามขา เจ้าหน้าที่กล่าวต่อว่า มันบอกว่าตนคือ อามาบิเอะ และบอกเขาว่ามันอาศัยอยู่ในทะเลเปิด โดยมาเพื่อบอกคำพยากรณ์ว่า: "จะมีการเก็บเกี่ยวที่ดีใน 6 ปีจากปีปัจจุบัน;[a] ถ้ามีการแพร่ระบาดของโรค จงวาดรูปฉันและแสดงภาพของฉันให้ใครก็ตามที่ป่วย" หลังจากนั้นก็กลับลงไปในทะเล เรื่องราวนี้ได้รับการตีพิมพ์ลงใน คาวาราบัง [ja] (บล็อกพิมพ์กระดานข่าว) และนี่คือเรื่องราวที่เผยแพร่ในประเทศญี่ปุ่น[1][2][3]

โควิด-19

แก้
 
โปสเตอร์ หยุด! คันเซ็นคากูได – โควิด-19 โดยกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น[4]

ในระหว่างการระบาดทั่วของโควิด-19 อามาบิเอะกลายเป็นหัวข้อยอดนิยมในทวิตเตอร์ประเทศญี่ปุ่น ศิลปินมังงะ (เช่น ชิกะ อูมิโนะ, มาริ โอกาซากิ และโทชินาโอะ อาโอกิ) เผยแพร่ภาพอามาบิเอะแบบการ์ตูนลงในสื่อสังคม[5] กล่าวกันว่า บัญชีทวิตเตอร์ของโอโรจิ โดะ ร้านศิลปะด้านม้วนภาพของ โยไก เป็นบัญชีแรกที่ทวีต "มาตรการรับมือโคโรนาไวรัสใหม่" ในปลายกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020[6] บัญชีบอตของทวิตเตอร์ (amabie14) ได้รวบรวมภาพอามาบิเอะตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 2020 เป็นต้นมา[7]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. Murakami (2000) อ่านเป็น "6 เดือนจากปีปัจจุบัน (当年より六ヶ月)" (กล่าวใน Nagano (2005), p. 4) แต่ฉบับพิมพ์ของ Nagano (2005), p. 25 ประโยคนี้เขียนและอ่านเป็น "6 ปีจากปีปัจจุบัน (當年より六ヶ年)".

อ้างอิง

แก้
  1. Nagano (2005), pp. 24, 4–6.
  2. Yumoto, Kōichi (2005). Nihon genjū zusetsu 日本幻獣図説 [Japan imaginary beasts illustrated] (ภาษาญี่ปุ่น). Kawaide Shobo. pp. 71–88. ISBN 978-4-309-22431-2.{{cite book}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  3. Iwama, Riki (5 June 2020). "Amabie no shōtai wo otte (1): sugata mita mono, shi wo nogare rareru amabiko no hakken / Fukui" アマビエの正体を追って/1 姿見た者、死を逃れられる 海彦の発見 [In pursuit of amabie's identity (1): those who've seen its likeness eludes death..]. 毎日新聞.
  4. 厚生労働省『STOP! 感染拡大――COVID-19』2020年。
  5. "Plague-predicting Japanese folklore creature resurfaces amid coronavirus chaos".
  6. Alt, Matt (9 April 2020). "From Japan, a Mascot for the Pandemic". New Yorker. New York. สืบค้นเมื่อ 9 April 2020.
  7. https://www.npr.org/sections/coronavirus-live-updates/2020/04/22/838323775/in-japan-mythical-amabie-emerges-from-19th-century-folklore-to-fight-covid-19

บรรณานุกรม

แก้