อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข
อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข (เกิด 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2525) ชื่อเล่น แสตมป์ เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง เป็นชาวแขวงบางระมาด เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาสนใจด้านดนตรีตั้งแต่วัยเยาว์ โดยเริ่มต้นเล่นคีย์บอร์ดและกีตาร์[1] ในระหว่างการเรียนในมหาวิทยาลัย เขาได้มีโอกาสประพันธ์เพลงประกอบละคอนถาปัดเรื่องปริศนาร่วมกับเพื่อน และได้เข้าร่วมวงกล้วยไทยวงแนวนูเมทัลในตำแหน่งมือกีต้าร์ ต่อมาได้ย้ายไปอยู่วงเซเว่นธ์ซีนในฐานะนักร้องนำสังกัดค่ายเลิฟอีส
อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข | |
---|---|
อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข ในปี 2560 | |
เกิด | อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศิษย์เก่า | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
อาชีพ | นักร้อง |
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2545 – ปัจจุบัน |
คู่สมรส | จีริสุดา ศรีวัฒน์ |
อาชีพทางดนตรี | |
แนวเพลง | ป็อป, อคูสติก, ป็อปร็อก, โฟล์กร็อก, ร็อก, อัลเทอร์เนทีฟร็อก , นูเมทัล |
เครื่องดนตรี | กีต้าร์ ร้อง |
ค่ายเพลง | เลิฟอีส (2548-2560) บีอีซี-เทโร มิวสิค (2556-2560) 123records (2560-ปัจจุบัน) Toy's Factory(ในประเทศญี่ปุ่น) เอเว็กซ์กรุป(ในประเทศญี่ปุ่น) |
อดีตสมาชิก | กล้วยไทย เซเว่นธ์ซีน |
เว็บไซต์ | www |
แสตมป์มีผลงานอัลบั้มเดี่ยวอัลบั้มแรกชื่อ มิลเลียนเวส์ทูไรท์พาร์ต 1 ออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2551 และได้มีผลงานเพลงเดี่ยวออกมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2555 เขาได้รับเลือกให้เป็นโค้ชในรายการ เดอะวอยซ์ไทยแลนด์ ทำให้ชื่อของเขาเป็นที่รู้จักในวงกว้างในประเทศไทย และได้จัดคอนเสิร์ต "แสตมป์ฟ้าผ่า" ที่อิมแพ็ค อารีน่า ในปี พ.ศ. 2558 ในที่สุด หลังจากนั้นเขาได้หยุดพักการออกอัลบั้มไปในระยะเวลาหนึ่ง
ในปี พ.ศ. 2560 แสตมป์ได้เปิดค่ายเพลงของตัวเองชื่อว่า 123Records (นึง-ส่อง-ซั่ม เรคคอร์ดส์) พร้อมกับออกอัลบั้มภาษาอังกฤษอัลบั้มแรกในชีวิต STAMPSTH ได้ไปทัวร์โปรโมตอัลบั้มนี้ที่ประเทศญี่ปุ่น และได้กลับมาออกผลงานเพลงไทยอีกครั้ง จนกระทั่งในปี พศ. 2562 แสตมป์ได้เซ็นสัญญาเป็นศิลปินในสังกัดของ Toy's Factory ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น และได้ร่วมแสดงใน SummerSonic 2019 ก่อนที่จะทัวร์เพื่อโปรโมทอัลบั้มเมเจอร์ในญี่ปุ่นที่ชื่อว่า Ekamai Dream 1
ประวัติ
แก้ชีวิตส่วนตัว
แก้แสตมป์ อภิวัชร์ จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนบางกะปิ และระดับปริญญาตรี สาขาออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มสนใจงานเพลงจากการสร้างสรรค์ผลงานเพลงประกอบละครเวทีสถาปัตย์ฯ (ละคอนถาปัด) และยังรวมตัวกับเพื่อน ๆ ตั้งวงดนตรี ส่งเพลงไปที่ 104.5 Fat Radio ซึ่งเป็นจุดพลิกผันให้เขาได้พบเจอกับพี่ ๆ ในวงการเพลง และมีโอกาสนำผลงานออกสู่สายตาประชาชน มีผลงานอัลบั้มแรกในนามของวงเซเว่นธ์ซีน
แสตมป์ อภิวัชร์ สมรสกับสาวนอกวงการชื่อ จีริสุดา ศรีวัฒน์ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2558[2] หลังทั้งคู่คบหาดูใจกันมาเป็นเวลากว่า 10 ปี
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การทำงานในวงการเพลง
แก้นอกจากการเป็นนักร้องแล้วอภิวัชร์ยังเป็นนักแต่งเพลงอีกด้วย เขาเริ่มแต่งเพลงให้กับศิลปินมากมายหลังจากเรียนจบ จนในที่สุดเขาได้รับรางวัลแรกในชีวิตคือ รางวัลสีสันอวอร์ด สาขาเพลงยอดเยี่ยม จากเพลง น้ำตา ของธงไชย แมคอินไตย์ เรื่อยมาจนถึง เพลง เงินล้าน จากวงโมเดิร์นด็อก เพลง ราตรีสวัสดิ์ ของฟักกลิ้งฮีโร่ เพลง ฝัน หวาน อาย จูบ จากภาพยนตร์ และที่สำคัญที่สุด เพลง ความคิด จากอัลบั้มเดี่ยวของเขา ซึ่งกลายเป็นเพลงยอดนิยมและได้รับรางวัลเพลงยอดเยี่ยมจากหลายสถาบัน จนปัจจุบันเขาได้กวาดรางวัลทางด้านดนตรีไปแล้วกว่า 44 รางวัล จากเกือบทุกสถาบันในประเทศ
หลังจากแต่งเพลงให้คนอื่นอยู่เป็นเวลานาน แสตมป์ก็ได้ออกอัลบั้มเดี่ยวเป็นของตัวเอง โดยใช้ชื่อว่า The Million Ways to Write Part I เป็นสไตล์อะคูสติกส์-ร็อก และอัลบั้มที่สองชื่อ เพลงที่นานมาแล้วไม่ได้ฟัง, อีพี "ทุกคำที่เธอเอ่ยคือบทกวี ", อัลบั้ม "SuperMarket " จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2555 เขาได้รับเลือกให้เป็นโค้ชในรายการ เดอะวอยซ์ไทยแลนด์ ทำให้ชื่อของเขาเป็นที่รู้จักในวงกว้างในประเทศไทย และได้ออกอัลบั้มที่ชื่อว่า "Sci-Fi" ได้จัดคอนเสิร์ต "แสตมป์ฟ้าผ่า" ที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี ในปี พ.ศ. 2558 หลังจากนั้นเขาได้หยุดพักการออกอัลบั้มไปในระยะเวลาหนึ่ง
หลังจากห่างหายไปถึงสองปี แสตมป์ปล่อยซิงเกิ้ล "สักวินาที" เมื่อต้นมีนาคมปี 2560 ภายใต้สังกัดค่ายเพลงของตัวเองที่ชื่อว่า 12sumrecord ( นึง - ส่อง - ซั่ม เรคคอร์ดส์ ) พร้อมกับออกอัลบั้มภาษาอังกฤษอัลบั้มแรกในชีวิต STAMPSTH และได้ไปทัวร์โปรโมตอัลบั้มนี้ที่ประเทศญี่ปุ่น หลังจากนั้นเขากลับมาออกผลงานเพลงไทยอีกครั้ง จนกระทั่งในปี พศ. 2562 แสตมป์ได้เซ็นสัญญาเป็นศิลปินในสังกัดของ Toy's Factory ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น และได้ร่วมแสดงใน SummerSonic 2019 ก่อนที่จะทัวร์เพื่อโปรโมทอัลบั้มเมเจอร์ในญี่ปุ่นที่ชื่อว่า Ekamai Dream 1
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ผลงานเพลง
แก้บทความหลัก: รายชื่อผลงานเพลงของอภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข และดูเพิ่มเติม: เซเว่นธ์ซีน
- อัลบั้มไทย
- Million Ways to Write Part I (18 ธันวาคม 2551)
- เพลงที่นานมาแล้วไม่ได้ฟัง (28 กรกฎาคม 2553)
- ทุกคำที่เธอเอ่ยคือบทกวี (9 ตุลาคม 2553)
- Supermarket (4 มิถุนายน 2556)
- Sci-Fi (30 มิถุนายน 2557)
- SKY (5 เมษายน 2561)
- The Lost Songs (29 มกราคม 2564)
- Ekamai Dream 2 (14 มกราคม 2565)
- Piano Collection (2565)
- อัลบั้มญี่ปุ่น
- STH (26 เมษายน 2560)[3]
- Ekamai Dream 1 (7 สิงหาคม 2562)
- อัลบั้มรวมเพลง
- Stamp Songs (กุมภาพันธ์ 2556)
- Stamp Special Package E.P. 1 & 2 (9 ธันวาคม 2556)
- The Songlist from Stamp Sci-Fi National Tour 2014 (5 กรกฎาคม 2557)
- B - Side (6 กุมภาพันธ์ 2560)
ซิงเกิล
แก้- เกี่ยวกับเธอ (ตุลาคม 2556)
- Game Over (มีนาคม 2559) (ร่วมกับ YMCK)
- 8 วินาที (พฤศจิกายน 2561) (ร่วมกับ เดอะทอยส์)
- ครัวซองอัลมอนด์ (God Fail) (พฤษภาคม 2562) (ร่วมกับ Season Five, Fongbeer)
- Bangkok Summer (มิถุนายน 2562)
- 1 ใน 10,000 เหตุผล (กรกฎาคม 2562) (ร่วมกับ ฟองเบียร์ และ SIRPOPPA)
- Do it all again (กันยายน 2562) (ร่วมกับ Mi Sandi)
- ครึ่งบน (50%) (มีนาคม 2563)
- ทะเลในความคิด (มิถุนายน 2563) (ร่วมกับ The Photo Sticker Machine)
- ジェイルハウス (Jailhouse) (กันยายน 2563) (ร่วมกับ SKY-HI)
- It takes two (พฤศจิกายน 2563)
- HIDE YOU (กุมภาพันธ์ 2564) (ร่วมกับ Chelmico6)
- ฝันร้าย/ฝันดี (Move On) (สิงหาคม 2564) (ร่วมกับ Awesome City Club)
- NEPHOPHOBIA (ธันวาคม 2564) (ร่วมกับ THE CHARM PARK)
- ฉันแล้วหนึ่ง (พฤศจิกายน 2564) (ร่วมกับ TangBadVoice)
- 愛のせいで (It Could Be Love) (มิถุนายน 2565) (ร่วมกับ Aile The Shota)
- Nobody Knows (Japanese ver.) (สิงหาคม 2565) (ร่วมกับ Taichi Mukai)
- หลบฟ้า (NEPHOPHOBIA) (กันยายน 2565)
- เจ้าอารมณ์ (พฤศจิกายน 2565) (ร่วมกับ เปาวลี พรพิมล)
- นายทำอะไรลงไป (มกราคม 2566)
- เอเลี่ยน (พฤษภาคม 2566)
- SAVE (สิงหาคม 2566) (ร่วมกับ มารี เออเจนี เลอเลย์)
- ก็แค่เขาไม่รักเราแล้ว (พฤศจิกายน 2566)
- ขาด (Without me) (มกราคม 2567)
- JERI.CO (พฤษภาคม 2567)
ซิงเกิลรับเชิญ
แก้- วิธีใช้ (ตุลาคม 2556) (ร่วมกับ สิงโต นำโชค)
- ตัวอักษร (พฤศจิกายน 2558) (ร่วมกับ ฟร้องค์ แอร์ก็อตต์)
- ใช่มั้ย (กรกฎาคม 2560) (ร่วมกับ อุ้ย บุดดาเบลส และ นะ โพลีแคท)
- กำลังพัฒนา (มกราคม 2562) (ร่วมกับ เอ็ม ยศวัศ สิทธิวงค์ และ นายปัง ตันเต๊ก)
- ครัวซองอัลมอนด์ (พฤษภาคม 2562) (ร่วมกับ Season Five และ Fong beer)
- Don’t Worry Baby Be Happy (มกราคม 2563) (ร่วมกับ SKY-HI)
- จังหวะจะรัก Joyful Holiday Mix (ธันวาคม 2563) (ร่วมกับ Violette Wautier)
- ตั๋วเดินทางเที่ยวเดียว (เมษายน 2564) (ร่วมกับ วง KLUAYTHAI)
- เกลียด (เมษายน 2565) (ร่วมกับ ICEACE)
- ใครในเพลง (มีนาคม 2566) (ร่วมกับ MAIYARAP)
- คนที่คุณอาจรู้จัก (พฤษภาคม 2566) (ร่วมกับ guncharlie)
- วันนี้เมื่อปีที่แล้ว (สิงหาคม 2566) (ร่วมกับ Zom Marie)
- ใครจะมูฟออนได้ก่อนกัน (ตุลาคม 2566) (ร่วมกับ Earth Patravee)
- มือที่ 1 (Promise Ring) (ตุลาคม 2567) (ร่วมกับ Image Suthita)
เพลงพิเศษ
แก้- สดุดีมหาราชา (2556) - จัดทำขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษา
- ความสุข (2556) - จังหวะจะเดิน
- ปรับใจ (2558) - จัดทำขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปีการสวรรคตของสมเด็จย่า
- ใกล้รุ่ง (2559) - จัดทำขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เพลงอื่น ๆ
แก้- Funky Dance! (Thai Version) (2551)
- เพลงนี้เพื่อลานเล่นน้อง (2553)
- ภาพประทับใจ (2553) (ร่วมกับ บอย โกสิยพงษ์)
- ที่สุด (พฤษภาคม 2556) (ร่วมกับ บอย โกสิยพงษ์)
- ยิ้มให้เกินวันละ 2 ครั้ง (กรกฎาคม 2556)
- Flower (ธันวาคม 2557)
- เผลอ (กันยายน 2558) (ร่วมกับ เอก ธเนศ และ อิมเมจ สุธิตา)
- ขอเป็นดั่งดวงตา (2559) (ร่วมกับ ปาน ธนพร, มาเรียม เกรย์, สุนิตา ลีติกุล, อ๊อฟ ปองศักดิ์, บอย พีชเมกเกอร์)
ผลงานสื่ออื่น ๆ
แก้รายการโทรทัศน์
แก้- โค้ชรายการ เดอะวอยซ์ไทยแลนด์ (2555-2557)[4][5]
- โค้ชรายการ เดอะวอยซ์ ซีเนียร์ ไทยแลนด์ ซีซัน 1 (2562)
คอนเสิร์ตและทัวร์
แก้คอนเสิร์ตเดี่ยว
แก้ปี | ชื่อคอนเสิร์ต | วันแสดง | สถานที่แสดง | ศิลปินรับเชิญ | จำนวนรอบ |
---|---|---|---|---|---|
2556 | Stamp เกรียน Day | 16 มีนาคม | IMPACT Challenger Hall 1 (เมืองทองธานี) |
|
2 |
2557 | แสตมป์ ซูเปอร์แฟน มีตติ้ง “วันแห่งความเกรียน” | 12 มกราคม | เซ็นเตอร์พ้อยท์ สตูดิโอ ไทยแลนด์ สุขุมวิท 105 (ซ.ลาซาล) | 1 | |
Stamp Sci-fi National Tour 2014 | 4 กรกฎาคม | เซ็นทรัลพลาซา สุราษฎร์ธานี |
|
1 | |
6 กรกฎาคม | เซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ | 1 | |||
13 กรกฎาคม | เซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต | 1 | |||
19 กรกฎาคม | เซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี | 1 | |||
เปิดหมวก เปิดหู เปิดตา | 22 กรกฎาคม | Atrium 1st floor, เซ็นทรัลเวิลด์ | |||
2558 | ปาร์ตี้สีชมพู กับ แสตมป์ อภิวัชร์ | 31 พฤษภาคม | ลานวงปี ชั้น 1 ศูนย์การค้า แอมพาร์ค จุฬาฯ ซอย 22 | ||
แสตมป์ฟ้าผ่า | 19 กันยายน | IMPACT Arena เมืองทองธานี | 1 | ||
สก๊อต SMARTS Present Hitz Concert ตอน แสตมป์น้อยชิ้น | 8 พฤศจิกายน | เมืองไทย จีเอ็มเอ็มไลฟ์เฮาส์ ชั้น 8 CentralWorld | |||
2562 | HuaHin Songkran Party 2019 | 13 เมษายน | ลานด้านหน้าศูนย์การค้ามาร์เก็ตวิลเลจ หัวหิน | 2 | |
2565 | แสตมป์ ด้วยรักและแอบดี | 24 กันยายน | IMPACT Arena เมืองทองธานี | 1 | |
BUD LIVEHOUSE SPECIAL : Stamp B-Side Concert | 22-23 ตุลาคม | Lido Connect Hall 3 | 2 |
รางวัล
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ “แสตมป์” ผู้ชายคนนี้มีดี ที่ความรัก! - หนุ่มฮอต หนุ่มฮิพ
- ↑ "แต่งแล้วจ้า! แสตมป์ อภิวัชร์ - นิว จีริสุดา จูงมือเข้าสู่ประตูวิวาห์ เพื่อนพ้องน้องพี่ ร่วมงานคับคั่ง". music.trueid.net.
- ↑ "STAMP "STH"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-24. สืบค้นเมื่อ 2017-03-29.
- ↑ "The voice Thailand". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-29. สืบค้นเมื่อ 2012-11-16.
- ↑ 4 โค้ช กับลูกทีมเสียงดี(จริง) ใน The Voice Thailand
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- The Voice Thailand เก็บถาวร 2013-08-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Loveis
- Stamp Official Club