สัญลักษณ์การจัดประเภทตัวเรือของไทย

สัญลักษณ์การจัดประเภทตัวเรือของไทย คือสัญลักษณ์ในการจัดประเภทของเรือ (บางครั้งถูกเรียกว่า รหัสตัวเรือ หรือ หมายเลขตัวเรือ) ของกองทัพเรือไทย มีลักษณะะคล้ายคลึงกับสัญลักษณ์การจัดประเภทตัวเรือของกองทัพเรือสหรัฐ เพื่อระบุเรือตามประเภทของเรือและภารกิจย่อยของเรือประเภทนั้น ๆ ซึ่งนอกจากนี้ระบบนี้ยังคล้ายคลึงกับระบบหมายเลขชายธงที่ราชนาวีอังกฤษและกองทัพเรือในยุโรปและประเทศอื่น ๆ ในเครือจักรภพใช้งาน

สัญลักษณ์การจัดประเภทตัวเรือของเรือหลวงจักรีนฤเบศรคือ CVH-911

ประวัติ

แก้

สัญลักษณ์การจัดประเภทตัวเรือของไทย มีการใช้งานมาอย่างไม่เป็นทางการมาก่อนหน้านี้แล้วตามหลักนิยมของกองทัพเรือไทยที่ใช้การจัดกำลังตามแบบของกองทัพเรือสหรัฐ โดยยึดหลักตามแนวทางของหนังสือ Jane's Fighting Ships[1] ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 ได้มีการกำหนดประเภทของเรือในกองทัพเรือขึ้นโดยคณะทำงานพิจารณาและจัดทำเอกสารอ้างอิงของกองทัพเรือด้านยุทธการ กิจการพลเรือน และการสรรพาวุธ[1]

จากนั้นได้มีการกำหนดขึ้นตามระเบียบกองทัพเรือ ว่าด้วยการแบ่งประเภทของเรือหลวง พ.ศ. 2555 ซึ่งกำหนดมาเพื่อให้ครอบคลุมเรือทุกประเภทที่มีการใช้งานอยู่หรือมีแผนจะจัดหามาใช้งานในอนาคตของกองทัพเรือ โดยมีการระบุสัญลักษณ์การจัดประเภทตัวเรือไว้ในส่วนของภาคผนวกส่วนของอักษรย่อภาษาอังกฤษ รวมถึงให้ยกเลิกระเบียบกองทัพเรือว่าด้วยการแบ่งประเภทของเรือหลวง พ.ศ. 2541 ซึ่งในส่วนของตัวระเบียบที่ประกาศใช้นั้น มีเพียงการกำหนดประเภทและชื่อประเภทเรือรวมถึงเรือภายในแต่ละประเภท ไม่ได้มีการกำหนดอักษรย่อหรือสัญลักษณ์การจัดประเภทภาษาอังกฤษเป็นการเฉพาะบนส่วนของระเบียบ แต่มีระบุอยู่ในส่วนของภาคผนวก และให้อำนาจกรมยุทธการทหารเรือเป็นผู้พิจารณาในการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มลดประเภทของเรือ รวมถึงอักษรย่อทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษที่ใช้ตามระบบสัญลักษณ์การจัดประเภทตัวเรือ[2]

สำหรับการใช้งานสัญลักษณ์การจัดประเภทตัวเรือนอกเหนือไปจากที่ระบุไว้ในระเบียบฯ พ.ศ. 2555 โดยอ้างอิงตามสัญลักษณ์การจัดประเภทตัวเรือของกองทัพเรือสหรัฐ[3][4] โดยมีการใช้งานและเผยแพร่โดยทั้งกองทัพเรือเอง และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศ[5]และต่างประเทศ[6][4] เช่น ในเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร[4] และเรือฟริเกตชุดเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช[7]

รหัสการจัดประเภทตัวเรือ

แก้

เรือรบ

แก้
 
เรือหลวงจักรีนฤเบศร (CVH-911) คือเรือบรรทุกเครื่องบินของกองทัพเรือไทย
 
เรือหลวงนราธิวาส (OPV-512) คือเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง
 
เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช (FFG-471) คือเรือฟริเกต
 
เรือหลวงมันกลาง (LCU-782) คือเรือระบายพลขนาดใหญ่

เรือรบของกองทัพเรือไทย แบ่งออกเป็น 11 ประเภท ได้แก่

ลำดับที่ รหัสการจัดประเภท ประเภทของเรือ อักษรย่อ ประเภทของเรือ (ภาษาอังกฤษ) หมายเหตุ
เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์
1 CVH เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ บฮ. Helicopter Carrier [4]
เรือพิฆาต
2 DD เรือพิฆาต พฆ. Destroyer
เรือฟริเกต
3 FF เรือฟริเกต ฟก. Frigate
3.1 FFG เรือฟริเกต (อาวุธนำวิถี) ฟก. Frigate, Guided Missile [7][4][note 1]
เรือคอร์เวต
4 FS เรือคอร์เวต คว. Corvette [4]
เรือเร็วโจมตี
5 - เรือเร็วโจมตี รจ.
5.1 FAC (G) เรือเร็วโจมตี (อาวุธนำวิถี) รจอ. Fast Attack Craft, Guided Missile
5.2 FAC เรือเร็วโจมตี (ปืน) รจป. Fast Attack Craft
5.3 FAC (T) เรือเร็วโจมตี (ตอร์ปิโด) รจต. Fast Attack Craft, Torpedo
เรือดำน้ำ
6 - เรือดำน้ำ ด. -
6.1 SS เรือดำน้ำ (ธรรมดา) ด. Submarine
6.2 SSM เรือดำน้ำเล็ก ดล. Midget Submarine
เรือทุ่นระเบิด
7 เรือทุ่นระเบิด ทบ.
7.1 MCM เรือต่อต้านทุ่นระเบิด ตท. Mine Countermeasures Ship
7.1.1 MS เรือกวาดทุ่นระเบิด กท. Minesweeper
7.1.1.1 MSO เรือกวาดทุ่นระเบิดไกลฝั่ง กทก. Minesweeper, Ocean
7.1.1.2 MSC เรือกวาดทุ่นระเบิดใกล้ฝั่ง กทฝ. Minesweeper, Coastal
7.1.1.3 MSI เรือกวาดทุ่นระเบิดชายฝั่ง กทช. Minesweeper, Inshore
7.1.1.4 MLMS / MSB เรือกวาดทุ่นระเบิดน้ำตื้น กทต. Motor Launch Minesweeper/ Minesweeping Boat
7.1.2 MH เรือล่าทำลายทุ่นระเบิด ลท. Minehunter
7.1.2.1 MHC เรือล่าทำลายทุ่นระเบิดใกล้ฝั่ง ลทฝ. Minehunter, Coastal
7.1.2.2 MHI เรือล่าทำลายทุ่นระเบิดชายฝั่ง ลทช. Minehunter, Inshore
7.2 ML เรือวางทุ่นระเบิด วท. Minelayer
7.2.1 MLC เรือวางทุ่นระเบิดใกล้ฝั่ง วทฝ. Minelayer, Coastal
7.2.2 MLI เรือวางทุ่นระเบิดชายฝั่ง วทช. Minelayer, Inshore
7.3 MCS เรือสนับสนุนการต่อต้านทุ่นระเบิด สตท. Mine Countermeasures Support
เรือยกพลขึ้นบก
8 เรือยกพลขึ้นบก ยพ.
8.1 LCC เรือบัญชาการและสนับสนุนการยกพล บยพ. Amphibious Command and Support Ship
8.2 LPD เรือยกพลอู่ลอย ยพอ. Amphibious transport, dock
8.3 LST เรือยกพลขนาดใหญ่ ยพญ. Landing Ship, Tank
8.4 LSM เรือยกพลขนาดกลาง ยพก. Landing Ship, Medium
8.5 LSIL เรือยกพลขนาดเล็ก ยพล. Landing Ship, Infantry, Large
8.6 LCU เรือระบายพลขนาดใหญ่ รพญ. Landing Craft, Utility
8.7 LCM เรือระบายพลขนาดกลาง รพก. Landing Craft, Mechanical
8.8 LSSL เรือสนับสนุนการยกพล สยพ. Landing Ship Support Large
เรือตรวจการณ์
9 เรือตรวจการณ์ ตก.
9.1 OPV เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ตกก. Offshore Patrol Vessel
9.2 PG เรือตรวจการณ์ (ปืน) ตกป. Patrol Craft
9.3 PC เรือตรวจการณ์ (ปราบเรือดำน้ำ) ตกด. Patrol Craft, Antisubmarine
9.4 PGM เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ตกฝ. Coastal Patrol Craft
9.5 PCF เรือตรวจการณ์ชายฝั่งฝั่ง ตกก. Inshore Patrol Craft
เรือปฏิบัติการลำน้ำ
10 เรือปฏิบัติการลำน้ำ ปล.
10.1 PBR เรือเร็วตรวจการณ์ลำน้ำ รตล. River Patrol Boat
10.2 AB เรือจู่โจมลำน้ำ จล. Assault Boat
เรือปฏิบัติการพิเศษ
11 เรือปฏิบัติการพิเศษ ปพ.
11.1 LCVP เรือระบายพลขนาดเล็ก รพล. Landing Craft Vehicle Personnel
11.2 NSOC เรือปฏิบัติงานยุทธการนักทำลายใต้น้ำจู่โจม รยจ. Navy SEAL Operation Craft
11.3 APC เรือโจมตีลาดตระเวน รจว. Assault Patrol Craft
11.4 SSOC เรือประมง รปม. Supporting Special Operation Craft
11.5 HOC เรือปฏิบัติการความเร็วสูง รปส. High Speed Operation Craft

เรือช่วยรบ

แก้
 
เรือหลวงจิก (YW-842) คือเรือน้ำ สำหรับบรรทุกน้ำจืด
 
เรือหลวงพฤหัสบดี (AGOR-813) คือเรือสำรวจขนาดใหญ่

เรือช่วยรบของกองทัพเรือไทย แบ่งออกเป็น 8 ประเภท ได้แก่

ลำดับที่ รหัสการจัดประเภท ประเภทของเรือ อักษรย่อ ประเภทของเรือ (ภาษาอังกฤษ) หมายเหตุ
เรือส่งกำลังบำรุง
1 เรือส่งกำลังบำรุง สก.
1.1 AOR (H) เรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ สกญ. Replenishment Ship, Large
1.2 AOR (L) เรือส่งกำลังบำรุงขนาดกลาง สกก. Replenishment Ship, Medium
เรือน้ำมัน
2 YO / YOG เรือน้ำมัน นม. Fuel Barge / Fuel Barge (Gasolene)
เรือน้ำ
3 YW เรือน้ำ น. Water Barge
เรือลากจูง
4 เรือลากจูง ลจ.
4.1 YTB เรือลากจูงขนาดใหญ่ ลจญ. Harbour Tug, Large
4.2 YTM เรือลากจูงขนาดกลาง ลจก. Harbour Tug, Medium
4.3 YTL เรือลากจูงขนาดเล็ก ลจล. Harbour Tug, Small
เรือลำเลียง
5 เรือลำเลียง ลล.
5.1 AP เรือลำเลียงทหาร ลลท. Personnel Transport
5.2 AKL เรือลำเลียงพัสดุ ลลพ. Light Cargo Ship
5.3 AKS เรือเสบียง ลลส. Stores Ship [5][note 1]
เรือสำรวจ
6 เรือสำรวจ สร.
6.1 AGOR เรือสำรวจขนาดใหญ่ สรญ. Oceanographic Research Ship [5]
6.2 AGSC เรือสำรวจขนาดเล็ก สรฝ. Surveying Ship, Coastal [5]
เรือพี่เลี้ยงเรือดำน้ำ
7 AS เรือพี่เลี้ยงเรือดำน้ำ พลด. Submarine Tender
เรือใช้ในกิจการพิเศษอื่น ๆ
8 เรือใช้ในกิจการพิเศษอื่น ๆ
8.1 ABU เรือใช้งานเครื่องหมายทางเรือ งคร. Navigational Aids Service Ship / Buoy Tender [5]
8.2 AX เรือฝึก ฝ. Training Ship
8.3 YAC เรือพระที่นั่ง เรือพระที่นั่ง Royal Yacht

หมายเหตุ

แก้
  1. 1.0 1.1 มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย เช่น ในสื่อของกองทัพเรือ ในเครื่องแต่งกายของพลประจำเรือ ในสื่อมวลชน แต่ไม่มีระบุในระเบียบ ทร. ปี 2555

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 คณะทำงานพิจารณาและจัดทำ อทร.ด้านยุทธการ กิจการพลเรือน และการสรรพาวุธ (2541). เอกสารอ้างอิงของกองทัพเรือ หมายเลข 3504 ประเภทเรือในกองทัพเรือ เก็บถาวร 2023-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (navy.mi.th)
  2. ระเบียบกองทัพเรือ ว่าด้วยการแบ่งประเภทของเรือหลวง พ.ศ. 2555 เก็บถาวร 2023-01-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (navy.mi.th)
  3. SubLt.Wallopee. "fcsorm". fcsorm.dyndns.org.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 "สหรัฐฯ-ไทยเปิดฉากการฝึกปราบเรือดำน้ำ Guardian Sea - สถานทูตสหรัฐและสถานกงสุลในประเทศไทย". th.usembassy.gov.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 มาตรฐานงานช่าง กรมอู่ทหารเรือ. มอร. 200-0002-1148 การวิเคราห์การสั่นสะเทือนในเรือ. เก็บถาวร 2023-01-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กองทัพเรือ, หน้า 38-43
  6. "ไทย-สหรัฐฯ ร่วมการฝึกการัตประจำปี 2565 เพื่อยกระดับความร่วมมือทางทะเล - สถานทูตสหรัฐและสถานกงสุลในประเทศไทย". th.usembassy.gov.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. 7.0 7.1 ""ในหลวง-พระราชินี" ทรงประกอบพิธีเจิมเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เรือรบลำใหม่ของไทย". mgronline.com. 2019-10-16.