สงครามครูเสดครั้งที่ 1
สงครามครูเสดครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1096–1099) เริ่มต้นเป็นการแสวงบุญอย่างกว้างขวาง (ฝรั่งเศสและเยอรมนี) และจบลงด้วยปฏิบัติการนอกประเทศของทหารโดยทวีปยุโรปที่นับถือโรมันคาทอลิกเพื่อทวงแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ซึ่งถูกยึดในการพิชิตเลแวนต์ของมุสลิม (ค.ศ. 632–661) จนเป็นผลให้ยึดเยรูซาเลมได้เมื่อ ค.ศ. 1099 ในที่สุด สมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 ทรงเริ่มสงครามเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1095 โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อสนองต่อการอุทธรณ์ของจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 1 โคมเนนอสแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ ผู้ทรงขอให้อาสาสมัครจากทิศตะวันตกมาช่วยขับตุรกีเซลจุคจากอานาโตเลีย ไม่นานเป้าหมายเพิ่มเติมได้กลายมาเป็นวัตถุประสงค์หลักแทน คือ การพิชิตนครศักดิ์สิทธิ์เยรูซาเลมและแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ของคริสต์ศาสนิกชน และปลดปล่อยคริสต์ศาสนิกชนตะวันออกจากการปกครองของมุสลิม
สงครามครูเสดครั้งที่ 1 | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามครูเสด | |||||||||
การยึดเยรูซาเลมเป็นความสำเร็จในสงครามครูเสดครั้งที่ 1 | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
กำลัง | |||||||||
นักรบครูเสด:
ไบแซนไทน์: | ไม่ทราบ |
ระหว่างครูเสด อัศวิน ชาวนาและข้าติดที่ดินจากหลายชาติยุโรปตะวันตกเดินทางข้ามน้ำข้ามแผ่นดินไปยังกรุงคอนสแตนติโนเปิลก่อนแล้วมุ่งสู่เยรูซาเลม นักรบครูเสดมาถึงเยรูซาเลม โจมตีนคร และยึดได้ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1099 สังหารผู้อยู่อาศัยมุสลิม คริสต์ศาสนิกชนและยิวไปเป็นจำนวนมาก นักรบเหล่านี้ยังสถาปนาราชอาณาจักรเยรูซาเลม เคาน์ตีตริโปลี ราชอาณาจักรอันติโอค และเคาน์ตีเอเดสสา
เนื่องจากสงครามครูเสดครั้งที่ 1 ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับเยรูซาเลม นครซึ่งไม่เคยอยู่ภายใต้ภาวะครอบงำของคริสต์ศาสนิกชนมาถึง 461 ปี และกองทัพนักรบครูเสดปฏิเสธจะคืนดินแดนให้อยู่ในการควบคุมของจักรวรรดิไบแซนไทน์ สถานภาพของสงครามครูเสดครั้งที่ 1 ว่าเป็นการป้องกันหรือการรุกรานโดยสภาพจึงยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่
สงครามครูเสดครั้งที่ 1 เป็นการสนองส่วนหนึ่งของคริสต์ศาสนิกชนต่อการพิชิตดินแดนโดยมุสลิม และมีสงครามครูเสดครั้งที่ 2 ถึงครั้งที่ 9 ตามมา แต่สิ่งที่ได้มายืนยาวอยู่ไม่เกิน 200 ปี สงครามนี้ยังเป็นก้าวสำคัญก้าวแรกสู่การเปิดการค้าระหว่างประเทศอีกหนในทางตะวันตกนับแต่จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลาย
อ้างอิง
แก้- ↑ Nicolle 2003, pp. 21 and 32 .
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สงครามครูเสดครั้งที่ 1