ฟุตบอลทีมชาติอินเดีย

ฟุตบอลทีมชาติอินเดีย เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของประเทศอินเดีย อยู่ภายใต้การควบคุมของสหพันธ์ฟุตบอลอินเดีย และยังเป็นสมาชิกของสหพันธ์ฟุตบอลเอเชียใต้ ทีมชาติมีช่วงที่รุ่งเรืองระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1950-60 ภายใต้การคุมทีมของ Syed Abdul Rahim อินเดียได้เหรียญทองในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ปี 1951 และ 1962 และจบอันดับที่สี่ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1956

อินเดีย
Shirt badge/Association crest
ฉายาThe Blue Tigers
สมาคมสหพันธ์ฟุตบอลอินเดีย
สมาพันธ์ย่อยSAFF (เอเชียใต้)
สมาพันธ์เอเอฟซี (เอเชีย)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนIgor Štimac[1]
กัปตันสุนิล เฉตรี
ติดทีมชาติสูงสุดสุนิล เฉตรี (125)[2]
ทำประตูสูงสุดสุนิล เฉตรี (80)[2]
สนามเหย้าหลายแห่ง
รหัสฟีฟ่าIND
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 124 ลดลง 3 (20 มิถุนายน 2024)[3]
อันดับสูงสุด94[4] (กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996)
อันดับต่ำสุด173[5] (มีนาคม ค.ศ. 2015)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ก่อนประกาศเอกราช:
ธงชาติออสเตรเลีย ออสเตรเลีย 5–3 อินเดีย ธงชาติอินเดีย
(ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย; 3 กันยายน ค.ศ. 1938)[6]
หลังประกาศเอกราช:
ธงชาติอินเดีย อินเดีย 1–2 ฝรั่งเศส ธงชาติฝรั่งเศส
(ลอนดอน ประเทศอังกฤษ; 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1948)[7]
ชนะสูงสุด
ธงชาติออสเตรเลีย ออสเตรเลีย 1–7 อินเดีย ธงชาติอินเดีย
(ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย; 12 ธันวาคม ค.ศ. 1956)[8]
ธงชาติอินเดีย อินเดีย 6–0 กัมพูชา ธงชาติกัมพูชา
(นิวเดลี ประเทศอินเดีย; 17 สิงหาคม ค.ศ. 2007)[9]
แพ้สูงสุด
ธงชาติสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต 11–1 อินเดีย ธงชาติอินเดีย
(มอสโก สหภาพโซเวียต; 16 กันยายน ค.ศ. 1955)[10]
โอลิมปิกฤดูร้อน
เข้าร่วม4 (ครั้งแรกใน 1948)
ผลงานดีที่สุดรอบรองชนะเลิศ (1956)
เอเชียนคัพ
เข้าร่วม5 (ครั้งแรกใน 1964)
ผลงานดีที่สุดรองชนะเลิศ (1964)
ฟุตบอลชิงแชมป์เอเชียใต้
เข้าร่วม13 (ครั้งแรกใน 1993)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (1993, 1997, 1999, 2005, 2009, 2011, 2015, 2021, 2023)

อินเดียไม่เคยเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลโลก แม้ว่าจะเคยได้สิทธิ์เข้าแข่งขันแทนที่ทีมอื่นในกลุ่มที่ถอนตัวไปในปี 1950 แต่อินเดียก็ถอนตัวก่อนที่จะเปิดการแข่งขัน ทีมชาติอินเดียเข้าร่วมแข่งขันเอเชียนคัพ 3 ครั้ง ผลงานที่ดีที่สุดคือ อันดับรองชนะเลิศในปี 1964 อินเดียยังได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชียใต้ โดยชนะเลิศ 9 สมัย นับตั้งแต่มีการแข่งขันในปี ค.ศ. 1993

สถิติการแข่งขัน

แก้

ฟุตบอลโลก

แก้

อินเดียไม่เคยเข้าร่วมแข่งขันในฟุตบอลโลก[11] หลังจากที่ได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1947 อินเดียเคยผ่านรอบคัดเลือกในปี 1950 ภายหลังจากที่พม่า, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ถอนตัวในรอบคัดเลือก[11] อย่างไรก็ตาม อินเดียได้ถอนตัวก่อนที่การแข่งขันจะเริ่มต้นขึ้น เนื่องจากปัญหาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประเทศบราซิล[11] หลังจากที่ถอนตัว อินเดียไม่เคยเข้าร่วมแข่งขันรอบคัดเลือกอีกเลยในปี 1954-1982[12]

นับตั้งแต่รอบคัดเลือกปี 1986 เป็นต้นมา (ยกเว้นปี 1990) อินเดียเข้าร่วมการแข่งขันรอบคัดเลือก แต่ก็ยังไม่เคยผ่านเข้าไปเล่นรอบสุดท้าย[12]

ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก
ปี รอบ อันดับ Pld W D L GF GA Pld W D L GF GA
  1930 ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน
  1934
  1938
  1950 ผ่านรอบคัดเลือก แต่ถอนตัวจากการแข่งขัน ไม่มี
  1954 ถูกสั่งห้ามจากฟีฟ่า ไม่มี
  1958 ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน
  1962
  1966
  1970
  1974
  1978
  1982
  1986 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 6 2 3 1 7 6
  1990 ถอนตัวจากรอบคัดเลือก
  1994 8 1 1 6 8 22
  1998 3 1 1 1 3 7
    2002 6 3 2 1 11 5
  2006 6 1 1 4 2 18
  2010 2 0 1 1 3 6
  2014 2 0 1 1 2 5
  2018 10 2 1 7 7 18
  2022 8 1 4 3 6 7
      2026 6 1 2 3 3 7
ทั้งหมด 0/22 0 0 0 0 0 0 57 12 17 28 52 101

เอเชียนคัพ

แก้

อินเดียผ่านรอบคัดเลือกของเอเชียนคัพ 5 ครั้ง โดยแข่งขันครั้งแรกในปี 1964 ซึ่งจบด้วยอันดับรองชนะเลิศ นับเป็นผลงานที่ดีที่สุดในรายการนี้[13]

ปี รอบ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย
  1956 ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน
  1960 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  1964 รองชนะเลิศ 3 2 0 1 5 3
  1968 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  1972
  1976
  1980
  1984 รอบที่ 1 4 0 1 3 0 7
  1988 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  1992
  1996
  2000
  2004
        2007
  2011 รอบที่ 1 3 0 0 3 3 13
  2015 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  2019 รอบแบ่งกลุ่ม 3 1 0 2 4 4
  2023 รอบแบ่งกลุ่ม 3 0 0 3 0 6
ทั้งหมด 5/18 16 3 1 12 12 33

โอลิมปิกฤดูร้อน

แก้
โอลิมปิกฤดูร้อน
ปี ผลงาน อันดับ Pld W T L GF GA
19081936 ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน
  1948 รอบที่ 1 11th 1 0 0 1 1 2
  1952 รอบคัดเลือก 1 0 0 1 1 10
  1956 รอบรองชนะเลิศ 4th 3 1 0 2 5 9
  1960 รอบที่ 1 13th 3 0 1 2 3 6
19641988 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
1992 – ปัจจุบัน เป็นการแข่งขันของ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี
ทั้งหมด รอบรองชนะเลิศ 4 / 17 8 1 1 6 10 27

ผลงานอื่น ๆ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "AIFF appoints Igor Stimac as new men's senior national team coach". the-aiff.com. AIFF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2019. สืบค้นเมื่อ 15 May 2019.
  2. 2.0 2.1 Dey, Subrata. "India – Record international players". RSSSF. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 March 2019. สืบค้นเมื่อ 12 September 2019.
  3. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 20 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
  4. "India jump four spots to enter top 150 of FIFA men's rankings". Scroll. TheField Scroll. 3 March 2017. สืบค้นเมื่อ 3 March 2017.
  5. "India slip to 172 in latest FIFA rankings". The Indian Express. 3 March 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 March 2017. สืบค้นเมื่อ 3 March 2017.
  6. "India football team tour of Australia 1938". สืบค้นเมื่อ 2021-02-14.
  7. "India's first ever match as independent nation". 31 July 2018. สืบค้นเมื่อ 2021-02-14.
  8. "India's Melbourne magic". December 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2019. สืบค้นเมื่อ 2021-02-14.
  9. "India 6-0 win over Cambodia". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2017. สืบค้นเมื่อ 2021-02-14.
  10. "Soviet Union 11:1 India". eu-football.info. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2020. สืบค้นเมื่อ 2016-03-23.
  11. 11.0 11.1 11.2 Choudhury, Chandrahas (11 June 2014). "Blame India's World Cup Drought on the Shoes". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 30 May 2016.
  12. 12.0 12.1 "The Indian National Team's World Cup qualifying:". Indianfootball.de. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 มิถุนายน 2010.
  13. "Asian Nations Cup 1964". RSSSF.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้