ฟักทอง
ฟักทอง เป็นพืชชนิดหนึ่ง ใช้ทำได้ทั้งอาหารคาว ของหวาน และเป็นอาหารว่างได้ด้วย ปกติฟักทองเมื่อแก่จัดจะมีสีเหลืองอมส้ม เป็นพืชมีเถา ปลูกได้ทั่วไปทั้งในเขตร้อนและเขตหนาว ในทางพฤกษศาสตร์ จัดอยู่ในสกุล Cucurbita วงศ์ Cucurbitaceae เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา และแพร่กระจายไปทั่วโลก
ประวัติ
แก้โดยทั่วไปเชื่อว่าตระกูลสควอชมีจุดกำเนิดในอเมริกากลาง [1][2] แล้วแพร่กระจายไปทั่วโลกภายหลัง[3] กำเนิดมาจากแถบตะวันตกเฉียงใต้ของ อเมริกา ประเทศเม็กซิโก และทางตอนเหนือของอเมริกาใต้ ฟักทองเข้าสู่ญี่ปุ่นโดยพ่อค้าชาวโปรตุเกสเมื่อราว พ.ศ. 2083 ชาวกัมพูชาคิดว่าตนเองเป็นต้นกำเนิดแต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดเพราะว่าฟักทองนั้นแพร่หลายอยู่ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยการเดินทางของเรือเดินสมุทรโปรตุเกส ชาติยุโรปนำมาค้าขายติดเรือมาด้วยและยังขึ้นไปถึงตอนใต้ของจีนเกาะไต้หวัน ชื่อภาษาโปรตุเกสของสควอชคือ Cambodia abóbora (カンボジャ・アボボラ) และย่อลงในภาษาญี่ปุ่นเหลือเพียง kabocha(ทำให้คนกัมพูชาเข้าใจว่าตนเองเป็นต้นกำเนิด) บางบริเวณในญี่ปุ่นย่อเป็น "bobora" มีความหวานน้อย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
แก้ฟักทองเป็นไม้เถาเลื้อยไปตามดิน มีมือสำหรับยึดเกาะ ลำต้นอวบน้ำ ใบเดี่ยวรูปห้าเหลี่ยม มีขนทั้งสองด้าน ดอกสีเหลืองรูปกระดิ่ง ผลฟักทองมีด้วยกันหลายลักษณะ บางครั้งเป็นผลเกือบกลมก็มี แต่โดยทั่วไปเป็นรูปทรงกลมแป้น ผิวขรุขระเล็กน้อย เมื่อยังดิบเนื้อค่อนข้างแข็ง
ฟักทองแบ่งเป็นตระกูลหลักสองตระกูลคือ ตระกูลฟักทองอเมริกัน (pumpkin) ขนาดผลใหญ่ เนื้อยุ่ย กับตระกูลสควอช (Squash) ได้แก่ฟักทองไทยและฟักทองญี่ปุ่น[4] เปลือกแข็ง เนื้อแน่น ฟักทองไทยมีหลายสายพันธุ์ เช่น คางคกดำ คางคกลาย ศรีเมือง ข้องปลา สีส้ม รูปร่างกลมแป้น ผิวขรุขระเล็กน้อย ดิบเปลือกสีเขียวเข้ม เมื่อสุกจึงเป็นสีเหลืองอมส้ม ฟักทองญี่ปุ่น หรือกะโบะชะ (Kabocha) อยู่ในตระกูลสควอช (Squash) เช่นเดียวกับฟักทองไทย ผลเป็นทรงกลมขนาดเล็ก เนื้อแน่น รสหวานมัน
ฟักทองนำมาปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น พายฟักทอง ซุปฟักทอง เทมปุระ แกง กินกับน้ำพริก น้ำฟักทองคั้นสด ฟักทองผัดไข่ มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด เมล็ดฟักทองมีสารคิวเคอร์บิทีน ช่วยขับพยาธิตัวตืด ใช้เป็นอาหารว่าง น้ำมันจากเมล็ดฟักทองนิยมใช้ปรุงอาหารในยุโรปตะวันออกและตะวันออกกลาง ยอดฟักทองใช้รับประทานเป็นฝัก รากฟักทองนำมาต้มดื่มช่วยถอนพิษจากแมลงกัดต่อย [4]
ฟักทองมีกากใยสูง อุดมด้วยวิตามินเอและสารต่อต้านการผสมกับออกซิเจนกับเกลือแร่ และมี “กรดโพรไพโอนิก” กรดนี้ทำให้เซลล์มะเร็งให้อ่อนแอลง[5] ในเนื้อฟักทองมีแคโรทีนและแป้ง ใช้แต่งสีขนมเช่น ขนมฟักทอง ลูกชุบ โดยนำเนื้อนึ่งสุกมายีกับแป้งหรือถั่วกวน[6]
ประโยชน์และการใช้
แก้ฟักทองถือเป็นพืชในตระกูลมะระ ชนิดไม้เถาขนาดใหญ่ ผิวผลขณะยังอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะแล้วจะมีสีเขียวสลับเหลือง ผิวไม่เรียบขรุขระเปลือกมีลักษณะแข็งเนื้อในสีเหลือง มีเส้นใยอยู่ภายในเป็นสีเหลืองนิ่มพร้อมกับเมล็ดสีขาวแบนๆ ติดอยู่ ประโยชน์ของฟักทองนั้นมีมากมาย สามารถนำมาใช้กินบำรุงร่างกายและรักษาโรคได้ดี[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ Archaeobiology: Squash Seeds Yield New View of Early American Farming
- ↑ The Initial Domestication of Cucurbita pepo in the Americas 10,000 Years Ago
- ↑ Eastern North America as an independent center of plant domestication
- ↑ 4.0 4.1 ฟักทองทำอะไรก็อร่อย.กทม. อมรินทร์. 2554. หน้า 9-10
- ↑ http://www.thairath.co.th/news.php?section=technology&content=52513
- ↑ วันดี กฤษณพันธุ์. สมุนไพรสารพัดประโยชน์. กทม. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2538
- ↑ "ประโยชน์ของฟักทอง สรรพคุณทางยาเพื่อสุขภาพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-27. สืบค้นเมื่อ 2021-09-26.