พิธีสารเกียวโต (อังกฤษ: Kyoto Protocol) ต่อท้ายอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) กำหนดพันธกรณีผูกพันต่อประเทศอุตสาหกรรมให้ลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก UNFCCC เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งมีเป้าหมายเพื่อบรรลุ "เสถียรภาพความเข้มข้นของแก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศที่ระดับซึ่งจะป้องกันการรบกวนอันตรายจากน้ำมือมนุษย์กับระบบภูมิอากาศ"[8]

พิธีสารเกียวโต
พิธีสารเกียวโตต่อท้ายอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  ประเทศภาคผนวกฝ่าย B ที่มีเป้าหมายผูกพันในสมัยสอง
  ประเทศภาคผนวกฝ่าย B ที่มีเป้าหมายผูกพันในสมัยแรก แต่ไม่ใช่สมัยสอง
  ไม่ใช่ประเทศภาคผนวกฝ่าย B ที่ไม่มีเป้าหมายผูกพัน
  ประเทศภาคผนวกฝ่าย B ที่มีเป้าหมายผูกพันในสมัยแรก แต่ถอนออกจากพิธีสาร
  ประเทศที่ลงนามโดยไม่มีเจตนาให้สัตยาบันพิธีสาร
  รัฐสมาชิกและสังเกตการณ์ของสหประชาชาติที่ไม่เป็นสมาชิกพิธีสาร
วันลงนาม11 ธันวาคม 2540[1]
ที่ลงนามเกียวโต, ประเทศญี่ปุ่น
วันมีผล16 กุมภาพันธ์ 2548[1]
เงื่อนไข55 รัฐให้สัตยาบันต่ออนุสัญญา
วันหมดอายุ31 ธันวาคม 2555 (สมัยแรก)[2]
31 ธันวาคม 2563 (สมัยสอง)[3]
ผู้ลงนาม84[1] (สมัยลงนาม 2541-2542)
ภาคี192[4][5] (สหภาพยุโรป, หมู่เกาะคุก, นิวเว และรัฐสมาชิกสหประชาชาติทั้งหมด ยกเว้นอันดอร์รา, แคนาดา, เซาท์ซูดาน และสหรัฐใน 2563)
ผู้เก็บรักษาเลขาธิการสหประชาชาติ
ภาษาอาหรับ, จีนแมนดาริน, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, รัสเซีย และสเปน
ข้อความทั้งหมด
Kyoto Protocol ที่ วิกิซอร์ซ
การต่ออายุพิธีสารเกียวโต (2555–2563)
การแก้ไขโดฮาในพิธีสารเกียวโต
การยอมรับการแก้ไขโดฮา
  รัฐที่ลงนาม
  สมาชิกในพิธีสารเกียวโตที่ไม่ลงนาม
  รัฐที่ไม่ใช่สมาชิกในพิธีสารเกียวโต
ประเภทการแก้ไขสนธิสัญญา
วันร่าง8 ธันวาคม 2555
ที่ลงนามโดฮา, ประเทศกาตาร์
วันมีผล31 ธันวาคม 2563[6]
เงื่อนไขรัฐสมาชิกยอมรับ 144 ประเทศ
วันหมดอายุ31 ธันวาคม 2563[7]
ผู้ให้สัตยาบัน147[6]
ข้อความทั้งหมด
Doha Amendment to the Kyoto Protocol ที่ วิกิซอร์ซ

พิธีสารเกียวโตมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2540 ในเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น และมามีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 จนถึงเดือนกันยายน 2554 มี 191 รัฐลงนามและให้สัตยาบันพิธีสารฯ[9] สหรัฐอเมริกาลงนามแต่มิได้ให้สัตยาบันพิธีสารฯ และแคนาดาถอนตัวจากพิธีสารฯ ในปี 2554[10] รัฐสมาชิกสหประชาชาติอื่นซึ่งมิได้ให้สัตยาบันพิธีสารฯ ได้แก่ อัฟกานิสถาน อันดอร์ราและเซาท์ซูดาน

ภายใต้พิธีสารฯ 37 ประเทศอุตสาหกรรม[11] และประชาคมยุโรปในขณะนั้น[12] ("ภาคีภาคผนวกที่ 1") ผูกมัดตนเองให้จำกัดหรือลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกสี่ชนิด (คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์และซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์) และแก๊สสองกลุ่ม (ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอนและเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน)[13] รัฐสมาชิกทุกรัฐให้พันธกรณีทั่วไป[14] การจำกัดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกนี้ไม่รวมการปล่อยจากการบินและการเดินเรือระหว่างประเทศ[15]

ที่การเจรจา ประเทศภาคผนวกที่ 1 ตกลงร่วมกันจะลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 5.2 ในระยะปี 2551-2555 เป็นสัดส่วนกับการปล่อยแก๊สเรือนกระจกต่อปีในปีฐาน ซึ่งโดยปกติใช้ปี 2533 เนื่องจากสหรัฐอเมริกามิได้ให้สัตยาบันในสนธิสัญญา การปล่อยแก๊สเรือนกระจกร่วมกันของประเทศภาคผนวกที่ 1 พิธีสารเกียวโตลดลงจากต่ำกว่าปีฐานร้อยละ 5.2 เหลือร้อยละ 4.2[16]: 26 

ระดับการปล่อยในปี 2533 มาตรฐานที่รับรองโดยการประชุมภาคี UNFCCC (decision 2/CP.3) คือค่าของ "ศักยภาพโลกร้อน" (global warming potential) ซึ่งคำนวณแก่รายงานการประเมินฉบับที่สองของ IPCC[17] ตัวเลขเหล่านี้ถูกใช้เพื่อเปลี่ยนการปล่อยแก๊สเรือนกระจกหลายชนิดเป็นค่าสมมูลคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้เมื่อคำนวณจากแหล่งและแหล่งกักเก็บ (sink) ทั้งหมด

พิธีสารฯ อนุญาตให้มี "กลไกยืดหยุ่น" หลายข้อ เช่น การค้าขายแลกเปลี่ยนแก๊สเรือนกระจก กลไกการพัฒนาที่สะอาด และการดำเนินการร่วมกันเพื่อให้ประเทศภาคผนวกที่ 1 สามารถรักษาการจำกัดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกโดยการซื้อเครดิตลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกจากที่อื่น ผ่านการแลกเปลี่ยนทางการเงิน โครงการซึ่งลดการปล่อยในประเทศนอกภาคผนวกที่ 1 จากประเทศอื่นในภาคผนวกที่ 1 หรือจากประเทศภาคผนวกที่ 1 ซึ่งมีเงินช่วยเหลือเกิน

ประเทศภาคผนวกที่ 1 แต่ละประเทศถูกกำหนดให้ต้องส่งรายงานประจำปีแสดงบัญชีการปล่อยแก๊สเรือนกระจกจากน้ำมือมนุษย์จากแหล่งต่าง ๆ และการนำออกจากแหล่งกักเก็บภายใต้ UNFCCC และพิธีสารเกียวโต ประเทศเหล่านี้เสนอชื่อบุคคลเพื่อสร้างและจัดการบัญชีแก๊สเรือนกระจกของประเทศนั้น ๆ เรียกว่า "หน่วยงานผู้มีอำนาจของรัฐ" (designated national authority) แทบทุกประเทศนอกภาคผนวกที่ 1 ยังได้ตั้งหน่วยงานผู้มีอนำาจของรัฐเพื่อจัดการข้อผูกมัดตามพิธีสารเกียวโตด้วย หรือโดยเฉพาะ "ขบวนการกลไกพัฒนาที่สะอาด" ซึ่งกำหนดว่าโครงการแก๊สเรือนกระจกใดที่ต้องการเสนอเพื่อให้ได้รับมอบอำนาจจากคณะกรรมการบริหารกลไกการพัฒนาที่สะอาด

ที่การประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่โดฮาในปี 2555 ภาคีพิธีสารเกียวโต[18] ตกลงระยะผูกมัดการลดการปล่อยที่สองตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ถึง 31 ธันวาคม 2563 ซึ่งเกิดขึ้นในรูปของการแก้ไขพิธีสารฯ[19][20][21] 37 ประเทศซึ่งมีเป้าหมายผูกพันในระยะผูกมัดที่สอง ได้แก่ ออสเตรเลีย รัฐสมาชิกสหภาพยุโรปทุกรัฐ เบลารุส โครเอเชีย ไอซ์แลนด์ คาซัคสถาน นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์และยูเครน[18] เมื่อรวมกันแล้ว ประเทศเหล่านี้จะลดการปล่อยร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับระดับเมื่อปี 2533 ระหว่างปี 2556-2563[18] เป้าหมายอาจปรับเพิ่มขึ้นในปี 2557[18][22] เป้าหมายการปล่อยที่ระบุไว้ในระยะผูกมัดที่สองจะมีผลต่อการปล่อยแก๊สเรือนกระจกของโลกราวร้อยละ 15[23][20] ภาคีภาคผนวกที่ 1 หลายรัฐซึ่งเข้าร่วมในพิธีสารเกียวโตรอบแรกมิได้รับเป้าหมายใหม่ในระยะผูกมัดที่สอง ได้แก่ ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และรัสเซีย ภาคีภาคผนวกที่ 1 อื่นซึ่งไม่มีเป้าหมายรอบสอง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (ซึ่งไม่เคยเป็นสมาชิกของพิธีสารฯ) และแคนาดา (ซึ่งถอนตัวจากพิธีสารเกียวโต มีผลบังคับปี 2555)[24][22]

เป้าหมาย

แก้

กลุ่มประเทศอุตสาหกรรม (ตามภาคผนวก 1) ลดปริมาณการปล่อยแก๊สเรือนกระจก ซึ่งประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ ก๊าซในกลุ่มไฮโดรฟลูโอโรคาร์บอน (HFCs) และเปอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs) ในปี พ.ศ. 2553 ลง 5.2% เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2533..

กลไกตามพิธีสารเกียวโต

แก้

พิธีสารเกียวโตมี 3 กลไกที่มุ่งจะช่วยให้ประเทศพัฒนาแล้วบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกได้ ได้แก่

ประเทศในภาคผนวก 1

แก้

ประเทศในภาคผนวก 1 คือ กลุ่มประเทศอุตสาหกรรม เช่น สหภาพยุโรป แคนาดา รัสเซีย ญี่ปุ่นเป็นต้น ประเทศในภาคผนวก 1 ส่วนใหญ่ให้สัตยาบันแล้ว แต่ยังคงมีประเทศที่ลงนามในสัญญาแต่ยังไม่มีการให้สัตยาบัน คือสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย ทำให้เป็นที่วิตกกังวลกันว่าการดำเนินการจะไม่ได้ผลเนื่องจากประเทศที่ปล่อยแก๊สเรือนกระจกมากที่สุดอย่างสหรัฐอเมริกานั้น ยังไม่มีทีท่าว่าสภาคองเกรสจะให้สัตยาบัน โดยให้เหตุผลว่าจะกระทบอุตสาหกรรมของประเทศ

พิธีสารเกียวโตกับประเทศไทย

แก้

ประเทศไทยเป็นประเทศนอกภาคผนวก 1 ซึ่งไม่มีผลบังคับประเทศไทยซึ่งได้ให้สัตยาบันต่อพิธีสารเกียวโตแล้วเมื่อ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2545 เป็นเรื่องของกลไกการพัฒนาที่สะอาดซึ่งเราสามารถเลือกร่วมโครงการได้ตามความสมัครใจ โดยมีสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหลักแห่งชาติ (National Focal Point) ของอนุสัญญาและพิธีสาร

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 "Status of ratification". UNFCC Homepage. สืบค้นเมื่อ 5 June 2012.
  2. "Kyoto Protocol on the United Nations Framework Convention on Climate Change" (PDF). United Nations.
  3. "What is the Kyoto Protocol?". UNFCCC.
  4. "Status of Ratification". unfccc.int. United Nations Framework Convention on Climate Change.
  5. "7 .a Kyoto Protocol to the United Nations Framework Convention on Climate Change". UN Treaty Database. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2018. สืบค้นเมื่อ 27 November 2014.
  6. 6.0 6.1 "7 .c Doha Amendment to the Kyoto Protocol". UN Treaty Database. สืบค้นเมื่อ 19 April 2015.
  7. "Nigeria, Jamaica bring closure to the Kyoto Protocol era, in last-minute dash". Climate Change News. 2 October 2020.
  8. "Article 2". The United Nations Framework Convention on Climate Change. สืบค้นเมื่อ 15 November 2005. Such a level should be achieved within a time-frame sufficient to allow ecosystems to adapt naturally to climate change, to ensure that food production is not threatened and to enable economic development to proceed in a sustainable manner
  9. "Status of Ratification of the Kyoto Protocol". United Nations Framework Convention on Climate Change. สืบค้นเมื่อ 15 August 2011.
  10. "Canada under fire over Kyoto protocol exit". BBC News. 13 December 2011.
  11. UNFCCC, Kyoto Protocol, UNFCCC
  12. United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC) (2011), Kyoto Protocol, UNFCCC
  13. Grubb 2003, p. 147
  14. Grubb & Depledge 2001, p. 269
  15. Adam, David (2 December 2007), "UK to seek pact on shipping and aviation pollution at climate talks", The Guardian
  16. Olivier, J.G.J.; และคณะ (21 September 2011), Long-term trend in global CO
    2
    emissions; 2011 report
    (PDF), The Hague, Netherlands: PBL Netherlands Environmental Assessment Agency; Institute for Environment and Sustainability (IES) of the European Commission’s Joint Research Centre (JRC), ISBN 978-90-78645-68-9, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-12-21, สืบค้นเมื่อ 2013-01-05
    PBL publication number 500253004. JRC Technical Note number JRC65918.
  17. "Methodological issues related to the Kyoto protocol" (PDF). Report of the Conference of the Parties on its third session, held at Kyoto from 1 to 11 December 1997, United Nations Framework Convention on Climate Change. 25 March 1998. สืบค้นเมื่อ 13 February 2010.
  18. 18.0 18.1 18.2 18.3 Figueres, C. (15 December 2012), "Environmental issues: Time to abandon blame-games and become proactive - Economic Times", The Economic Times / Indiatimes.com, Times Internet, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-04, สืบค้นเมื่อ 2012-12-18
  19. Ritter, K. and M. Casey. "UN conference adopts extension of Kyoto accord". CTPost. สืบค้นเมื่อ 8 December 2012.[ลิงก์เสีย]
  20. 20.0 20.1 Harrabin, R. (8 December 2012), "UN climate talks extend Kyoto Protocol, promise compensation", BBC News
  21. Harvey, F. (8 December 2012), "Doha climate change deal clears way for 'damage aid' to poor nations", The Observer, London, UK
  22. 22.0 22.1 UNFCCC. Conference of the Parties serving as the meeting of the Parties to the Kyoto Protocol (CMP) (8 December 2012), Outcome of the work of the Ad Hoc Working Group on Further Commitments for Annex I Parties under the Kyoto Protocol. Draft decision proposed by the President (EN). Notes: Agenda item 4: Report of the Ad Hoc Working Group on Further Commitments for Annex I Parties under the Kyoto Protocol. Meeting: Conference of the Parties serving as the meeting of the Parties to the Kyoto Protocol (CMP), Eighth session, 26 November - 7 December 2012, Doha, Qatar. FCCC/KP/CMP/2012/L.9 (PDF), Geneva, Switzerland: United Nations Office, pp.6-7. Other languages available.
  23. K Ritter and M Caset (8 December 2012). "UN Climate Conference: Kyoto Protocol Extended At Doha, Qatar Talks". Huffington Post. สืบค้นเมื่อ 25 December 2012.
  24. Alister Doyle and Barbara Lewis. "UPDATE 3-Doha climate talks throw lifeline to Kyoto Protocol". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-09. สืบค้นเมื่อ 12 December 2012.

บรรณานุกรม

แก้

อ่านเพิ่ม

แก้
เศรษฐกิจ

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้