พลุแฟลร์ (อังกฤษ: flare ซึ่งบางครั้งเรียกว่า fusee) เป็นไพโรเทคนิคประเภทหนึ่งที่ก่อแสงจ้าหรือความร้อนสูงโดยไม่เกิดการระเบิด พลุแฟลร์ใช้สำหรับส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ, การส่องแสง หรือการกระทำตอบโต้เกี่ยวกับการป้องกันในการใช้ประโยชน์ทางพลเรือนและการทหาร พลุแฟลร์อาจเป็นดอกไม้เพลิงภาคพื้น, ดอกไม้เพลิงโพรเจกไทล์ หรือที่ได้ถูกแขวนร่มชูชีพเพื่อให้มีเวลาส่องสว่างนานสูงสุดในพื้นที่ขนาดใหญ่ ส่วนดอกไม้เพลิงโพรเจกไทล์อาจถูกทิ้งจากเครื่องบิน, ยิงออกจากจรวดหรือปืนใหญ่ หรือแท่งยิงแบบมือถือ

พลุแฟลร์ส่องสว่างที่ใช้ในระหว่างการฝึกซ้อมทางทหาร

ประวัติ

แก้

การใช้ดินปืนเพื่อจุดประสงค์ในการส่งสัญญาณที่บันทึกไว้ที่เก่าแก่ที่สุดคือ 'พลุส่งสัญญาณระเบิด' ที่ราชวงศ์ซ่งของจีนใช้เมื่อราชวงศ์หยวนนำโดยชาวมองโกลปิดล้อมหยางโจวในปี ค.ศ. 1276[1] ระเบิดเปลือกนุ่มเหล่านี้ กำหนดเวลาให้ระเบิดกลางอากาศ ซึ่งถูกนำมาใช้เพื่อส่งข้อความไปยังกองทหารในระยะไกล การเอ่ยถึงพลุส่งสัญญาณระเบิดอีกครั้งหนึ่งปรากฏในข้อความระบุช่วงปี ค.ศ. 1293 ที่ขอการเก็บรวบรวมจากผู้ที่ยังเก็บไว้ในมณฑลเจ้อเจียง[1] ส่วนปืนสัญญาณปรากฏในเกาหลีราวปี ค.ศ. 1600 ซึ่งหวูอีตูฟู่ทงจื้อ (Wu I Thu Phu Thung Chih) หรือสารานุกรมทหารมีภาพประกอบ (Illustrated Military Encyclopedia) ได้เขียนไว้ในปี ค.ศ. 1791 โดยแสดงให้เห็นปืนสัญญาณในภาพประกอบ[2]

เคมี

แก้
 
การเผาไหม้พลุแฟลร์ถนนสามจุด
 
ปืนพกยิงพลุธรรมดา รุ่นนี้ใช้พลุแฟลร์ 26.5 มม. (ผลิตโดยพาเทลบอลลิสติกส์)

พลุแฟลร์ผลิตแสงผ่านการเผาไหม้ขององค์ประกอบดอกไม้ไฟ ส่วนผสมมีหลากหลาย แต่มักขึ้นอยู่กับสตรอนเชียมไนเตรต, โพแทสเซียมไนเตรต หรือโพแทสเซียมเปอร์คลอเรต และผสมกับเชื้อเพลิง เช่น ชาร์โคล, ซัลเฟอร์, ขี้เลื่อย, อะลูมิเนียม, แมกนีเซียม หรือเรซินโพลิเมอร์ที่เหมาะสม[3] พลุแฟลร์อาจมีสีได้จากการรวมของสีดอกไม้ไฟ ส่วนพลุแฟลร์แคลเซียมใช้ใต้น้ำเพื่อให้แสงสว่างวัตถุที่จมอยู่ใต้น้ำ

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Joseph Needham (1986). Science and Civilisation in China: The Gunpowder Epic. Cambridge University Press. p. 169. ISBN 978-0-521-30358-3.
  2. Needham (1986), p. 331.
  3. "What is in road flares?". สืบค้นเมื่อ 2009-01-16.

หนังสืออ่านเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พลุแฟลร์