พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช
เรืออากาศเอก[1] พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช (19 สิงหาคม พ.ศ. 2465 – 15 กันยายน พ.ศ. 2533) มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าวรานนท์ธวัช เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย และระวี จาตุรจินดา
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช | |
---|---|
พระวรวงศ์เธอ ชั้น 5 พระองค์เจ้าชั้นตรี | |
ประสูติ | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2465 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม หม่อมเจ้าวรานนท์ธวัช |
สิ้นพระชนม์ | 15 กันยายน พ.ศ. 2533 (68 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พระราชทานเพลิง | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2533 พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาส |
พระชายาและหม่อม |
|
พระบุตร |
|
ราชสกุล | จุฑาธุช |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย |
พระมารดา | ระวี จาตุรจินดา |
ศาสนา | ศาสนาพุทธ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | กองทัพอากาศไทย |
ชั้นยศ | เรืออากาศเอก |
พระประวัติ
แก้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย และระวี จาตุรจินดา (สกุลเดิม ไกยานนท์) ประสูติเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2465 เมื่อประสูติดำรงพระยศที่ "หม่อมเจ้าวรานนท์ธวัช" มีเชษฐภคินีต่างหม่อมมารดาหนึ่งองค์ คือ หม่อมเจ้าสุทธสิริโสภา
เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกหม่อมเจ้าอันเป็นพระโอรสธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้าซึ่งพระชนนีทรงศักดิ์ชั้นสมเด็จ ซึ่งมารดามิได้เป็นเจ้าขึ้นดำรงพระยศเป็น "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า"[2] หม่อมเจ้าสุทธสิริโสภาและหม่อมเจ้าวรานนท์ธวัช จึงมีพระยศขึ้นเป็น "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" พร้อมกัน
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช ทรงเริ่มการศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์[3] ก่อนตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไปยังประเทศอังกฤษในปี พ.ศ. 2476 เพื่อศึกษาต่อที่โรงเรียนฮีทเมานต์ (Heath Mount) ในฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ จากนั้นทรงศึกษาต่อที่วิทยาลัยมาร์ลโบโรห์ (Marlborough College) และวิทยาลัยมักดาเลน (Magdalene College) มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง พระองค์ทรงลาออกจากวิทยาลัยและสมัครเข้าร่วมกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 เป็นนักบินเครื่องบินขับไล่ซูเปอร์มารีน สปิตไฟร์ และเข้าร่วมปฏิบัติการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี
ในปี พ.ศ. 2488 พระองค์ทรงเป็นหนึ่งในสายลับเสรีไทยที่ได้รับภารกิจให้กระโดดร่มลงในประเทศไทย เพื่อร่วมปฏิบัติการแทรกซึมกับกองทัพอังกฤษ หลังสงครามโลกครั้งที่สอง พระองค์ยังทรงปฏิบัติหน้าที่เป็นนักบินในกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรอีก 15 ปี ก่อนที่จะลาออกมาเป็นนักบินของการบินไทย
ในปี พ.ศ. 2508 พระองค์ทรงก่อตั้งสายการบินแอร์สยาม ซึ่งเป็นสายการบินนานาชาติที่บินระหว่างกรุงเทพมหานคร, ฮ่องกง, โตเกียว, จังหวัดฟูกูโอกะ, โฮโนลูลู และลอสแอนเจลิส อย่างไรก็ตาม สายการบินนี้เลิกกิจการในปี พ.ศ. 2520
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช เสกสมรสกับแพเมลา สมี เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2493 และมีพระโอรส-ธิดา 2 คน ได้แก่ หม่อมราชวงศ์ดิลก จุฑาธุช และหม่อมราชวงศ์ดารา จุฑาธุช ต่อมาพระองค์เสกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2512 นอกจากนี้ พระองค์ยังมีความสัมพันธ์กับเจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่ และศรีไศล สุชาตวุฒิ
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช สิ้นพระชนม์ด้วยอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2533 สิริพระชันษา 68 ปี และมีการพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2533 ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
พระเกียรติยศ
แก้พระอิสริยยศ
แก้- หม่อมเจ้าวรานนท์ธวัช (19 สิงหาคม พ.ศ. 2465 — 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470)
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 — 15 กันยายน พ.ศ. 2533)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2522 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2520 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- พ.ศ. 2491 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2473 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)[4]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ "ประกาศตั้งพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 44 (0ก): 253. 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "หอเกียรติยศนักเรียนเก่า". สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนเทพศิรินทร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-25. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2473/D/3078.PDF
- กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร, ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ วังหลวง, 2545