ท่าอากาศยานสุโขทัย
ท่าอากาศยานสุโขทัย หรือ สนามบินสุโขทัย[4] (อังกฤษ: Sukhothai Airport) เปิดทำการบินเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2539 ท่าอากาศยานสุโขทัย มีเนื้อที่ 1,018 ไร่ ตั้งอยู่ในเขต 3 ตำบล คือ ตำบลท่าทอง ตำบลคลองกระจง และตำบลย่านยาว อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2535 และเปิดให้บริการ พ.ศ. 2539
ท่าอากาศยานสุโขทัย | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อาคารผู้โดยสารทรงไทย | |||||||||||
ข้อมูลสำคัญ | |||||||||||
การใช้งาน | สาธารณะ | ||||||||||
ผู้ดำเนินงาน | บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด | ||||||||||
พื้นที่บริการ | จังหวัดสุโขทัย ประเทศไทย | ||||||||||
เหนือระดับน้ำทะเล | 179 ฟุต / 55 เมตร | ||||||||||
พิกัด | 17°14′16″N 099°49′05″E / 17.23778°N 99.81806°E | ||||||||||
แผนที่ | |||||||||||
ทางวิ่ง | |||||||||||
| |||||||||||
สถิติ (2558) | |||||||||||
| |||||||||||
ข้อมูลท่าอากาศยาน
แก้ท่าอากาศยานสุโขทัย มีการออกแบบอาคารผู้โดยสารเป็นลักษณะอาคารทรงไทย เปิดโล่งตามศิลปะสุโขทัยโบราณ เพื่อความกลมกลืนและสอดคล้องกับวัฒนธรรมของจังหวัดสุโขทัย มีพื้นที่แยกกันระหว่างผู้โดยสารขาเข้าและผู้โดยสารขาออก สามารถรองรับผู้โดยสารขาเข้าและขาออกได้ 400 คน ปัจจุบันทางวิ่ง (Runway) ยาว 2,300 เมตร กว้าง 45 เมตร รองรับน้ำหนักได้ 45 ตัน มีลานจอดเครื่องบินขนาด 50 เมตร × 250 เมตร สามารถจอดเครื่องบินแบบ Boeing 737 ได้จำนวน 3 ลำ
สนามบินสุโขทัย ได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ ได้แก่ ด้านแรงงานต่างด้าว ด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ ด้านภาษีอากร และการหักลดหย่อน และด้านเงินตราต่างประเทศ และได้รับความร่วมมือจากบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด เป็นผู้ดูแลด้านการควบคุมการจราจรทางอากาศ โดยติดตั้งเครื่องช่วยเดินอากาศ และด้านการสื่อสารการบิน โดยให้บริการข่ายสื่อสารการบินผ่านดาวเทียม VSAT และกองอากาศการบิน กรมอุตุนิยมวิทยา ติดตั้งเครื่องมือตรวจอากาศและรายงานสภาพอากาศบริเวณสนามบิน โดยใช้เครื่องวัดทิศทางความเร็วของลม เครื่องวัดความกดอากาศ และเครื่องวัดอุณหภูมิ
สนามบินสุโขทัยได้รับอนุญาตให้เป็นสนามบินศุลกากรประกอบกิจการเดินอากาศแบบประจำมีกำหนดประกอบด้วย ด่านตรวจคนเข้าเมือง ด่านศุลกากร ด่านกักกันพืช และด่านควบคุมโรคติดต่อ สามารถรองรับผู้โดยสารที่เดินทางจากต่างประเทศได้
บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด เปิดสนามบินสุโขทัย ให้บริการในเส้นทาง กรุงเทพฯ-สุโขทัย และ กรุงเทพ-สุโขทัย-ลำปาง และจังหวัดใกล้เคียง ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย อาทิ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ฯลฯ รวมทั้ง ในเส้นทางในประเทศแถบอินโดจีน โดยบางกออกแอร์เวย์ มีจุดมุ่งหมายที่จะใช้สนามบินสุโขทัย เป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคแถบนี้
ภายในสนามบินสุโขทัย จัดสถานที่สำหรับเยี่ยมชมไว้หลายส่วน อาทิ อาคารผู้โดยสารที่มีลักษณะเป็นอาคารทรงไทยเปิดโล่งตามศิลปะสุโขทัยโบราณกลมกลืนกับพื้นที่ หอพระและพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ พื้นที่โครงการเกษตรอินทรีย์สนามบินสุโขทัย เป็นต้น[5]
รายชื่อสายการบิน
แก้สายการบิน/เวลาการบิน | จุดหมายปลายทาง[6] | หมายเหตุ |
---|---|---|
บางกอกแอร์เวย์ | กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ,ภูเก็ต(อนาคต) | ภายในประเทศ |
ตารางเที่ยวบิน (เดือนกันยายน 2565)
แก้เที่ยวบิน | ต้นทาง | ปลายทาง | เวลาออก | เวลาเข้า | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
PG211 | BKK | THS | 07:00 | 08:20 | ทุกวัน |
PG212 | THS | BKK | 08:50 | 10:10 | ทุกวัน |
PG213 | BKK | THS | 16:00 | 17:20 | ทุกวัน |
PG214 | THS | BKK | 17:50 | 19:10 | ทุกวัน |
หมายเหตุ ตารางบินอาจมีการเปลี่ยนแปลง สามารถตรวจสอบได้ที่ www.bangkokair.com เก็บถาวร 2022-08-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Airport information for VTCN at World Aero Data. Data current as of October 2006.. Source: DAFIF.
- ↑ Airport information for NNT at Great Circle Mapper. Source: DAFIF (effective Oct. 2006).
- ↑ "Aviation". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-11-19.
- ↑ ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดเขตบริเวณใกล้เคียงสนามบินสุโขทัย ในท้องที่อำเภอสวรรคโลก และอำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย เป็นเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๕๔๔
- ↑ “สนามบินสุโขทัย” มีมากกว่ารันเวย์
- ↑ "Flight Tracker". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-31. สืบค้นเมื่อ 2013-10-06.