ทีบีเอสทีวี
สถานีโทรทัศน์ระบบแพร่สัญญาณโตเกียว หรือ ทีบีเอสทีวี (ญี่ปุ่น: TBSテレビ; โรมาจิ: TBS Terebi) เป็นสถานีโทรทัศน์ชั้นนำของเจแปน นิวส์ เน็ตเวิร์ค (JNN) ภายใต้การบริหารของทีบีเอสโฮลดิงส์ ซึ่งเป็นบริษัทสาขาของ JNN ในภูมิภาคคันโต
โลโก้ของสถานีโทรทัศน์ทีบีเอสทีวีตั้งแต่เดือนเมษายน 2020 | |
ศูนย์แพร่ภาพทีบีเอส | |
ชื่อทางการค้า | บริษัทสถานีโทรทัศน์ระบบแพร่สัญญาณโตเกียว |
---|---|
ชื่อท้องถิ่น | 株式会社TBSテレビ |
ชื่อโรมัน | Kabushikigaisha TBS terebi |
ประเภท | บริษัทสาขา・บริษัทร่วมทุน |
อุตสาหกรรม | สื่อบันเทิง |
ก่อตั้ง | 21 มีนาคม 2000 |
สำนักงานใหญ่ | ศูนย์แพร่ภาพทีบีเอส อากาซากะ เขตมินาโตะ, , |
บริการ | การแพร่ภาพทางโทรทัศน์・การผลิตรายการโทรทัศน์พร้อมออกอากาศ |
บริษัทแม่ | ระบบแพร่สัญญาณโตเกียว |
เว็บไซต์ | www |
เชิงอรรถ / อ้างอิง ข้อมูลจาก Corporate Profile |
ชื่ออื่น | ทีบีเอสทีวี |
---|---|
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
เครื่องส่ง | 35°39′31″N 139°44′44″E / 35.65861°N 139.74556°E |
แบบรายการ | |
ภาษา | ภาษาญี่ปุ่น |
ระบบภาพ | ดิจิทัล: 22 (UHF – LCN 6) |
ความเป็นเจ้าของ | |
เจ้าของ | ระบบแพร่สัญญาณโตเกียว |
ประวัติ | |
เริ่มออกอากาศ | เมษายน 1955 |
ชื่อเดิม | การแพร่สัญญาณโตเกียว (โตเกียวโฮโซ) |
ลิงก์ | |
เว็บไซต์ | http://www.tbs.co.jp |
ทีบีเอสทีวีได้ผลิตรายการเกมโชว์อย่าง "โหด มัน ฮา (ญี่ปุ่น: 風雲!たけし城; อังกฤษ: Takeshi's Castle)" ซึ่งถูกพากย์เสียงเป็นภาษาต่าง ๆ และฉายซ้ำอีกครั้งในหลายประเทศ อีกทั้งยังสร้างแฟรนไชส์อุลตร้าแมนตั้งแต่ปี 1966 เป็นต้นมา รวมถึงสปินออฟในปีเดียวกันกับเรื่อง "อุลตร้า คิว" ที่ถูกสร้างโดยสึบูรายะพรอดักชันส์ให้แก่ทีบีเอส โดยตั้งแต่ช่วงปี 1990 ก็ได้มีการผลิตรายการเกมโชว์ "เกมหิน พลังนินจา (อังกฤษ: Ninja Warrior)" ซึ่งทำให้มีรายการจากนอกประเทศญี่ปุ่นที่ได้รับแรงบันดาลใจจากรูปแบบของรายการดังกล่าวจนเกิดเป็นรายการเกมโชว์ทองของทีบีเอสทีวี "คินนิกุบันซึเกะ" ที่ออกอากาศไปถึง 7 ฤดูกาล
ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2017 ทีบีเอสทีวีและ 5 บริษัทสื่อรายใหญ่ (ทีวีโตเกียว, นิกเกอิ, วาอุวาอุ, เดนท์สุ และ ฮากุโฮโด) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าจะตั้งบริษัทใหม่ร่วมกันในเดือนกรกฎาคมเพื่อเปิดให้บริการวีดิโอออนไลน์แบบเสียค่าใช้จ่าย ในชื่อ "Premium Platform Japan" โดยมีทีบีเอสโฮลดิงส์เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่สุด และประธานบริษัทที่มาจากทีบีเอสโฮลดิงส์ชื่อ ยาซูฮิโระ ทากัตสึนะ[1][2]
การออกอากาศ
แก้แอนะล็อก
แก้JORX–TV (นามเรียกขานเดิม: JOKR–TV) – ทีบีเอสทีวี (ชื่อเดิม: โตเกียวโฮโซ)
- โตเกียวทาวเวอร์, โตเกียว – ช่อง 6
- นิอิจิมะ, โตเกียว – ช่อง 56
- มิโตะ, อิบารากิ – ช่อง 40
- อุตสึโนมิยะ, โทจิงิ – ช่อง 55
- มาเอบาชิ, กุมมะ – ช่อง 56
- คิรีว, กุนมะ – ช่อง 55
- ชิจิบุ, ไซตามะ – ช่อง 18
- นาริตะ, ชิบะ – ช่อง 55
- ทาเตยามะ, ชิบะ – ช่อง 56
- มินาโตมิไร 21, คานางาวะ – ช่อง 56
- โยโกซูกะ, คานางาวะ – ช่อง 39
- ฮิรัตสึกะ, คานางาวะ – ช่อง 37
- โอดาวาระ, คานางาวะ – ช่อง 56
ดิจิทัล
แก้JORX–DTV – ทีบีเอสดิจิทัลทีวี
- รีโมทคอนโทรลเลอร์: 6
- โตเกียวสกายทรี, โตเกียว – ช่อง 22
- มิโตะ, อิบารากิ – ช่อง 15
- อุตสึโนมิยะ, โทจิงิ – ช่อง 15
- มาเอบาชิ, กุมมะ – ช่อง 36
- ฮิรัตสึกะ, คานางาวะ – ช่อง 22
เครือข่าย
แก้รายการของทีบีเอสทีวีจะออกอากาศในทุกสถานีโทรทัศน์ของเจแปน นิวส์ เน็ตเวิร์คทั่วประเทศ ได้แก่:
- ตั้งทำการอยู่ที่โอซากะ ออกอากาศในพื้นที่ภูมิภาคคันไซ: เอ็มบีเอส, แอนะล็อก: ช่อง 4, ดิจิทัล: ช่อง 16 (โอซากะหมายเลข 4)
- ตั้งทำการอยู่ที่นาโงยะ ออกอากาศในพื้นที่เขตมหานครชูเกียว: ซีบีซี, แอนะล็อก: ช่อง 5, ดิจิทัล: ช่อง 18 (นาโงยะ หมายเลข 5)
- ตั้งทำการอยู่ที่ซัปโปโระ ออกอากาศในพื้นที่จังหวัดฮกไกโด: เอ็ชบีซี, แอนะล็อก: ช่อง 1, ดิจิทัล: ช่อง 19 (ซัปโปโระ หมายเลข 1)
- ตั้งทำการอยู่ที่อาโอโมริ ออกอากาศในพื้นที่จังหวัดอาโอโมริ: เอทีวี, แอนะล็อก: ช่อง 38, ดิจิทัล: ช่อง 30 (อาโอโมริ หมายเลข 6)
- ตั้งทำการอยู่ที่โมริโอกะ ออกอากาศในพื้นที่จังหวัดอิวาเตะ: ไอบีซี, แอนะล็อก: ช่อง 6, ดิจิทัล: ช่อง 16 (โมริโอกะ หมายเลข 6)
- ตั้งทำการอยู่ที่เซ็นได ออกอากาศในพื้นที่จังหวัดมิยางิ: ทีบีซี, แอนะล็อก: ช่อง 1, ดิจิทัล: ช่อง 19 (เซ็นได หมายเลข 1)
- ตั้งทำการอยู่ที่นางาโนะ ออกอากาศในพื้นที่จังหวัดนางาโนะ: เอ็ซบีซี, แอนะล็อก: ช่อง 11, ดิจิทัล: ช่อง 16 (นางาโนะ หมายเลข 6)
- ตั้งทำการอยู่ที่ทากาโอกะ ออกอากาศในพื้นที่จังหวัดโทยามะ: ทียูที, แอนะล็อก: ช่อง 32, ดิจิทัล: ช่อง 22 (ทากาโอกะ หมายเลข 6)
- ตั้งทำการอยู่ที่ฟูกูโอกะ ออกอากาศในพื้นที่จังหวัดฟูกูโอกะ: อาร์เคบี, แอนะล็อก: ช่อง 4, ดิจิทัล: ช่อง 30 (ฟูกูโอกะ หมายเลข 4)
- ตั้งทำการอยู่ที่นาฮะ ออกอากาศในพื้นที่จังหวัดโอกินาวะ: อาร์บีซี: แอนะล็อก: ช่อง 10, ดิจิทัล: ช่อง 14 (นาฮะ หมายเลข 3)
รายการโทรทัศน์
แก้ด้านล่างนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของรายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศทางทีบีเอสทีวี
อ้างอิง
แก้- ↑ Mark Schilling (24 May 2017). "Japan's TBS and Nikkei Head Video Platform Launch". Variety. สืบค้นเมื่อ 24 May 2017.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Jimenez, Miriam (24 April 2017). "Six Japanese media companies to start joint online video service". S&P Global Market Intelligence.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)