ทรูมูฟ เอช
มีข้อสงสัยว่าบทความนี้อาจละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ระบุไม่ได้ชัดเจนเพราะขาดแหล่งที่มา หรืออ้างถึงสิ่งพิมพ์ที่ยังตรวจสอบไม่ได้ หากแสดงได้ว่าบทความนี้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แทนป้ายนี้ด้วย {{ละเมิดลิขสิทธิ์}} หากคุณมั่นใจว่าบทความนี้ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แสดงหลักฐานในหน้าอภิปราย โปรดอย่านำป้ายนี้ออกก่อนมีข้อสรุป |
บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (อังกฤษ: TrueMove H Universal Communication Co., Ltd) หรือในชื่อทางการตลาดว่า ทรูมูฟ เอช (อังกฤษ: TrueMove H) เดิมคือ ฮัทซ์ เป็นบริษัทในเครือของ ทรู คอร์ปอเรชั่น ที่ทำธุรกิจให้บริการโทรศัพท์มือถือ โดยเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศตามจำนวนผู้ใช้งาน
อัจฉริยภาพสู่โลกใหม่ที่ยั่งยืนของเรา | |
ประเภท | บริษัทจำกัด |
---|---|
อุตสาหกรรม | โทรคมนาคม, กองทุนรวม |
ก่อตั้ง | สิงหาคม พ.ศ. 2554 |
สำนักงานใหญ่ | 18 อาคารทรู ทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร |
บุคลากรหลัก | ภาสกร หงส์ไกลเกรียง กรรมการผู้จัดการใหญ่ |
ผลิตภัณฑ์ | โทรศัพท์เคลื่อนที่, อินเทอร์เน็ต |
บริษัทแม่ | ทรู คอร์ปอเรชั่น |
เว็บไซต์ | https://www.true.th/truemoveh/site/ |
ประวัติ
แก้ในยุคเริ่มแรกจดทะเบียนก่อตั้งเป็น บริษัท ฮัทจิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด โดยเป็นการร่วมลงทุนระหว่างกลุ่มทุนฮัทจิสัน วัมเปา (ปัจจุบันคือ ซีเค ฮัทจิสัน โฮลดิ้ง) กับ กสท. โทรคมนาคม เพื่อดำเนินการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบซีดีเอ็มเอบนคลื่นความถี่ 800 MHz ของ กสท. โทรคมนาคม ภายใต้ชื่อทางการค้าว่า ฮัทซ์ และ แคท ซีดีเอ็มเอ ต่อมาการดำเนินการเกิดขาดสภาพคล่อง กลุ่มทุนฮัทจิสันจึงเสนอขายกิจการให้ กสท. โทรคมนาคม เพื่อถอนทุนออกจากประเทศไทย แต่เนื่องจากในขณะนั้นการดำเนินการของ กสท. โทรคมนาคม ยังต้องผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี กสท. โทรคมนาคม จึงปฏิเสธการเข้าซื้อกิจการ และเปิดทางให้เอกชนรายอื่นเข้ามาซื้อกิจการแทน และเป็นกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น ที่ชนะการประมูล และสามารถเข้าซื้อกิจการได้โดยผ่านความเห็นชอบจากกสท. โทรคมนาคม[1] โดยกลุ่มทรูมุ่งหวังในการเข้าถือครองสัมปทานคงเหลือของฮัทซ์ เพื่อนำคลื่นความถี่ 800 MHz มาดำเนินการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือระยะที่ 3 หรือ 3 จี
อย่างไรก็ตาม ในขั้นตอนทางกฎหมาย กลุ่มทรูไม่สามารถเข้าดำเนินการบนสัมปทานคงเหลือได้โดยตรง เนื่องจากหลายส่วนขัดต่อ พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ที่กำหนดให้คลื่นความถี่เมื่อหมดหรือถูกเลิกสัมปทาน จะต้องนำส่งคืน กสทช. เพื่อดำเนินการเปิดประมูลเป็นรายได้แผ่นดิน กสท. โทรคมนาคม จึงนำคลื่นความถี่กลับคืนทั้งหมด และแต่งตั้ง บริษัท เรียลมูฟ จำกัด ให้เป็นคู่สัญญาการร่วมลงทุนเครือข่าย รวมถึงเป็นตัวแทนขายส่งต่อบริการของ กสท. โทรคมนาคม ภายใต้ความจุโครงข่ายส่วนหนึ่งแทน ซึ่งเรียลมูฟ ได้นำความจุโครงข่ายส่วนหนึ่งมาเปิดให้บริการ 3 จี ภายใต้ชื่อ ทรูมูฟ เอช เป็นระยะเวลา 14 ปี
ต่อมา กลุ่มทรู คอร์ปอเรชัน ได้จัดตั้ง บริษัท เรียลฟิวเจอร์ จำกัด (ปัจจุบันคือ บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด) เพื่อเข้าร่วมประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมบนคลื่นความถี่ 2100 MHz, 1800 MHz, 900 MHz, 700 MHz, 2600 MHz และ 26 GHz กับ กสทช. ตามลำดับ เพื่อเสริม ขยายกิจการ และสะสมคลื่นความถี่สำหรับให้บริการได้อย่างคุ้มค่า โดยปัจจุบัน ทรูมูฟ เอช มีความถี่สะสมเป็นอันดับ 2 ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม
บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
แก้- ระบบ 2 จี
- บนคลื่นความถี่ 900 และ 1800 เมกะเฮิร์ตซ์ ภายใต้ชื่อการค้า "ทรูมูฟ เอช" และ "ดีแทค"
- ระบบ 3 จี
- บนคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิร์ตซ์ ในฐานะเป็นตัวแทนขายส่งต่อบริการของ กสท. โทรคมนาคม ด้วยเทคโนโลยี เอชเอสพีเอ+ ความเร็วสูงสุด 42 เมกะบิตต่อวินาที ภายใต้ชื่อการค้า "ทรูมูฟ เอช 3G+ (TrueMove H 3G+)"
- บนคลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิร์ตซ์ ด้วยเทคโนโลยี เอชเอสพีเอ+ ความเร็วสูงสุด 42 เมกะบิตต่อวินาที ภายใต้ชื่อการค้า "ทรูมูฟ เอช (TrueMove H)" "ดีแทค (dtac)" และ "ฟินน์ โมบายล์ (Finn Mobile)"
- ระบบ 4 จี
- บนคลื่นความถี่ 900, 1800, 2100 และ 2600 เมกะเฮิร์ตซ์ ด้วยเทคโนโลยี แอลทีอี แอดวานซ์ 3 ซีเอ มีชื่อการค้าว่า "ทรูมูฟ เอช 4G พลัส (TrueMove H 4G+)" "ดีแทค (dtac)" และ "ฟินน์ โมบายล์ (Finn Mobile)"
- บนคลื่นความถี่ 2300 เมกะเฮิร์ตซ์ ด้วยเทคโนโลยี แอลทีอี แอดวานซ์ 3 ซีเอ มีชื่อการค้าว่า "ดีแทค เทอร์โบ (dtac Turbo)"
- ระบบ 5 จี
- บนคลื่นความถี่ 2600 เมกะเฮิร์ตซ์ ภายใต้ชื่อการค้า "ทรู 5G (True 5G)"
- บนคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิร์ตซ์ ภายใต้ชื่อการค้า "ดีแทค 5G (dtac 5G)"
คลื่นความถี่ที่ใช้งาน
แก้ปัจจุบัน ทรูมูฟ เอช ได้จัดสรรการให้บริการแต่ละคลื่นความถี่ภายใต้แบรนด์ให้บริการดังต่อไปนี้
ทรูมูฟ เอช
แก้ความถี่ | ย่าน | ขนาด | เทคโนโลยี | ประเภท | สถานะ | เปิด | เวลา |
---|---|---|---|---|---|---|---|
850 MHz | 5 | 2x15 MHz | UMTS/DC-HSPA+ | 3G | กำลังให้บริการ (ความถี่สัมปทานจากเอ็นที) | 8 พ.ค.56 | สิ้นสุด 2568 |
2100 MHz | 1 | 2x5 MHz | UMTS/HSPA+ | 3G | กำลังให้บริการ | 8 พ.ค.56 | สิ้นสุด 2570 |
2100 MHz | 1 | 2x10 MHz | LTE/VoLTE | 4G | 8 พ.ค.56 | ||
900 MHz | 8 | 2x10 MHz | LTE | 4G | กำลังให้บริการ | 1 พ.ค.59 | สิ้นสุด 2574 |
900 MHz | 8 | GiLTE | GSM/GPRS/EDGE | 2G | 2533 | ||
1800 MHz | 3 | 2x15 MHz | LTE-Advanced | 4G | กำลังให้บริการ | 4 ธ.ค.58 | สิ้นสุด 2576 |
26000 MHz | - | 800 MHz | 5GNR | 5G | กำลังให้บริการ | 2563 | สิ้นสุด 2578 |
2600 MHz | - | 90 MHz | LTE/VoLTE,5GNR | 4G,5G | |||
700 MHz | - | 2x10 MHz | LTE/VoLTE,5GNR | 4G,5G |
ดีแทค และ ฟินน์ โมบายล์
แก้คลื่นความถี่ | หมายเลขช่องสัญญาณ | จำนวนคลื่นความถี่ | เทคโนโลยี | ประเภท | สถานะบริการ | เปิดให้บริการ | ระยะเวลาดำเนินการ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
700 MHz | 28 | 2x10 MHz | LTE | 4G/5G | ให้บริการอยู่ | 24 ธันวาคม พ.ศ. 2563 | สิ้นสุด พ.ศ. 2578 (ใบอนุญาต) |
900 MHz | 8 | 2x5 MHz | UMTS/HSPA+ | 3G | ให้บริการอยู่ | พฤษภาคม พ.ศ. 2556 | สิ้นสุด พ.ศ. 2576 (ใบอนุญาต) |
1800 MHz | 3 | 2x5 MHz | LTE 42Mbps | 4G | กันยายน พ.ศ. 2561 | สิ้นสุด พ.ศ. 2576 (ใบอนุญาต) | |
1800 MHz | 3 | GiLTE | GSM/GPRS/EDGE | 2G | |||
2100 MHz | 1 | 2x5 MHz | UMTS/HSPA+ 35Mbps | 3G | ให้บริการอยู่ | พฤษภาคม พ.ศ. 2556 | สิ้นสุด พ.ศ. 2570 (ใบอนุญาต) |
2100 MHz | 1 | 2x10 MHz | LTE 75Mbps | 4G | |||
2300 MHz | 40 | 20 MHz + 20 MHz + 20 MHz | TD-LTE with Intraband 3CA & Massive MIMO | 4G | มิถุนายน พ.ศ. 2561 | สิ้นสุด พ.ศ. 2568 (สัญญาเช่ากับ NT) | |
26 GHz | 2 | 2x100 MHz | 5G
1000mbps |
5G | ให้บริการอยู่ | กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2563 |
สิ้นสุด พ.ศ. 2578 |
ข้อวิจารณ์
แก้วันที่ 13 เมษายน 2561 สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) รายงานอ้างอิงนิอัลล์ เมอร์ริแกน (Niall Merrigan) นักวิจัยด้านความมั่นคงว่า ข้อมูลผู้ใช้บริการทรูมูฟ เอชรั่วไหล เนื่องจากเก็บข้อมูลในแอมะซอน เอส3 บักเก็ต (Amazon S3 bucket) ที่รักษาความปลอดภัยไม่เพียงพอ โดยเป็นไฟล์สแกนสำเนาบัตรประชาชน ใบขับขี่และหนังสือเดินทางระหว่างปี 2559 ถึง 2561 จำนวนประมาณ 46,000 ไฟล์[2] ทั้งนี้ หากบุคคลภายนอกทราบยูอาร์แอลก็สามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้ทั้งหมด[3] ทางเมอร์ริแกนพยายามติดต่อบริษัทตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม โดยบริษัทยอมรับว่าไม่มีหน่วยงานด้านความปลอดภัยเฉพาะ[3] เพิ่งมาปิดความเป็นสาธารณะไปเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2561[4]
ต่อมา ทรูออกแถลงการณ์ยอมรับว่าถูกแฮกข้อมูลผ่านไอทรูมาร์ต (Itruemart) โดยผู้ได้รับผลกระทบได้แก่ผู้ซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่พร้อมแพคเกจบริการทรูมูฟ เอช และลงทะเบียนซิมทางไอทรูมาร์ต ทีมงานจะมีการส่งแจ้งเตือนไปยังลูกค้ากลุ่มดังกล่าว[5] ด้านสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) แนะนำให้ประชาชนไปลงบันทึกประจำวันแจ้งไว้เป็นหลักฐานป้องกันผู้ร้ายนำไปสวมรอยหรือปลอมแปลง[2]
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เรียกให้ทรูมูฟ เอช เข้าชี้แจงข้อเท็จจริงในวันที่ 17 เมษายน 2561 ด้านเลขาธิการ กสทช. ระบุว่า หากมีความผิดอาจถึงขั้นพักใช้ เพิกถอนใบอนุญาต[6]
วันที่ 17 เมษายน 2561 ผู้บริหารบริษัทไอทรูมาร์ทและ ทรู คอร์เปอเรชั่นเข้าชี้แจงกับ กสทช. โดยให้ข้อมูลว่าข้อมูลที่เก็บไว้ในคลาวด์มีจำนวน 11,400 เลขหมาย จากจำนวนลูกค้า 1 ล้านรายที่ลงทะเบียนผ่านทางออนไลน์ และการเข้าถึงข้อมูลตามข่าวมาจากการเจาะข้อมูลด้วยเครื่องมือพิเศษ 3 ชั้นซึ่งคนทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงได้ ด้าน กสทช. ยังไม่สรุปว่าทรูมีความผิดหรือไม่ แต่จะทำหนังสือเตือนผู้ให้บริการทุกเครือข่ายโทรทัศน์ให้ตรวจสอบการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า และอาจใช้งบประมาณจากกองทุนบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (USO) จัดทำฐานจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้เครือข่ายทุกค่ายแทนเอกชน[7]
วันที่ 18 เมษายน 2561 กสทช. สั่งให้บริษัท เรียล มูฟ จำกัด เยียวยาความเสียหายต่อผู้ใช้บริการที่ได้รับผลกระทบภายใน 7 วัน โดยหากไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษปรับไม่ต่ำกว่าสองหมื่นบาทต่อวัน[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ทรูซื้อฮัทช์ดีลฮอต6,300ล้านปิดท้ายปีเสือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-31. สืบค้นเมื่อ 2011-09-07.
- ↑ 2.0 2.1 ทรูเผลอทำข้อมูลลูกค้ารั่วไหล’บัตรปชช.-พาสปอร์ต’นับ 46,000 ไฟล์ คนนอกเข้าถึงได้ง่าย
- ↑ 3.0 3.1 "ผงะ! พบค่ายมือถือดังของไทย หลุด "สำเนาบัตรประชาชน" สู่สาธารณะกว่า 4.6 หมื่นราย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-14. สืบค้นเมื่อ 2018-04-14.
- ↑ ทรูมูฟเอช งานเข้า! ทำข้อมูล 'บัตรปชช.-พาสปอร์ต' ลูกค้ารั่ว ยังไร้แจง
- ↑ 'กสทช.'เรียก'ทรู' แจงด่วน เหตุบัตรปชช.ลูกค้าหลุด ค่ายมือถือยอมรับจริง
- ↑ กสทช.เรียก ‘TRUE’ แจงปมข้อมูลลูกค้ารั่ว ขู่ โทษถึงขั้นเพิกถอนใบอนุญาต!!
- ↑ "ทรู" ชี้แจงถูกเจาะข้อมูลด้วยเครื่องมือพิเศษ กระทบลูกค้า 11,400 เลขหมาย
- ↑ กสทช.สั่ง "ทรู" เร่งเยียวยาลูกค้าที่ข้อมูลบัตรประชาชนหลุด