ชบา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Hibiscus rosa-sinensis) เป็นพืชมีดอกในสกุล Hibiscus วงศ์ Malvaceae เป็นพืชพื้นเมืองในเอเชียตะวันออก ชาวโอรังอัซลีในรัฐเปรัก มาเลเซีย ใช้เปลือกรากแช่ในน้ำข้ามคืนและดื่มขณะท้องว่างเพื่อรักษาฝี[3]

ชบา
Hibiscus rosa-sinensis 'Brilliant'
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophyta
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: โรสิด
Rosids
อันดับ: ชบา
วงศ์: ชบา
วงศ์ย่อย: Malvoideae
เผ่า: Hibisceae
สกุล: สกุลชบา

L.
สปีชีส์: Hibiscus rosa-sinensis
ชื่อทวินาม
Hibiscus rosa-sinensis
L.
ชื่อพ้อง[1][2]
  • Hibiscus arnottii Griff. ex Mast.
  • Hibiscus boryanus DC.
  • Hibiscus cooperi auct.
  • Hibiscus festalis Salisb.
  • Hibiscus liliiflorus Griff. ex Mast.
  • Hibiscus rosiflorus Stokes
  • Hibiscus storckii Seem.
  • Hibiscus tricolor Dehnh.

ลักษณะ

แก้

ชบาเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบค่อนข้างมนรี มีปลายแหลม ขอบของใบเป็นจักเล็กน้อย และมีสีเขียวเข้มอ่อน เมื่อขยี้ใบจะเป็นเมือกเหนียว ดอกมีทั้งกลีบชั้นเดียวและหลายชั้น หากเป็นชั้นเดียวปกติจะมีกลีบดอก 5 กลีบ มีก้านเกสรอยู่ตรงกลางดอกหนึ่งก้าน ลักษณะของกลีบดอกชบาจะมีขนาดใหญ่ มีหลายสีไม่ว่าจะเป็น ขาว แดง แสด เหลือง ม่วง ชมพู และสีอื่น ๆ โดยดอกชบาแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ ดอกบานเป็นรูปถ้วย ดอกบานเป็นรูปแผ่แบน และกลีบดอกบานแบบแผ่โค้ง และขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ การต่อตา การติดตา และการเสียบยอด

ในวรรณกรรม

แก้

ชบาปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง รามเกียรติ์ ตอนพระรามลาสระภังคฤๅษ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

พุทธชาดรักซ้อนซ่อนกลิ่น อินทนิลช้องนางนางคลี่
นางแย้มกล้วยไม้มะลุลี ยี่สุ่นโยทะกาชบาบาน
กรรณิการ์เกดแก้วกาหลง ประยงค์พะยอมหอมหวาน
ชมพลางเด็ดดวงผกากาญจน์ พระอวตารส่งให้วนิดา

อ้างอิง

แก้
  1. "The Plant List: A Working List of All Plant Species". สืบค้นเมื่อ 13 June 2015.
  2. "Hibiscus rosa-sinensis L." World Flora Online. World Flora Online Consortium. 2022. สืบค้นเมื่อ 11 October 2022.
  3. Samuel, A.J.S.J., Kalusalingam, A., Chellappan, D.K., Gopinath, R., Radhamani, S., Husain, H. A., Muruganandham, V., Promwichit, P. 2010. Ethnomedical survey of plants used by the orang asli in kampong bawong, Perak, West Malaysia. Joutnal of Ethnobiology and Ethnomedicine. 6:5

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้