จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส[b] ต่อจากนั้นเป็นจักรวรรดิฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Empire Français; ละติน: Imperium Francicum) ภายหลัง ค.ศ. 1809 และยังเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า ฝรั่งเศสสมัยนโปเลียน เป็นจักรวรรดิที่ถูกปกครองโดยจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ผู้ซึ่งสถาปนาอำนาจของฝรั่งเศสเหนือยุโรปภาคพื้นทวีป เมื่อตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดำรงอยู่ตั้งแต่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1804 ถึง 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1814 และดำรงอยู่อีกครั้งในช่วงเวลาสั้น ๆ ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1815 ถึง 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1815[9]
สาธารณรัฐฝรั่งเศส[1] (ค.ศ. 1804-1809) République Française จักรวรรดิฝรั่งเศส (ค.ศ. 1809–1815) Empire Français | |
---|---|
ค.ศ. 1804–1814, ค.ศ. 1815 | |
จักรวรรดิฝรั่งเศส ณ จุดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดใน เดือนกันยายน พ.ศ. 2355
จักรวรรดิฝรั่งเศสพร้อมกับสิทธิ์ในการครอบครองอาณานิคมของตนใน พ.ศ. 2355 จักรวรรดิฝรั่งเศสและอาณานิคมของตน รัฐบริวารและดินแดนที่ถูกยึดครองใน ค.ศ. 1812 | |
เมืองหลวง | ปารีส |
ภาษาทั่วไป | ฝรั่งเศส (ราชการ) ละติน (ภาษาทางพิธีการ) ภาษาประจำภูมิภาค |
ศาสนา | โรมันคาทอลิก (ประจำชาติ) ลูเทอแรน คาลวิน ยูดาห์ (ศาสนาชนกลุ่มน้อย) |
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบรัฐเดี่ยวในลัทธิโบนาปาร์ต ภายใต้เผด็จการทหาร (ค.ศ. 1804–1815) |
จักรพรรดิ | |
• ค.ศ. 1804–1814/1815 | จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 |
• ค.ศ. 1815 | จักรพรรดินโปเลียนที่ 2 (ยังอยู่ในการโต้แย้ง) [a] |
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภา |
• สภาสูง | เซนัตกงเซวาเตอ (จนถึง ค.ศ. 1814) สภาขุนนาง (ตั้งแต่ 22 เมษายน ค.ศ. 1815 เป็นต้นมา) |
• สภาล่าง | โกร์ปเลอกิสลาติฟ (จนถึง 4 มิถุนายน ค.ศ 1814) สภาผู้แทนราษฎร (ตั้งแต่ 22 เมษายน ค.ศ. 1815 เป็นต้นมา) |
ยุคประวัติศาสตร์ | สงครามปฏิวัติฝรั่งเศส สงครามนโปเลียน |
18 พฤษภาคม ค.ศ. 1804 | |
• พิธีปราบดาภิเษกของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 | 2 ธันวาคม ค.ศ. 1804 |
7 กรกฎาคม ค.ศ. 1807 | |
24 มิถุนายน ค.ศ. 1812 | |
11 เมษายน ค.ศ. 1814 | |
20 มีนาคม – 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1815 | |
พื้นที่ | |
1812[4] | 2,100,000 ตารางกิโลเมตร (810,000 ตารางไมล์) |
ประชากร | |
• 1812 | 96,472,000[5] |
สกุลเงิน | ฟรังก์ฝรั่งเศส |
ถึงแม้ว่าฝรั่งเศสจะก่อตั้งจักรวรรดิอาณานิคมโพ้นทะเลมาตั้งแต่ตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 แต่รัฐฝรั่งเศสยังคงเป็นราชอาณาจักรที่ถูกปกครองโดยราชวงศ์บูร์บง และเป็นสาธารณรัฐหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส นักประวัติศาสตร์ได้กล่าวถึงระบอบของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ว่าเป็น จักรวรรดิที่หนึ่ง เพื่อแยกความแตกต่างออกจากจักรวรรดิที่สอง ของนักฟื้นฟู (ค.ศ. 1852-1870) ที่ถูกปกครองโดยจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่งได้ถูกมองโดยบางคนว่าเป็น "จักรวรรดิริพับลิกัน"[10]
เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1804 นโปเลียนได้รับตำแหน่งจักรพรรดิแห่งชาวฝรั่งเศส(Empereur des Français, ออกเสียง: [ɑ̃.pʁœʁ de fʁɑ̃.sɛ]) โดยวุฒิสภาอนุรักษนิยม (Sénat conservateur) ของฝรั่งเศส และสวมมงกุฎ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1804[11] เป็นการแสดงให้เห็นถึงจุดสิ้นสุดของคณะกงสุลฝรั่งเศสและสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 แม้ว่าจะมีการทำพิธีปราบดาภิเษก แต่รัฐยังคงถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่า "สาธารณรัฐฝรั่งเศส" จนถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 1808 จักรวรรดิได้มีอำนาจสูงสุดทางทหารในยุโรปแผ่นดินใหญ่ด้วยชัยชนะที่โด่งดังในสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สาม กับออสเตรีย ปรัสเซีย รัสเซีย อังกฤษ และรัฐพันธมิตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์ ใน ค.ศ. 1805[12] การครอบงำของฝรั่งเศสได้ถูกยืนยันอีกครั้งในช่วงสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สี่ ในยุทธการที่เยนา–เอาเออร์ชเต็ท ใน ค.ศ. 1806 และยุทธการที่ฟรีทลันท์ ใน ค.ศ. 1807 ก่อนที่ความปราชัยครั้งสุดท้ายของนโปเลียนในยุทธการที่วอเตอร์ลู ใน ค.ศ. 1815
สงครามหลายครั้ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยรวมว่า สงครามนโปเลียน ได้ขยายอิทธิพลของฝรั่งเศสจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกและไปยังโปแลนด์ เมื่อถึงจุดสูงสุดใน ค.ศ. 1812 จักรวรรดิฝรั่งเศสได้มี 130 จังหวัด ประชากรมากกว่า 44 ล้านคน ปกครองพลเมืองมากกว่า 90 ล้านคน ทั่วทั้งยุโรปและอาณานิคมโพ้นทะเล การคงไว้ซึ่งการมีอยู่ทางทหารอย่างกว้างขวางในเยอรมนี อิตาลี สเปน และโปแลนด์ และนับออสเตรียและปรัสเซียเป็นพันธมิตรในนาม ชัยชนะของฝรั่งเศสในช่วงแรกได้ส่งลักษณะทางอุดมการณ์ของการปฏิวัติหลายประการไปทั่วทั้งยุโรป การนำประมวลกฎหมายนโปเลียนมาใช้ทั่วทั้งทวีป ได้เพิ่มความเท่าเทียมทางกฎหมาย ระบบลูกขุนที่ได้ถูกจัดตั้งขึ้นและการหย่าร้างที่ถูกกฎหมาย และค่าธรรมเนียมที่ดินศักดินาและระบบความยุติธรรมของขุนนางศักดินาได้ถูกยกเลิก เช่นเดียวกับอภิสิทธิ์ของชนชั้นสูงในทุกที่ยกเว้นโปแลนด์ ความปราชัยของฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1814 (และอีกครั้งใน ค.ศ. 1815) ถือเป็นจุดสิ้นสุดของจักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง และจุดเริ่มต้นของยุคการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง
ประวัติศาสตร์
แก้ในปี ค.ศ. 1804 นโปเลียน โบนาปาร์ต หนึ่งในสามผู้นำของคณะกงสุลฝรั่งเศส ได้ปราบดาภิเษกตนเองเป็นจักรพรรดิและเริ่มต้นจักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง จักรพรรดินโปเลียนทรงปรับปรุงกองทัพฝรั่งเศสเป็น "กองทัพใหญ่" (Grand Armée) ในปี ค.ศ. 1805 การประกาศฝรั่งเศสเป็นจักรวรรดิทำให้ชาติต่างๆ รวมตัวกันอีกครั้งเป็นสัมพันธมิตรครั้งที่สาม จักรพรรดินโปเลียนที่ 1นำทัพบุกเยอรมนี และชนะกองทัพออสเตรียในการทัพอุล์ม แต่ทางทะเลต้องพ่ายแพ้อังกฤษที่แหลมทราฟัลการ์ในยุทธนาวีที่ทราฟัลการ์ ชัยชนะที่อุล์มทำให้จักรพรรดินโปเลียนทรงรุกคืบเข้าไปในออสเตรีย และชนะออสเตรียกับรัสเซียที่เอาสเทอร์ลิทซ์ เป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจักรพรรดินโปเลียน ทำให้สัมพันธมิตรครั้งที่สาม สลายตัวด้วยสนธิสัญญาเพร็สบวร์ค (Treaty of Pressburg) ผลของสนธิสัญญาคือจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ต้องล่มสลายไป พระเจ้านโปเลียนตั้งสมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์ (Confederation of the Rhine) ขึ้นมาแทนที่ ยังผลให้จักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ต้องเปลี่ยนพระอิสริยยศเป็นจักรพรรดิแห่งออสเตรีย ซึ่งในช่วงต้นของสงครามกับนานาประเทศ ฝรั่งเศสบุกชนะในหลายประเทศอาทิเช่น ออสเตรีย ปรัสเซีย โปรตุเกส และชาติพันธมิตรชาติอื่น ๆ อีกทั้งยังยึดครองดินแดนในทวีปยุโรปไว้ได้มากมาย
ความสำเร็จของนโปเลียนในเยอรมนี ทำให้ปรัสเซียร่วมกับอังกฤษและรัสเซียตั้งสัมพันธมิตรครั้งที่สี่ แต่คราวนี้ฝรั่งเศสมีรัฐบริวารมากมายให้การสนับสนุน จักรพรรดินโปเลียนจึงนำทัพบุกปรัสเซียชนะที่เยนา-เอาเออร์ชเตดท์ และชนะรัสเซียที่ฟรีดแลนด์ ทำให้เกิดสนธิสัญญาทิลซิท (Treaty of Tilsit) ที่ยุติสองปีแห่งการนองเลือดของทวีปยุโรปลงในปี ค.ศ. 1807 จากสนธิสัญญานี้ทำให้ปรัสเซียสูญเสียดินแดนขนาดใหญ่ กลายเป็นแกรนด์ดัชชีวอร์ซอ (Grand Duchy of Warsaw) และซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ร่วมเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสและเข้าระบบภาคพื้นทวีป (Continental system) เพื่อตัดขาดอังกฤษทางการค้าจากผืนทวีปยุโรป แต่สองประเทศ คือสวีเดนและโปรตุเกส เป็นกลางและไม่ยอมเข้าร่วมระบบภาคพื้นทวีป จักรพรรดินโปเลียนบุกโปรตุเกสในปี ค.ศ. 1807 และก็ทรงฉวยโอกาสยึดสเปนมาจากพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 4 (ราชวงศ์บูร์บง) มาให้พระอนุชาคือ โฌแซ็ฟ โบนาปาร์ต เป็นกษัตริย์แห่งสเปน โปรตุเกสตกเป็นอาณัติของฝรั่งเศส แต่ชาวสเปนและชาวโปรตุเกสไม่ยินยอม จึงทำสงครามคาบสมุทร ต่อต้านจักรพรรดินโปเลียน โดยใช้การสงครามกองโจร ทางสหราชอาณาจักรส่งดยุกแห่งเวลลิงตัน มาช่วยสเปนและโปรตุเกส ในปี ค.ศ. 1809 ออสเตรียก็ตัดสินใจทำสงครามอีกครั้ง เป็นสัมพันธมิตรครั้งที่ห้า นโปเลียนนำทัพบุกทันที ชนะออสเตรียที่แอสเปิร์น-เอสลิง และวากราม จนทำเกิดสนธิสัญญาเชินบรุนน์ (Treaty of Schönbrunn) ทำให้ออสเตรียเสียดินแดนเพิ่มเติมให้แก่ฝรั่งเศส และจักรพรรดินโปเลียนอภิเษกกับอาร์คดัชเชสมารี หลุยส์แห่งออสเตรีย
ต่อมาจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย ทรงทำสงครามกับจักรพรรดินโปเลียนอีกครั้ง ในปี ค.ศ. 1812 นโปเลียนจึงได้นำกองทัพฝรั่งเศสเข้าทำสงครามอีกครั้งโดยครั้งนี้พระองค์ต้องการจะบุกไปรุกรานจักรวรรดิรัสเซีย ที่หลอกล่อให้กองทัพฝรั่งเศสเข้าไปอดอาหารและหนาวตายในรัสเซีย ซึ่งมีระยะทางยาวไกลจากกรุงปารีสมาก โดยใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะบุกตีหัวเมืองต่าง ๆ ของรัสเซียไปจนถึงกรุงมอสโก แต่เมื่อไปถึงยังกรุงมอสโกก็ต้องพบกลับความว่างเปล่าของเมืองที่ชาวเมืองพร้อมใจกันเผาเมืองเพื่อมิให้เสบียงตกถึงมือกองทัพฝรั่งเศสและอพยพถอยร่นไปทางตะวันออก ทำให้การบุกรัสเซียเป็นความพ่ายแพ้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจักรพรรดินโปเลียน ชัยชนะของรัสเซียปลุกระดมชาติต่างๆให้รวมตัวกันเป็นสัมพันธมิตรครั้งที่หก เอาชนะนโปเลียนในยุทธการที่ไลพ์ซิก (Battle of Leipzig) ทำให้ในปี ค.ศ. 1813 นโปเลียนจำใจต้องยกทัพกลับฝรั่งเศสแม้เสบียงจะเหลือไม่มากแล้ว กองทัพเองก็เหนื่อยล้าจากการเดินทางอันยาวไกล นอกจากนี้ฤดูหนาวอันโหดร้ายของรัสเซียก็คืบคลานเข้ามาทุกขณะ โดยในระหว่างทางถอยทัพกลับฝรั่งเศสก็ยังถูกกองทัพของรัสเซียและชาติสัมพันธมิตรซุ่มโจมตีในลักษณะกองโจร ซึ่งเมื่อถอยทัพกลับถึงกรุงปารีสก็เหลือพลทหารไม่กี่พันคนจากที่ยกทัพไปมากกว่า 600,000 คน ทั้งนี้เป็นผลมากจากฤดูหนาวที่โหดร้ายทารุณทำให้ทหารแข็งตาย การขาดแคลนอาหาร การที่เหนื่อยล้าจากการเดินทัพและการซุ่มโจมตีของรัสเซีย ฝรั่งเศสจึงพ่ายแพ้ยับเยิน ทำให้นโปเลียนต้องสละราชสมบัติเพราะได้รับการต่อต้านจากชาวฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1814 และสัมพันธมิตรเข้าบุกยึดกรุงปารีส ทำสนธิสัญญาฟองแตงโบล (Treaty of Fontainebleau) ทำให้จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่งสิ้นสุดลง ต่อมาจักรพรรดินโปเลียนทรงหวนคืนสู่ราชบัลลังก์และปกครองอยู่นานหนึ่งร้อยวัน แต่ในท้ายที่สุดก็ต้องสละราชสมบัติอีกครั้งจากการที่พ่ายแพ้ในยุทธภูมิวอร์เตอร์ลู (Battle of Waterloo) และทรงถูกเนรเทศออกนอกฝรั่งเศสไปยังเกาะเอลบาในอิตาลี ต่อมาจึงมีการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บงและเข้าสู่ยุคราชวงศ์บูร์บงฟื้นฟู
ดูเพิ่ม
แก้หมายเหตุ
แก้- ↑ According to his father's will only. Between 23 June and 7 July France was held by a Commission of Government of five members, which never summoned Napoleon II as emperor in any official act, and no regent was ever appointed while waiting the return of the king.[3]
- ↑ ภายในจักรวรรดิเอง ชื่อของจักรวรรดิถูกขนานนามว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส จนถึง ค.ศ. 1808: เมื่อเปรียบเทียบกับเงินฟรังก์ฝรั่งเศสที่ถูกผลิตขึ้นใน ค.ศ. 1808[6] และใน ค.ศ. 1809[7] เช่นเดียวกับในมาตรา 1 ของรัฐธรรมนูญแห่งปีที่ 12[8] ซึ่งสามารถอ่านเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า รัฐบาลของสาธารณรัฐ ได้ตกเป็นของจักรพรรดิ ผู้ซึ่งได้รับฐานันดรศักดิ์จักรพรรดิแห่งชาวฝรั่งเศส
อ้างอิง
แก้- ↑ "Decree upon the Term, French Republic".
- ↑ "National Motto of France". French Moments. 7 May 2015.
- ↑ texte, France Auteur du (23 April 1815). "Bulletin des lois de la République française". Gallica.
- ↑ Rein Taagepera (September 1997). "Expansion and Contraction Patterns of Large Polities: Context for Russia". International Studies Quarterly. 41 (3): 501. doi:10.1111/0020-8833.00053. JSTOR 2600793. สืบค้นเมื่อ 2021-08-20.
- ↑ "Western colonialism – European expansion since 1763". Encyclopedia Britannica. สืบค้นเมื่อ 2021-08-20.
- ↑ http://www.lesfrancs.com/francais/1f1808rh.jpg แม่แบบ:Bare URL image
- ↑ http://www.lesfrancs.com/francais/1f1809rh.jpg แม่แบบ:Bare URL image
- ↑ "Constitution de l'An XII – Empire – 28 floréal An XII". Conseil constitutionnel.
- ↑ texte, France Auteur du (23 January 1804). "Bulletin des lois de la République française". Gallica.
- ↑ "The proclamation of Empire by the Sénat Conservateur". napoleon.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-12-05.
- ↑ Thierry, Lentz. "The Proclamation of Empire by the Sénat Conservateur". napoleon.org. Fondation Napoléon. สืบค้นเมื่อ 15 August 2014.
- ↑ "Battle of Austerlitz". Britannica.com. Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 15 August 2014.
ดูเพิ่ม
แก้ข้อมูลปฐมภูมิ
แก้- Anderson, F.M. (1904). The constitutions and other select documents illustrative of the history of France, 1789–1901. The H. W. Wilson company.
การสำรวจ
แก้- Bruun, Geoffrey (1938). Europe and the French Imperium, 1799–1814 (PDF).
- Bryant, Arthur (1942). Years of Endurance 1793–1802.
- Bryant, Arthur (1944). Years of Victory, 1802–1812.
- Colton, Joel; Palmer, R.R. (1992). A History of the Modern World. New York: McGraw-Hill, Inc. ISBN 0-07-040826-2.
- Esdaile, Charles (2008). Napoleon's Wars: An International History, 1803–1815.
- Fisher, Todd & Fremont-Barnes, Gregory (2004). The Napoleonic Wars: The Rise and Fall of an Empire. Oxford: Osprey Publishing Ltd. ISBN 1-84176-831-6.
- Godechot, Jacques; และคณะ (1971). The Napoleonic era in Europe. Holt, Rinehart and Winston. ISBN 9780030841668.
- Grab, Alexander (2003). Napoleon and the Transformation of Europe. Macmillan.
- Hazen, Charles Downer (1917). The French Revolution and Napoleon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-22. สืบค้นเมื่อ 2022-03-25.
- Lefebvre, Georges (1969). Napoleon from 18 Brumaire to Tilsit, 1799–1807. Columbia University Press.
- Lefebvre, Georges (1969). Napoleon; from Tilsit to Waterloo, 1807–1815. Columbia University Press. ISBN 9780231033138.
- Lyons, Martyn (1994). Napoleon Bonaparte and the Legacy of the French Revolution. St. Martin's Press.
- Muir, Rory (1996). Britain and the Defeat of Napoleon: 1807–1815.
- Lieven, Dominic (2009). Russia Against Napoleon: The Battle for Europe, 1807 to 1814. Allen Lane/The Penguin Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-05.
- Schroeder, Paul W. (1996). The Transformation of European Politics 1763–1848. Oxford University Press. pp. 177–560. ISBN 9780198206545.
- Pope, Stephen (1999). The Cassel Dictionary of the Napoleonic Wars. Cassel. ISBN 978-0-304-35229-6.
- Rapport, Mike (2013). The Napoleonic Wars: A Very Short Introduction. Oxford University Press.
- Ross, Steven T. (1969). European Diplomatic History, 1789–1815: France Against Europe.
- Rothenberg, Gunther E. (1988). "The Origins, Causes, and Extension of the Wars of the French Revolution and Napoleon". Journal of Interdisciplinary History. 18 (4): 771–793. doi:10.2307/204824. JSTOR 204824.
- Rowe, Michael (2014). "Borders, War, and Nation-Building in Napoleon's Europe". Borderlands in World History, 1700–1914 (ภาษาอังกฤษ). Palgrave Macmillan UK. pp. 143–165. ISBN 978-1-137-32058-2.
- Schroeder, Paul W. (1994). The Transformation of European Politics 1763–1848. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-07. สืบค้นเมื่อ 2022-03-25.
นโปเลียน
แก้- Dwyer, Philip (2008). Napoleon: The Path to Power. Yale University Press.
- Englund, Steven (2010). Napoleon: A Political Life. Scribner. ISBN 978-0674018037.
- McLynn, Frank (1997). Napoleon: A Biography. New York: Arcade Publishing Inc. ISBN 1-55970-631-7.
- Johnson, Paul (2002). Napoleon: A life. Penguin Books. ISBN 978-0-670-03078-1.
- Markham, Felix (1963). Napoleon. Mentor. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-20. สืบค้นเมื่อ 2022-03-25.
- McLynn, Frank (1998). Napoleon. United Kingdom: Pimlico. ISBN 978-0-7126-6247-5.
- Mowat, R.B. (1924). The Diplomacy of Napoleon.
- Roberts, Andrew (2014). Napoleon: A Life.
- Thompson, J.M. (1951). Napoleon Bonaparte: His Rise and Fall. Oxford University Press.
การทหาร
แก้- Bell, David A (2008). The First Total War: Napoleon's Europe and the Birth of Warfare as We Know It.
- Broers, Michael, et al. eds (2012). The Napoleonic Empire and the New European Political Culture. ISBN 978-0230241312.
{{cite book}}
:|first=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - Chandler, David G (1995). The Campaigns of Napoleon. New York: Simon & Schuster. ISBN 0-02-523660-1.
- Elting, John R (1988). Swords Around a Throne: Napoleon's Grande Armée. New York: Da Capo Press Inc. ISBN 0-306-80757-2.
- Gates, David (2011). The Napoleonic Wars 1803–1815. New York: Random House.
- Haythornthwaite, Philip J. (1995). Napoleon's Military Machine. ISBN 1885119186.
- Uffindell, Andrew (2003). Great Generals of the Napoleonic Wars. Kent: Spellmount. ISBN 1-86227-177-1.
- Rothenberg, E. Gunther (1977). The Art of Warfare in the Age of Napoleon.
- Smith, Digby George (1998). The Greenhill Napoleonic Wars Data Book: Actions and Losses in Personnel, Colours, Standards and Artillery.