ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความนี้ต้องการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ โปรดเพิ่มพารามิเตอร์ reason หรือ talk ลงในแม่แบบนี้เพื่ออธิบายปัญหาของบทความ |
ภาวะความเครียดผิดปกติหลังเหตุสะเทือนใจ (อังกฤษ: post-traumatic stress disorder) มีชื่อย่ออย่างเป็นสากลว่า PTSD เป็นภาวะความเครียดที่ก่อให้เกิดอาการดังกล่าว อาการมักเป็นหลังจากเจอสถานการณ์ที่สะเทือนใจ ซึ่งเกิดขึ้นจาก Acute stress reaction ที่จะเกิดอาการขึ้นทันทีหากเจอเหตุการณ์ที่สะเทือนใจ
ภาวะความเครียดผิดปกติหลังเหตุสะเทือนใจ (post-traumatic stress disorder) | |
---|---|
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | F43.1 |
ICD-9 | 309.81 |
DiseasesDB | 33846 |
MedlinePlus | 000925 |
eMedicine | med/1900 |
MeSH | D013313 |
สาเหตุ
แก้ได้พบเจอกับเรื่องราวหรือสถานการณ์ที่สะเทือนใจมาก ๆ ซึ่งมักเป็นแบบเรื้อรัง และมักจะเกิดขึ้นในสถานการณ์หายนะต่าง ๆ ได้แก่
- Natural disaster ภัยธรรมชาติ เช่น สึนามิ ภูเขาไฟระเบิด
- Technological disaster ภัยที่เกิดจากความก้าวหน้าของมนุษย์ เช่น ระเบิดปรมาณู สารกัมมันตภาพรังสีรั่วไหล
- Man made disaster เช่น ก่อการร้าย ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ น่าสังเกตว่าสถานการณ์นี้ส่งผลให้เกิด PTSD ถึง 70% แสดงให้เห็นว่าสิ่งใดก็ตามที่มีผลด้านจิตใจเข้ามาเกี่ยวข้องจะยิ่งทำให้เกิด PTSD ง่ายขึ้น
เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นทั้งภาวะ Threatening (คุกคามต่อผู้ป่วยโดยตรง) หรือ Depressivness (ไม่ได้โดนกับตัวเอง แต่โดนกับคนที่ตนเองรัก)
อาการ
แก้อาการทั่ว ๆ ไป ได้แก่ กลัว สิ้นหวัง หวาดผวา รู้สึกผิด ละอายใจ โกรธ ไม่มีใครหรืออะไรช่วยได้เลย
- อาการสำคัญ
- เกิดภาพเหตุการณ์นั้น ๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก นึกถึงแล้วนึกถึงอีก
- มักจะพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่เชื่อมโยงกับสถานการณ์ดังกล่าว เช่น คนที่ขับรถชนคนตาย แล้วไม่กล้าขับรถอีกเลย ดูหนังหรือเห็นอะไรเกี่ยวกับรถก็ไม่ได้
- อาการทางจิตใจ ได้แก่ ตื่นตัว สะดุ้ง ตกใจ ไม่มีสมาธิ เครียดง่ายกับเรื่องธรรมดา
ทั้งนี้ทั้งนั้นสิ่งสำคัญอาการดังกล่าวต้องเป็นต่อเนื่องกันนานกว่า 1 เดือน
แนวทางการรักษา
แก้แนวทางการรักษาโดยการใช้ยา
- ใช้ยาแก้ซึมเศร้า เช่น ฟลูอ็อกเซทีน, พาโรเซทีน
- ใช้ยาพวก Adrenergic block agents
- ใช้ยาพวก Antianxiety เช่น Diazepham
แนวทางการรักษาโดยวิธีอื่น ๆ
- Hypnosis สะกดจิต
- Psychotherapy จิตบำบัด
- Anxiety management programme
- Group therapy ให้ผู้ป่วยมาคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ป่วยอื่นที่เป็นเหมือนกัน
อ้างอิง
แก้- Maxmen, J. S.; Ward, N. G. (2002). Psychotropic drugs: fast facts (third ed.). New York: W. W. Norton. pp. 347–349. ISBN 0-393-70301-0.
- https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/PTSD