คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่ากอง เป็นหนึ่งในสี่คณะ ที่ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการจัดตั้ง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประกอบไปด้วย คณะนิติศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์

คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Faculty of Humanities, Ramkhamhaeng University
Ramkhamhaeng
คติพจน์มุ่งพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สู่การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและคุณค่าต่อสังคม
สถาปนา26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 (53 ปี)
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง
คณบดีผศ.ทิพอุษา ศรีเพริศ
ที่อยู่
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
โทร 02-3108250
วารสารวารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา
สี  สีแสด
เว็บไซต์http://www.human.ru.ac.th/

เริ่มแรกในปี พ.ศ. 2514 คณะมนุษยศาสตร์ เปิดสอน 5 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ สาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิชาประวัติศาสตร์ สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ และสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส


ประวัติ

แก้

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะมนุษยศาสตร์ ได้ถือกำเนิดมาพร้อมกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยจัดตั้งขึ้นตาม "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พุทธศักราช 2514" ซึ่งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514

แต่แรกนั้น ที่ทำการของคณะมนุษยศาสตร์เป็นอาคารหลังหนึ่งในงานแสดงสินค้านานาชาติแห่งประเทศไทย ต่อมามหาวิทยาลัยฯ ได้อนุมัติให้คณะมนุษยศาสตร์สร้างอาคารถาวรขึ้นใหม่ คือ อาคารคณะมนุษยศาสตร์ 1 ในปัจจุบัน

ได้มีการวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2516 โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วาสน์ วาสโน) (สมณศักดิ์ในขณะนั้น ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ)

อาจารย์และข้าราชการคณะมนุษยศาสตร์จึงได้พร้อมใจกันถือเอาวันที่ 28 กันยายน ของทุกปีเป็นวันคณะมนุษยศาสตร์ ตั้งแต่บัดนั้น เป็นต้นมา

ปัจจุบันคณะมนุษยศาสตร์บริหารงานภายใต้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2541 โดยดำเนินงานตามภารกิจของมหาวิทยาลัยรามคำแหง อันได้แก่ การจัดการเรียนการสอน การวิจัย การจัดบริการทางวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ เพียบพร้อมไปด้วยคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้ด้านวิชาชีพ การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ทั้งหมดนี้สะท้อน ให้เห็นอย่างชัดเจนถึงคุณลักษณะซึ่งดำรงความเป็นมนุษยศาสตร์อันโดดเด่นและเป็นความภาคภูมิใจของบุคลากรและนักศึกษาของคณะมนุษยศาสตร์ทุกคน

หลักสูตรการศึกษา

แก้

คณะมนุษยศาสตร์จัดการเรียนการสอน ระดับปริญญาตรี จำนวน 11 สาขาวิชา และระดับปริญญาโท จำนวน 1 สาขาวิชา รวมทั้งหมด 12 สาขาวิชาใน 2 หลักสูตร ดังนี้

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ภาควิชา ระดับปริญญาบัณฑิต ระดับปริญญามหาบัณฑิต
ภาควิชาภาษาอังกฤษและภาษาศาสตร์ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาภาษาจีน
  • สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
  • สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมตะวันออก
ภาควิชาประวัติศาสตร์ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
  • สาขาวิชาประวัติศาสตร์
  • สาขาวิชาประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว
ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
  • สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์
ภาควิชาภาษาตะวันตก หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
  • สาขาวิชาภาษาตะวันตก
    • วิชาเอกเอกภาษาฝรั่งเศส
    • วิชาเอกภาษาเยอรมัน
    • วิชาเอกภาษารัสเซีย
    • วิชาเอกภาษาสเปน
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
  • สาขาวิชาภาษาเยอรมันในฐานะ ภาษาต่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)
ภาควิชาปรัชญา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
  • สาขาวิชาปรัชญา
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
  • สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

ทำเนียบคณบดี

แก้
ทำเนียบคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ศาสตราจารย์ ดร.อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์[1] พ.ศ. 2514 - พ.ศ. 2522
2. รองศาสตราจารย์ ดร.พัฒน์ น้อยแสงศรี[2] พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2526
3. รองศาสตราจารย์ ดร.อุทัย ภิรมย์รื่น[3] พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2530
4. รองศาสตราจารย์อรุณทวดี พัฒนิบูลย์[4] พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2534
5. รองศาสตราจารย์พัชรี พลาวงศ์[5] พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2538
6. รองศาสตราจารย์นนทนา เผือกผ่อง[6] พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2540
7. รองศาสตราจารย์ ดร.พิชญ์ สมพอง[7] พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2547
8. รองศาสตราจารย์ณภาจรี นาควัชระ[8] พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2551
9. รองศาสตราจารย์ ทวีศักดิ์ ปิ่นทอง[9] พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2555
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาจรณ เชษฐสุมน[10] พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2561
11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไม้ สงวนสกุล (รักษาการแทนฯ)[11] พ.ศ. 2561 - พ.ศ.2562
12. รองศาสตราจารย์วิโรจ นาคชาตรี[12] พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2566
13. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทิพอุษา ศรีเพริศ[13] พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน

แผนผังที่ทำการคณะ

แก้

อาคาร 1  (HUB 1) เป็นอาคาร 5 ชั้น

  • อาคาร 1 ชั้นที่ 1 เป็นที่ตั้งของห้องทำงานเลขานุการคณะฯ หน่วยส่งเสริมและพัฒนาทางวิชาการ หน่วยกิจการนักศึกษา หน่วยทะเบียน หน่วยอาคารสถานที่ ห้องผลิตเอกสาร และสำนักงานโครงการภาคพิเศษหลักสูตรวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว
  • อาคาร 1 ชั้นที่ 2 เป็นที่ตั้งของงานคลังและพัสดุ งานนโยบายและแผน หน่วยการเจ้าหน้าที่ หน่วยสารบรรณ หน่วยผลิตเอกสาร ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาและห้องทำงานคณาจารย์ภาควิชาฯ
  • อาคาร 1 ชั้นที่ 3 เป็นที่ตั้งของห้องประชุมพดด้วง หน่วยโสตทัศนศึกษา ห้องเรียน AV-IT 1 และห้องปฏิบัติการทางภาษา
  • อาคาร 1 ชั้นที่ 4 เป็นที่ตั้งของภาควิชาภาษาอังกฤษและภาษาศาสตร์และห้องทำงานคณาจารย์ภาควิชาฯ
  • อาคาร 1 ชั้นที่ 5 เป็นที่ตั้งของภาควิชาปรัชญาและห้องทำงานคณาจารย์ภาควิชาฯ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ห้องปฏิบัติการสารสนเทศและห้องทำงานคณาจารย์ภาควิชาฯ  ห้องสมุดคณะฯ

อาคาร 2  (HUB 2) เป็นอาคาร 5 ชั้น

  • อาคาร 2 ชั้นที่ 1 เป็นที่ตั้งของห้องทำงานคณบดี ห้องทำงานรองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัยและรองคณบดีฝ่ายนโยบายและแผน ห้องทำงานรองคณบดีฝ่ายบริหาร และห้องทำงานรองคณบดีฝ่ายสวัสดิการ ห้องประชุมศรีศรัทธา ห้องศูนย์สารสนเทศและศูนย์แปล งานประกันคุณภาพการศึกษา และสำนักงานโครงการปริญญาตรีภาคพิเศษ
  • อาคาร 2 ชั้นที่ 2 เป็นที่ตั้งของห้องรับรองแขก สำนักงานบัณฑิตศึกษา และห้องประชุมพวงแสด
  • อาคาร 2 ชั้นที่ 3 เป็นที่ตั้งของภาควิชาภาษาตะวันตก และห้องทำงานคณาจารย์สาขาวิชาภาษาเยอรมัน สาขาวิชาภาษารัสเซีย สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส  สาขาวิชาภาษากรีก สาขาวิชาภาษาโปรตุเกส สาขาวิชาภาษาสเปน
  • อาคาร 2 ชั้นที่ 4 เป็นที่ตั้งของภาควิชาประวัติศาสตร์  และห้องทำงานคณาจารย์ภาควิชาฯ
  • อาคาร 2 ชั้นที่ 5 เป็นที่ตั้งของภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก และห้องทำงานคณาจารย์ ประจำภาควิชาฯ สาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิชาภาษามลายู สาขาวิชาภาษาอาหรับ สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น สาขาวิชาภาษาจีน สาขาวิชาภาษาเกาหลี สาขาวิชาภาษาบาลี-สันสกฤตและฮินดี สาขาวิชาภาษาลาว สาขาวิชาภาษาเมียนมา สาขาวิชาภาษาเขมร

อ้างอิง

แก้
  1. "ศาสตราจารย์ ดร.อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์ · RU Archives". archives.lib.ru.ac.th.
  2. "รองศาสตราจารย์ ดร. พัฒน์ น้อยแสงศรี ให้การต้อนรับคณะนักศึกษาจาก Singapore Polytechnic Concert Band ประเทศสิงคโปร์ · RU Archives". archives.lib.ru.ac.th.
  3. "ประธานกรรมการที่ปรึกษารุ่นที่ 1 – บริษัท เสริมปัญญา จำกัด".
  4. "อาจารย์และเจ้าหน้าที่ ม.ร. จัดการสอบไล่ (ส่วนภูมิภาค) · RU Archives". archives.lib.ru.ac.th.
  5. "ประวัติความเป็นมา". grad.human.ru.ac.th.
  6. https://ruir.lib.ru.ac.th/sites/default/files/30092540.pdf
  7. https://ruir.lib.ru.ac.th/sites/default/files/30092547.pdf
  8. "สภาคณบดีมนุษยศาสตร์แห่งประเทศไทย". human.dusit.ac.th.
  9. "สรรหาอธิการศิลปากร ชื่อ 'พี่เอ้' โผล่ ซ้ำคนเก่า มือแชะภาพแอร์ ผ่านคุณสมบัติมาชิงอีกรอบ | MATICHON ONLINE". LINE TODAY.
  10. User, Super. "ปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ คณะมนุษยศาสตร์". www.human.ru.ac.th (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). {{cite web}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  11. "เกี่ยวกับเรา". www.phangnga.ru.ac.th.
  12. ผู้ดูแลระบบ (2022-05-20). "ทำเนียบ ผู้บริหารหน่วยงาน". www.surin.ru.ac.th.
  13. https://decorate.su.ac.th/wp-content/uploads/2024/02/คำสั่งแต่งตั้ง-กก.ประเมินฯ-หลักสูตร-65.pdf