การล้างมือ
การล้างมือ (อังกฤษ: Hand washing) คือ การทำความสะอาดมือเพื่อกำจัดดิน สิ่งสกปรก และจุลินทรีย์
การล้างมือ | |
---|---|
การแทรกแซง | |
การล้างมือด้วยสบู่ที่อ่างล้างจานในห้องครัว |
การล้างมือด้วยสบู่เป็นประจำในบางช่วงที่ "สำคัญ" ระหว่างวันป้องกันการแพร่โรคได้จำนวนมาก ตัวอย่างเช่น อาการท้องร่วงและอหิวาตกโรค ซึ่งแพร่เชื้อผ่านทางอุจจาระ–ปาก ผู้คนยังสามารถติดเชื้อโรคทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ถ้าไม่ได้ล้างมือก่อนสัมผัสตา จมูก หรือปาก (ในกรณีนี้คือเยื่อบุเมือก) ห้าช่วงสำคัญระหว่างวันที่ควรล้างมือด้วยสบู่ ได้แก่ ก่อนและหลังถ่ายอุจจาระ หลังทำความสะอาดก้นเด็กหรือเปลี่ยนผ้าอ้อม ก่อนป้อนอาหารเด็ก ก่อนรับประทานอาหาร และก่อนและหลังเตรียมอาหารหรือจัดการกับเนื้อ ปลา หรือสัตว์ปีกดิบ[1] ถ้าใช้น้ำและสบู่ไม่ได้ สามารถใช้ขี้เถ้าในการล้างมือแทนได้[2]
อนามัยมือทางการแพทย์หมายถึงการปฏิบัติทางสุขศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนทางการแพทย์ การล้างมือก่อนการให้ยาหรือการดูแลทางการแพทย์สามารถป้องกันหรือลดอัตราการแพร่เชื้อโรคได้ จุดประสงค์ทางการแพทย์หลักของการล้างมือ คือ การทำความสะอาดมือจากจุลชีพก่อโรค (แบคทีเรีย ไวรัส หรือจุลินทรีย์อื่น ๆ ที่สามารถก่อโรคได้) และสารเคมีที่สามารถก่ออันตรายหรือโรค การล้างมือเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะยิ่งสำหรับผู้คนที่ต้องจัดการกับอาหารหรือทำงานเกี่ยวข้องกับการแพทย์ รวมถึงสาธารณชนทั่วไปด้วย
ดูเพิ่ม
แก้- แบคทีเรียดื้อยา
- ความปลอดภัยด้านอาหาร
- วันล้างมือโลก
- การติดเชื้อในโรงพยาบาล
- ความปลอดภัยทางชีวภาพในการทำงาน
- สาธารณสุข
- ความปลอดภัยของผู้ป่วย
- แอลกอฮอล์สำหรับถู (Rubbing alcohol)
- ดิดิเย ปิเต – ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ
อ้างอิง
แก้- ↑ "UNICEF Malawi". www.unicef.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-01-05.
- ↑ "The Hygiene Improvement Project (HIP) – Tippy-Tap: A simple low-cost technology for handwashing when water is scarce". USAID. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 ตุลาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2015.