การยึดครองกรีซของฝ่ายอักษะ
การยึดครองกรีซโดยฝ่ายอักษะ(กรีก: Η Κατοχή, I Katochi, หมายถึง "การยึดครอง") เริ่มต้นขึ้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 1941 ภายหลังนาซีเยอรมนีเข้ารุกรานกรีซ เพื่อช่วยเหลือพันธมิตรของตน, ฟาสซิสต์อิตาลี ซึ่งได้เคยทำสงครามกับกรีซมาตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 1940 ภายหลังจากพิชิตเกาะครีตได้ แผ่นดินทั้งหมดของกรีซได้ถูกยึดครองโดยมิถุนายน ค.ศ. 1941 การยึดครองในแผ่นดินใหญ่ยังคงดำเนินต่อไปจนกระทั่งเยอรมนีและบัลแกเรียที่เป็นพันธมิตรได้ถูกบังคับให้ถอนกำลังภายใต้แรงผลักดันของฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงต้นเดือนตุลาคม อย่างไรก็ตาม ทหารรักษาการณ์ของเยอรมันที่เหลือยังอยู่ควบคุมในเกาะครีตและบางส่วนอื่นๆของหมู่เกาะอีเจียนจนกระทั่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองในยุโรปได้ยุติลง การยอมจำนนทั่วทั้งเกาะในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ค.ศ. 1945
การยึดครองกรีซโดยนาซีเยอรมนี, อิตาลี, และบัลแกเรีย | |
---|---|
ค.ศ. 1941. ทหารเยอรมันได้ชักธงศึกเยอรมันเหนืออัครปุระ Manolis Glezos และ Apostolos Santas ชักธงลงในช่วงแรกของการต่อต้าน | |
ค.ศ.1944. นายกรัฐมนตรี Georgios Papandreou และคนอื่นๆบนอัครปุระ ภายหลังได้รับการปลดปล่อยจากนาซี |
ฟาสซิสต์อิตาลีได้เริ่มประกาศสงครามและเข้ารุกรานกรีซในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1940 แต่กองทัพเฮลเลนิกได้เริ่มจัดการเพื่อผลักดันกองกำลังฝ่ายรุกรานเข้าไปยังอัลแบเนียที่อยู่ใกล้เคียง ประเทศอารักขาของอิตาลี นาซีเยอรมนีได้เข้ามาแทรกแซงพันธมิตรของตนในยุโรปตอนใต้ ในขณะที่ส่วนใหญ่ของกองทัพเฮลเลนิกถูกทำให้สับสนบนแนวรบอัลแบเนียเพื่อป้องกันการโจมตีตอบโต้กลับแบบไม่หยุดหย่อนของอิตาลี การทัพบลิทซ์ครีกอย่างรวดเร็วของเยอรมันได้เริ่มต้นขึ้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 1941 และเดือนมิถุนายน(ด้วยการพิชิตเกาะครีต) กรีซต้องประสบความปราชัยและถูกยึดครอง ด้วยผลลัพธ์ รัฐบาลกรีกได้ลี้ภัยออกนอกประเทศและจัดตั้งรัฐบาลผลัดถิ่น และรัฐบาลหุ่นเชิดที่ให้ความร่วมมือต่อฝ่ายอักษะได้ถูกจัดตั้งขึ้นในประะเทศ นอกจากนี้ ดินแดนกรีซได้ถูกแบ่งออกเป็นเขตการยึดครองที่ดำเนินการโดยฝ่ายอักษะ ด้วยการดำเนินการของเยอรมันเพื่อบริหารการปกครองภูมิภาคที่สำคัญที่สุดของประเทศ อย่างเช่น เอเธนส์ เทสซาโลนีกี และส่วนใหญ่ที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ในหมู่เกาะอีเจียน ส่วนภูมิภาคอื่นๆของประเทศได้ยกให้แก่ประเทศที่ร่วมมือกับเยอรมัน อิตาลีและบัลแกเรีย
การยึดครองครั้งนี้ได้ทำลายเศรษฐกิจของกรีกและส่งผลกระทบอย่างยากลำบากสาหัสสำหรับประชาชนพลเรือนชาวกรีก[1] อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ของกรีซได้ถูกทำลายอย่างมากมายมหาศาล(เพียง 80% ที่ถูกทำลาย) โครงสร้างพื้นฐาน(เพียง 28% ที่ถูกทำลาย) ท่าเรือ ถนน รางรถไฟ และสะพาน(90%) ป่าไม้และทรัพยากรอื่นๆทางธรรมชาติ(25%)[2][3][4] และการสูญเสียของชีวิตพลเรือน(7.02% – 11.17% ของประชากร)[5][6] พลเรือนทั้งหมด 40,000 คน ได้ตายในกรุงเอเธนส์เพียงลำพังจากความอดอยาก อีกนับหมื่นคนได้เสียชีวิตลงเพราะการล้างแค้นจากพวกนาซีและผู้ที่ให้ความร่วมมือ[7]
ประชากรชาวยิวในกรีซได้ถูกกำจัดเกือบหมดสิ้น ด้วยจำนวนประชากรก่อนการยึดครองมีประมาณ 72,000 คน, เพียง 12,000 คน (16.66 %) ที่รอดชีวิต โดยแต่ละคนได้เข้าร่วมขบวนการต่อต้านหรือซ่อนตัว ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ได้ถูกเนรเทศไปยังค่ายเอาชวิตซ์ ในขณะที่พวกที่อยู่ในเทรซ ภายใต้การยึดครองของบัลแกเรีย ได้ถูกส่งไปยังค่ายเทรบลิงคา อิตาลีไม่ได้ทำการขับไล่เนรเทศชาวยิวที่อาศัยอยู่ในดินแดนที่ตนควบคุม แต่เมื่อเยอรมันได้เข้ายึดครอง ชาวยิวที่อาศัยอยู่นั้นต้องถูกขับไล่เนรเทศ
ในเวลาเดียวกัน ขบวนการต่อต้านกรีก หนึ่งในขบวนการต่อต้านที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในยุโรปที่ถูกยึดครอง,[ต้องการอ้างอิง]ได้ถูกจัดตั้งขึ้น กลุ่มขบวนการต่อต้านเหล่านี้ได้เปิดฉากการโจมตีเยี่ยงกองโจรเข้าปะทะกับอำนาจฝ่ายยึดครอง ต่อสู้เข้าปะทะกับกองพันทหารรักษาความปลอดภัย (Security Battalions) กองกำลังกรีกที่เป็นฝ่ายผู้ที่ให้ความร่วมมือ และจัดตั้งเครือข่ายหน่วยสืบราชการลับขนาดใหญ่ โดยช่วงปลายปี ค.ศ. 1943 กลุ่มขบวนการต่อต้านได้เริ่มต้นต่อสู้อย่างจริงจัง เมื่อแผ่นดินใหญ่ได้รับการปลดปล่อยได้เกิดขึ้นในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1944 กรีซได้ตกอยู่ในสถานะของขั้วอำนาจทางการเมืองที่รุนแรง ซึ่งเร็วๆนี้ได้นำไปสู่การแพร่ระบาดของสงครามกลางเมือง ภายหลังสงครามกลางเมืองได้เปิดโอกาสให้กับผู้ที่ให้ความร่วมมือกับนาซีที่โดดเด่นจำนวนมากไม่เพียงแต่จะหลบหนีการรับโทษ (กลายเป็นฝ่ายต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์) แต่ในท้ายที่สุดแล้วได้กลายเป็นชนชั้นปกครองของกรีซหลังสงคราม ภายหลังจากฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้พ่ายแพ้[8][9]
รัฐบาลกรีกได้เอ่ยอ้างในปี ค.ศ. 2014 ว่าขบวนการต่อต้านกรีกได้ทำการสังหารทหารฝ่ายอักษะไป 21,087 นาย (ทหารเยอรมัน 17,536 นาย, ทหารอิตาลี 2,739 นาย และทหารบัลแกเรีย 1,532 นาย) และจับกุมได้ประมาณ 6,463 นาย (ทหารเยอรมัน 2,102 นาย, ทหารอิตาลี 2,109 นาย และทหารบัลแกเรีย 2,252 นาย) จากจำนวนผู้เสียชีวิตประมาณ 20,650 คนของพลพรรคผู้ต่อต้านของกรีกและจำนวนนิรนามที่ถูกจับกุม จำนวนตัวเลขเหล่าอาจเกินความเป็นจริง[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ Martin Seckendorf; Günter Keber; u.a.; Bundesarchiv (Hrsg.): Die Okkupationspolitik des deutschen Faschismus in Jugoslawien, Griechenland, Albanien, Italien und Ungarn (1941-1945) Hüthig, Berlin 1992; Decker/ Müller, Heidelberg 2000. Reihe: Europa unterm Hakenkreuz Band 6, ISBN 3-8226-1892-6
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-21. สืบค้นเมื่อ 2018-05-26.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-09. สืบค้นเมื่อ 2018-05-26.
- ↑ http://www.newsbeast.gr/greece/arthro/796214/oi-megales-katastrofes-kai-to-germaniko-hreos-stin-ellada-mesa-apo-dokoumeda
- ↑ "Council for Reparations from Germany, Black Book of the Occupation(In Greek and German) Athens 2006 p. 1018-1019" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-21. สืบค้นเมื่อ 2011-06-15.
- ↑ Gregory, Frumkin. Population Changes in Europe Since 1939, Geneva 1951. pp. 89-91
- ↑ Mazower (2001), p. 155
- ↑ Giannis Katris, The Birth of Neofascism in Greece, 1971
- ↑ Andreas Papandreou, Democracy at Gunpoint (Η Δημοκρατία στο απόσπασμα)
- ↑ "Council for Reparations from Germany, Black Book of the Occupation (in Greek and German), Athens 2006, p. 125-126" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 31, 2014. สืบค้นเมื่อ March 4, 2016.