การประชุมเจนีวา (ค.ศ. 1954)

การประชุมเจนีวา ระหว่างวันที่ 26 เมษายน - 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 เป็นการประชุมซึ่งมีวัตถุประสงค์สองประการ ประการแรก คือ ความพยายามที่จะหาหนทางรวมประเทศเกาหลี ประการที่สอง คือ อภิปรายเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะฟื้นฟูสันติภาพในอินโดจีน[1] สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประเทศผู้เข้าร่วมประชุมตลอดระยะเวลาการประชุม ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ซึ่งกังวลเกี่ยวกับปัญหาทั้งสองก็ได้นำเสนอระหว่างการอภิปรายคำถามที่เกี่ยวข้อง[2] ซึ่งรวมไปถึงประเทศที่ส่งกำลังทหารไปช่วยสหประชาชาติในสงครามเกาหลี และอีกหลายประเทศซึ่งยุติสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่งระหว่างฝรั่งเศสและเวียดมินห์ ส่วนของการประชุมเกี่ยวกับปัญหาเกาหลีได้ยุติลงโดยไม่มีการประกาศแถลงการณ์หรือข้อเสนอแต่อย่างใด ผู้เข้าร่วมการประชุมและนักวิเคราะห์บางส่วนกล่าวโทษสหรัฐอเมริกาที่ขัดขวางความพยายามในการรวมประเทศ[2] ในปัญหาเกี่ยวกับอินโดจีน ที่ประชุมได้ข้อสรุปเป็นเอกสารซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า "ข้อตกลงเจนีวา" ข้กตกลงมีเนื้อหาให้แยกเวียดนามออกเป็นสองส่วน ทางเหนืออยู่ภายใต้การปกครองของเวียดมินห์ และทางใต้อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐเวียดนาม ภายใต้การนำของอดีตจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย แห่งเวียดนาม "แถลงการณ์การประชุมสุดท้าย" ซึ่งเสนอโดยผู้นำการประชุมชาวอังกฤษ มีเนื้อหาให้จัดการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1956 เพื่อสร้างรัฐเวียดนามที่รวมเป็นหนึ่งเดียว ถึงแม้ว่าจะถูกเสนอในมุมมองที่เห็นพ้องกัน เอกสารดังกล่าวไม่ได้รับการยอมรับจากผู้แทนจากทั้งเวียดนามใต้หรือสหรัฐอเมริกา นอกเหนือจากนี้ ข้อตกลงหยุดยิงสามฉบับแยกกัน ซึ่งครอบคลุมกัมพูชา ลาว และเวียดนาม ได้มีการลงนามในที่ประชุมด้วย

การแบ่งประเทศ

ภูมิหลัง

แก้

ปัญหาเกาหลี

แก้

ในการลงนามสงบศึกหลังจากสงครามเกาหลีได้มีข้อกำหนดไว้ว่าจะต้องมีการประชุมทางการเมืองภายใน 3 เดือน ซึ่งเป็นกำหนดการที่ไม่สามารถปฏิบัติตามได้ "เพื่อจัดการผ่านการเจรจาเกี่ยวกับปัญหาของการถอนกองกำลังต่างชนิดทั้งหมดออกจากเกาหลี การจัดการอย่างสันติเกี่ยวกับปัญหาเกาหลี และอื่น ๆ"[3]

ปัญหาอินโดจีน

แก้
 
การประชุมเจนีวา

หลังจากความพ่ายแพ้ของจักรวรรดิญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1945 รัฐบาลเฉพาะกาลสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้ฟื้นฟูการปกครองอาณานิคมในอินโดจีนฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1946 ได้เกิดขบวนการเคลื่อนไหวของประชาชนพวกชาตินิยมและคอมมิวนิสต์ สงครามอาณานิคมครั้งนี้เกิดขึ้นระหว่างกองทัพรบนอกประเทศของสหภาพฝรั่งเศสและกองโจรเวียดมินห์ ภายใต้การนำของโฮจิมินห์ ซึ่งได้เปลี่ยนไปสู่วิกฤตการณ์สงครามเย็นในเดือนมกราคม ค.ศ. 1950[4] คอมมิวนิสต์เวียดมินห์ได้รับการสนับสนุนจากสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งเพิ่งจะได้รับการประกาศใหม่ และสหภาพโซเวียต ในขณะที่ฝรั่งเศสและกองทัพแห่งชาติเวียดนามซึ่งเพิ่งจะได้รับการก่อตั้งขึ้นใหม่ ก็ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาเช่นกัน

ยุทธการที่เดียนเบียนฟูซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 13 มีนาคมและดำเนินไประหว่างการประชุม ปัญหาดังกล่าวได้กลายเป็นการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์เมื่อทั้งสองฝ่ายต่างก็ต้องการมีชัยชนะและสร้างตำแหน่งซึ่งอำนวยประโยชน์สำหรับการเจรจาที่ได้รับการวางแผนไว้เกี่ยวกับ "ปัญหาอินโดจีน" หลังจากมีการรบเป็นเวลา 55 วัน ที่ตั้งของฝรั่งเศสซึ่งถูกล้อมได้พ่ายแพ้และตำแหน่งกลางของฝรั่งเศสทั้งหมดถูกยึดครองโดยเวียดมินห์

สงครามครั้งนี้มีความสำคัญซึ่งได้แสดงให้เห็นอย่างเต็มตาว่ามหาอำนาจอาณานิคมตะวันตกสามารถถูกเอาชนะได้โดยกองกำลังปฏิวัติของชนพื้นเมือง ที่ผ่านมา ฝรั่งเศสได้ปราบปรามการลุกฮือที่คล้ายคลึงกันในอาณานิคมมาดากัสการ์ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1947 ไม่กี่เดือนหลังจากยุทธการที่เดียนเบียนฟู ได้วางกำลังทหารในแอลจีเรีย และสงครามประกาศอิสรภาพซึ่งเป็นสงครามกองโจร เริ่มต้นขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1954 ความไม่ไว้วางใจและการต่อต้านของบรรดาเสนาธิการของกองทัพต่อสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 4 หลังจากความพ่ายแพ้ในสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง นำไปสู่รัฐประหารสองครั้งในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1958 และในเดือนเมษายน ค.ศ. 1961 นายพลกบฏส่วนใหญ่เป็นทหารผ่านศึกอินโดจีน รวมไปถึงอดีตผู้บัญชาการ ราอูล ซาลัน

อ้างอิง

แก้
  1. "Indochina - Midway in the Geneva Conference: Address by the Secretary of State". Avalon Project. Yale Law School. May 7, 1954. สืบค้นเมื่อ 29 April 2010.
  2. 2.0 2.1 "The Geneva Conference". Ministry of Foreign Affairs of the People's Republic of China. 2000-11-17. สืบค้นเมื่อ 29 April 2010.
  3. "Text of the Korean War Armistice Agreement". Findlaw.com. July 27, 1953. สืบค้นเมื่อ 29 April 2010. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |source= ถูกละเว้น (help)
  4. Replacing France: The Origins of American Intervention in Vietnam, Kathryn C. Statler, University Press of Kentucky, July 2007